ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
มูลแห่งการวิวาท ๖
[๘๕๔] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลแห่งวิวาท ๖ เป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้ถือโกรธ ภิกษุผู้ที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อ วิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่ง วิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอัน ลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอใน บริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาท อันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย อย่างนี้.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๖.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอท่าน ภิกษุที่เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่านนั้น ย่อม ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้ บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุข แก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้า พวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายาม ละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้ง ภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามก นั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา เป็นผู้มีปกติตระหนี่ ภิกษุผู้ที่มีปกติอิสสามีปกติ ตระหนี่นั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูล แก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็น ปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่ง วิวาทอันลามก ความละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูล แห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อวดดี เป็นผู้เจ้ามายา ภิกษุผู้ที่อวดดีเจ้ามายานั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มี ความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็น มูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งวิวาท

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๗.

อันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอใน บริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาท อันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย อย่างนี้ อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ภิกษุผู้ที่มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อม ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาท เห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูล แห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไป แห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้อยาก ภิกษุผู้ที่ ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อ วิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูล แห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งวิวาท อันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่ง วิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมี ด้วยอย่างนี้ นี้มูลแห่งวิวาท ๖.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๘.

มูลแห่งการโจท ๖
[๘๕๕] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลแห่งการโจท ๖ เป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ถือโกรธ ภิกษุผู้ที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจท ในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศ แก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการ โจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งการโจท อันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่ง การโจทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปแห่งมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย อย่างนี้. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอท่าน ภิกษุผู้ที่ลบหลู่ตีเสมอท่านนั้น ย่อมไม่มี ความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่ เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและ มนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอใน บริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจท เห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูล แห่งการโจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็น ไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา เป็นผู้มีปกติตระหนี่ ภิกษุผู้ที่มีปกติอิสสา มีปกติตระหนี่ นั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อ ไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๙.

มนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัท นั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปาน นี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการ โจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่ง มูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อวดดี เป็นผู้เจ้ามายา ภิกษุผู้ที่อวดดีเจ้ามายานั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มี ความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์ นั้น ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมี เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวก เธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายาม ละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ทั้งภายใน ทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจทอัน ลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก เป็นผู้มีความเห็นผิด ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนา ลามก มีความเห็นผิดนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และ พระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความ ไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้ง ภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่ เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมี ด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๐.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ยาก ภิกษุผู้ที่ถือ แต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระ- *ศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อ การโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อ ความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็น มูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่ง การโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ความละมูล แห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ นี้มูลแห่งการโจท ๖.
สาราณียธรรม ๖ ประการ
[๘๕๖] ในหัวข้อเหล่านั้น ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ๖ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่ เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายทั้งในที่ แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายทั้งใน ที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๑.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่หวงลาภที่เกิดโดยธรรม ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม โดยที่สุดแม้แต่ อาหารที่นับเนื่องในบาตรไว้บริโภค เป็นผู้บริโภคร่วมกับเพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้เป็น ที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีในศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันกิเลสไม่จับต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีในทิฏฐิอันประเสริฐ นำออกจากทุกข์ นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตามพร่ำสอนทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี้ สาราณียธรรม ๖.
เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘
[๘๕๗] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรม- *วินัยนี้ ๑. แสดงสภาพมิใช่ธรรมว่า เป็นธรรม. ๒. แสดงธรรมว่า สภาพมิใช่ธรรม. ๓. แสดงสภาพมิใช่วินัยว่า เป็นวินัย. ๔. แสดงวินัยว่า สภาพมิใช่วินัย. ๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตมิได้ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตทรงภาษิต ตรัสไว้. ๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงภาษิต ตรัสไว้แล้ว ว่าพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๒.

๗. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตทรงประพฤติมา. ๘. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา. ๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรงบัญญัติไว้. ๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้. ๑๑. แสดงอาบัติว่า มิใช่อาบัติ. ๑๒. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติว่า เป็นอาบัติ. ๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า อาบัติหนัก. ๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า อาบัติเบา. ๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า อาบัติหาส่วนเหลือมิได้. ๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า อาบัติมีส่วนเหลือ. ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ. ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ.
นี้ เรื่องทำการแตกร้าวกัน ๑๘
อธิกรณ์ ๔
[๘๕๘] ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน? คือวิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ นี้อธิกรณ์ ๔
สมถะ ๗
[๘๕๙] ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน? คือสัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ เยภุยยสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑ นี้สมถะ ๗
กติปุจฉาวาร จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวาร
[๘๖๐] อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุอีกอย่างละ ๗ ความไม่เคารพ ความเคารพ วินีตวัตถุอีก ๗ วิบัติ สมุฏฐานแห่งอาบัติ มูลแห่งการวิวาทและ การโจท ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน เรื่องทำการแตกร้าว อธิกรณ์และสมถะ ๗ พระ ผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว รวมเป็น ๑๗ บท.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๖๑๘๒-๖๓๗๓ หน้าที่ ๒๓๕-๒๔๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=6182&Z=6373&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=62              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=854              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [854-860] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=854&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- [854-860] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=854&items=7              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/brahmali#pli-tv-pvr4:14.1 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/horner-brahmali#Prv.4.1.13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :