ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๖. มหาโควินทสูตร (๑๙)
[๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น คนธรรพเทพบุตรนามปัญจสิขะ มีผิวพรรณผ่องใส เมื่อล่วงปฐมยามแล้ว ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไป เฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น คนธรรพเทพบุตรนามว่าปัญจสิขะ ยืนเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอกราบทูลข้อความที่ข้าพระองค์สดับมาแล้ว รับมาแล้ว ต่อหน้าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ แด่พระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า เชิญท่านบอกแก่พวกเราเถิดปัญจสิขะ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ นานมาแล้วในวันอุโบสถที่ ๑๕ ในราตรี มีพระจันทร์เพ็ญ วันปวารณา เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธรรมาสภา เทวบริษัทเป็นอันมากนั่งอยู่รอบๆ และท้าวจาตุมหาราชนั่งอยู่ใน ๔ ทิศ คือในทิศ บูรพา ท้าวธตรฐมหาราช แวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย นั่งผินหน้าไปทางทิศปัศจิม ในทิศทักษิณ ท้าววิรุฬหกมหาราช แวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย นั่งผินหน้าไป ทางทิศอุดร ในทิศปัศจิม ท้าววิรูปักขมหาราช แวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย นั่งผินหน้าไปทางทิศบูรพา ในทิศอุดร ท้าวเวสสวรรณมหาราช แวดล้อมด้วย เทวดาทั้งหลาย นั่งผินหน้าไปทางทิศทักษิณ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใด เทวดา ชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้น นั่งประชุมกันในสุธรรมาสภา เทวบริษัทเป็นอันมากนั่งอยู่ โดยรอบ และท้าวจาตุมหาราชนั่งอยู่ใน ๔ ทิศ ที่อาสนะของท้าวจาตุมหาราช เหล่านั้น หลังถัดออกมาก็อาสนะของข้าพระองค์ ยังมีเหล่าเทวดาผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค แล้วบังเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ไม่นาน รุ่งเรือง ล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ได้ยินว่า เพราะเหตุนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ ทั้งหลาย ย่อมปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติและโสมนัสว่า ท่านผู้เจริญ กายทิพย์ ย่อมบริบูรณ์หนอ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ฯ ข้าแต่พระผู้เจริญ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทราบความเบิกบานใจของ เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วบันเทิงตามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า [๒๑๐] ดูกรท่านผู้เจริญ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ ย่อมบันเทิงใจ ถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรม เป็นธรรมดี เห็นเทวดาผู้ใหม่ๆ มีวรรณะมียศประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสุคตแล้ว มาในที่นี้ เทวดาเหล่านั้นเป็นสาวกของ พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญากว้างขวาง บรรลุคุณวิเศษแล้ว รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น ณ ที่นี้ ด้วยวรรณะ ด้วยยศ และอายุ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ เห็นเช่นนี้แล้ว ย่อมยินดี ถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี ฯ [๒๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า เพราะเหตุนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติและโสมนัสโดยยิ่งกว่าประมาณว่า ดูกรท่านผู้เจริญ กายทิพย์ย่อมบริบูรณ์หนอ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความเบิกบาน ใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายปรารถนาจะฟังพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นหรือ เทวดาชั้นดาวดึงส์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะฟังพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ฯ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงยกพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการของ พระผู้มีพระภาคขึ้นแสดงแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดา ชั้นดาวดึงส์จะสำคัญความข้อนี้นั้นเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเพียงไร เรา ไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็นนอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงแสดง ธรรมอันควรน้อมเข้ามาในตน อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจาก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า นี้กุศล นี้มีโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้มีส่วนเทียบ ด้วยธรรมดำและธรรมขาว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติธรรมอันเป็นกุศล อกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ ควรเสพ ไม่ควรเสพ เลว ประณีต มีส่วนเทียบด้วยธรรมดำและธรรมขาว อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทา เพื่อพระสาวกทั้งหลายไว้ดีแล้ว พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเทียบเคียงกันได้ ดุจน้ำในแม่น้ำคงคากับน้ำในแม่น้ำยมุนา ย่อมไหลคลุกคละกันได้ฉะนั้น เราไม่เคย เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะผู้ดำรงอยู่ในปฏิปทา และพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์เป็นสหาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเบา พระทัยประกอบความเป็นผู้ยินดีอยู่พระองค์เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงประกอบความเป็นผู้ยินดีอยู่พระองค์เดียวอย่างนี้ ในอดีตกาลเลยถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง ลาภ ความสรรเสริญ เกิดแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเห็นจะ ตลอดถึงกษัตริย์ทั้งหลายที่ยินดีอยู่ แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นปราศจากความ เมา เสวยพระกระยาหาร เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ปราศจากความเมา เสวยพระกระยาหารอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่ เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีปรกติตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำ อย่างใด ตรัสอย่างนั้น เหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอก จากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจาก ความคลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัยเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงข้ามความสงสัยได้ แล้ว ปราศจากความคลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัยเป็นเบื้อง ต้นแห่งพรหมจรรย์อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็นนอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงยกพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการนี้แล ของพระผู้มีพระภาค ขึ้นแสดงแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯ [๒๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า เพราะเหตุนั้น เทวดาชั้น ดาวดึงส์ได้สดับพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคจึงปลื้มใจ เบิก บาน เกิดปีติและโสมนัสยิ่งกว่าประมาณ ในเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางพวก กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โอหนอ การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ พึงอุบัติในโลก พึงทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาค ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุ- *เคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้ง หลาย ฯ เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ยกไว้เถิด การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ พึง อุบัติในโลก พึงทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาค ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลายพระสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ยกไว้เถิด การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึง อุบัติในโลก พึงทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาค ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไป เพื่อ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังนี้ ไม่ใช่ ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอ ให้สมความหวัง ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบา บาง พึงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ นั่งประชุมกันใน สุธรรมาสภาด้วยความประสงค์อันใด ท้าวจาตุมหาราช แม้อันเทวดาชั้นดาวดึงส์ คิดความนั้น ปรึกษาความนั้นแล้ว ทูลให้ทราบก็มีอยู่ในข้อประสงค์นั้น แม้จะรับ คำสั่งกำชับแล้ว ก็มีอยู่ในข้อประสงค์นั้น ประทับอยู่บนอาสนะของตนๆ ยัง ไม่ไป ฯ [๒๑๓] ท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้นรับคำแล้ว รับคำพร่ำสอนแล้ว มีใจ ผ่องใส ประทับสงบอยู่บนอาสนะของตนๆ ฯ [๒๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น แสงสว่างอย่างมากปรากฏใน ทิศอุดร โอภาสปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายลำดับนั้น ท้าวสักกะ จอมเทพจึงตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นิมิต ปรากฏ แสงสว่างเกิด โอภาสปรากฏ ฉันใด พรหมจักปรากฏ ฉันนั้น การ ที่แสงสว่างเกิด โอภาสปรากฏนี้ เป็นบุพพนิมิตที่พรหมจะปรากฏ ฯ [๒๑๕] นิมิตปรากฏ ฉันใด พรหมจักปรากฏ ฉันนั้นการที่ โอภาสอันไพบูลย์มากปรากฏนี้ เป็นบุพพนิมิตที่พรหมจะ ปรากฏ ฯ [๒๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์นั่งบนอาสนะ ตามที่ของตนๆ ด้วยความหวังว่า เราทั้งหลายจักรู้โอภาสนี้ วิบากอันใดจักมี เราทั้งหลายจักทำวิบากนั้นให้แจ้งเสียก่อน แล้วจึงจะไป แม้ท้าวจาตุมหาราชก็นั่ง อยู่บนอาสนะตามที่ของตนๆ ด้วยความหวังว่า เราทั้งหลายจักรู้โอภาสนี้ วิบาก อันใดจักมี เราทั้งหลายจักทำวิบากนั้นให้แจ้งเสียก่อน แล้วจึงจะไปเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ฟังความข้อนี้แล้วไม่ระส่ำระสาย สงบอยู่ ด้วยหวังกันว่า เราทั้งหลาย รู้โอภาสนี้ วิบากอันใดจักมี เราทั้งหลายจักทำวิบากนั้นให้แจ้งเสียก่อน แล้ว จึงจะไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใด สนังกุมารพรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อนั้น สนังกุมารพรหมนิรมิตอัตตภาพอันยิ่งใหญ่ปรากฏ ก็วรรณปรกติของพรหม อันเทวดาเหล่าอื่นไม่พึงถึง ปรากฏในคลองจักษุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อสนังกุมาร พรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์นั้น ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยวรรณ และยศ เหมือนกายเทวดาย่อมรุ่งเรืองล่วงกายมนุษย์ ฉะนั้น เมื่อสนังกุมาร พรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ นั้นเทวดาไหนๆ ในบริษัทนั้น ไม่ไหว้ ไม่ ลุกรับ และไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ เทวดาทั้งหมดนั่งประณมมือนิ่งอยู่บนบัลลังก์ ด้วยความดำริว่า บัดนี้ สนังกุมารพรหมปรารถนาบัลลังก์ของเทวดาผู้ใด จักนั่ง บนบัลลังก์ของเทวดาผู้นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมนั่งบนบัลลังก์ ของเทวดาใด เทวดาผู้นั้นย่อมได้ความยินดี ได้โสมนัสอย่างยิ่ง ดังพระราชาผู้ กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว เสวยราชสมบัติใหม่ๆ ย่อมได้ความยินดี ได้ความ โสมนัสอย่างยิ่งฉะนั้น ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมทราบความเบิกบานใจ ของเทวดาชั้นดาวดึงส์หายไปแล้ว บันเทิงตามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า [๒๑๗] ดูกรท่านผู้เจริญ เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยพระอินทร์ ย่อมบันเทิงใจ ถวายนมัสการพระตถาคตและความที่พระธรรม เป็นธรรมดี เห็นเทวดาผู้ใหม่ๆ มีวรรณ มียศ ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสุคตแล้วมาในที่นี้ เทวดาเหล่านั้นเป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญากว้างขวาง บรรลุคุณวิเศษ แล้วย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น ณ ที่นี้ ด้วยวรรณ ด้วยยศ และอายุ เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยพระอินทร์ เห็นเช่นนี้ แล้วย่อมยินดีถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรม เป็นธรรมดี ฯ [๒๑๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความข้อนี้ สนังกุมารพรหมได้กล่าว แล้ว เสียงของสนังกุมารพรหมผู้กล่าวเนื้อความนี้ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ แจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑ นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑ ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑ สนังกุมารพรหมย่อมให้บริษัทประมาณเท่าใดทราบความด้วย เสียง กระแสเสียงก็ไม่แพร่ไปในภายนอกบริษัทเท่านั้น ก็ผู้ใดมีเสียงประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้ ผู้นั้นท่านกล่าวกันว่า มีเสียงดังเสียงพรหม ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้กล่าวกะสนัง- *กุมารพรหมว่า ข้าแต่ท้าวมหาพรหม ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบเนื้อความ นั้นแล้ว ขอโมทนา มีอยู่พระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ที่ท้าวสักกะจอมเทพภาษิตแล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบแล้วขอ โมทนา ฯ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรท่านผู้ จอมเทพ ขอโอกาสเถิด แม้เราทั้งหลายก็พึงฟังพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ท้าวสักกะจอมเทพ รับคำสนังกุมารพรหมแล้ว ทรงยกพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคขึ้นแสดงว่า ท่านมหา พรหมจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพียงไร ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึง เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญู ชนพึงรู้เฉพาะตน ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ ทรงแสดงธรรมอันควรน้อมเข้ามาในตน อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่ เห็นนอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า นี้กุศล นี้ อกุศล นี้มีโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้มี ส่วนเทียบด้วยธรรมดำและธรรมขาว ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบ ด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงบัญญัติธรรมอันเป็นกุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ ควรเสพ ไม่ควรเสพ เลว ประณีต มีส่วนเทียบด้วยธรรมดำและธรรมขาว อย่างนี้ ใน อดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทาเพื่อ พระสาวกทั้งหลายไว้ดีแล้ว พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเทียบเคียงกันได้ ดุจน้ำใน แม่น้ำคงคา กับน้ำในแม่น้ำยมุนา ย่อมไหลคลุกคละกันได้ ฉะนั้น ข้าพเจ้าไม่ เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบองค์คุณเช่นนี้ ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะผู้ดำรงอยู่ในปฏิปทา และพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์เป็นสหาย เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคทรงเบา พระทัย ประกอบความเป็นผู้ยินดีอยู่พระองค์เดียว ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงประกอบความเป็นผู้ยินดีอยู่พระองค์เดียวอย่างนี้ ในอดีตกาลเลยถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง ลาภ ความสรรเสริญ เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เห็นจะตลอดถึงกษัตริย์ทั้งหลายที่ยินดีอยู่ แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ปราศ- *จากความเมา เสวยพระกระยาหารข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์ คุณเช่นนี้ ผู้ปราศจากความเมา เสวยพระกระยาหารอย่างนี้ ในอดีตกาลเลยถึงใน บัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีปรกติตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำ อย่างใด ตรัสอย่างนั้น เหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณ เช่นนี้ ทรงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่ เห็นนอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจาก ความคลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัยเป็นเบื้องต้นแห่งพรหม- *จรรย์ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงข้ามความ สงสัยได้แล้ว ปราศจากความคลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัย เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอก จากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงยกพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการนี้แล ของพระผู้มีพระภาค ขึ้นแสดงแก่สนังกุมารพรหม ฯ [๒๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า เพราะเหตุนั้นสนังกุมารพรหม จึงปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติและโสมนัส เพราะได้สดับพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นสนังกุมารพรหม นิมิตอัตตภาพใหญ่ยิ่ง เป็นเพศกุมารีแกละ ๕ แกละ ปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ สนังกุมารพรหม นั้นเหาะขึ้นยังเวหาส นั่งขัดสมาธิอยู่ในอากาศที่ว่าง เปรียบดังบุรุษผู้มีกำลังนั่ง ขัดสมาธิอยู่บนบัลลังก์ที่ปูลาดเรียบร้อย หรือบนภาคพื้นราบเรียบฉะนั้น แล้วเรียก เทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้มีพระปัญญามากได้มีมาแล้ว สิ้นกาลนานเพียงไร ฯ ดูกรท่านผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระราชาทรงพระนามว่าทิสัมบดี พราหมณ์นามว่า โควินทะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าทิสัมบดี พระกุมารพระนามว่า เรณู เป็นโอรสของพระเจ้าทิสัมบดี มาณพมีนามว่า โชติปาละ เป็นบุตรของ โควินทพราหมณ์ คน ๘ คนเหล่านี้คือ พระราชโอรสพระนามว่า เรณู ๑ โชติ ปาลมาณพ ๑ และกษัตริย์อื่นอีก ๖ พระองค์ เป็นสหายกันดังนี้ ครั้งนั้น โดย วันคืนล่วงไปๆ โควินทพราหมณ์ได้ทำกาละ เมื่อโควินทพราหมณ์กระทำกาละแล้ว พระเจ้าทิสัมบดีทรงพระรำพันว่า สมัยใด เรามอบราชกิจทั้งปวงไว้ในโควินทพราหมณ์ แล้วสะพรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณ บำเรออยู่ สมัยนั้น โควินทพราหมณ์ถึง อนิจจกรรมเสียแล้ว ฯ เมื่อท้าวเธอดำรัสอย่างนี้แล้ว เรณูราชโอรสได้กราบทูลพระเจ้าทิสัมบดีว่า ขอเดชะ เมื่อท่านโควินทพราหมณ์ถึงอนิจจกรรมแล้ว พระองค์อย่าทรงกรรแสง นักเลย โชติปาลมาณพบุตรของโควินทพราหมณ์ยังมีอยู่ เขาฉลาดกว่าทั้งสามารถ กว่าบิดา บิดาของเขาสั่งสอนอรรถเหล่าใด แม้อรรถเหล่านั้น โชติปาลมาณพก็ สั่งสอนได้เหมือนกัน อย่างนั้นหรือ พ่อกุมาร อย่างนั้นขอเดชะ ฯ ลำดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดีจึงตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า มานี่เถิด บุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ แล้วจงบอกกะโชติปาลมาณพ อย่างนี้ว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านโชติปาลมาณพเถิด พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่ง ให้ท่านโชติปาลมาณพเข้าไปเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดีทรงมีพระราชประสงค์จะทอด- *พระเนตรท่านโชติปาลมาณพ ฯ บุรุษนั้นทูลรับคำพระเจ้าทิสัมบดีแล้ว เข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านโชติปาลมาณพเถิด พระเจ้าทิสัมบดี รับสั่งให้ท่านโชติปาลมาณพเข้าไปเฝ้า ทรงมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร ท่านโชติปาลมาณพ ฯ โชติปาลมาณพรับคำบุรุษนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าทิสัมบดีถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระเจ้าทิสัมบดี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเจ้าทิสัมบดีจึงตรัสว่า ขอท่านโชติปาลมาณพจงสั่ง สอนเรา อย่าบอกคืนในการสั่งสอนเราเลย เราจักแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนบิดา จักอภิเษกในตำแหน่งโควินทพราหมณ์ โชติปาลมาณพทูลรับสนองพระเจ้าทิสัมบดี ว่าอย่างนั้น ขอเดชะ ฯ ครั้งนั้น พระเจ้าทิสัมบดีทรงอภิเษกโชติปาลมาณพไว้ในตำแหน่ง โควินทพราหมณ์ ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนบิดา โชติปาลมาณพผู้อันพระเจ้า- *ทิสัมบดีทรงอภิเษกในตำแหน่งโควินทพราหมณ์ ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน บิดาแล้ว ก็สั่งสอนอรรถที่บิดาของเขาสั่งสอน ไม่สั่งสอนอรรถที่บิดาของเขา ไม่สั่งสอน ย่อมจัดแจงการงานที่บิดาของเขาจัด ไม่จัดแจงการงานที่บิดาของเขา ไม่จัด มนุษย์ทั้งหลายกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านโควินทพราหมณ์หนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านมหาโควินทพราหมณ์หนอ ดูกรท่านผู้เจริญ โดยปริยายนี้ นามสมญาว่า มหาโควินท์ นั่นแล จึงเกิดมีแก่โชติปาลมาณพ ฯ [๒๒๐] ดูกรท่านผู้เจริญ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่ประทับแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีทรง พระชราแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ใครจะรู้ชีวิต ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้ เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ พึงอภิเษกเรณูราชโอรสเป็นพระราชา ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงมาไปเฝ้าเรณูราชโอรส กันเถิด แล้วจงทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นสหายที่รักที่เจริญใจ โปรดปราน ของท่านเรณู ท่านมีสุขอย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลายก็มีสุขอย่างนั้น ท่านมีทุกข์ อย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลายก็มีทุกข์อย่างนั้น ข้าแต่ท่าน พระเจ้าทิสัมบดีทรงพระ- *ชราแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยแล้ว ใครจะรู้ชีวิต ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้ เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ พึงอภิเษกท่านเรณูให้เป็นพระราชา ถ้าท่านเรณูพึงได้ราชสมบัติ ขอจงแบ่งราช สมบัติให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฯ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น รับคำมหาโควินทพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้า เรณูราชโอรสถึงที่ประทับ แล้วทูลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นสหายที่รักที่เจริญใจ โปรดปรานของท่านเรณู ท่านมีสุขอย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลายก็มีสุขอย่างนั้น ท่าน มีทุกข์อย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลายก็มีทุกข์อย่างนั้น ดูกรท่านผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดี ทรงพระชราแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยแล้ว ใครจะรู้ชีวิต ข้อนี้เป็น ฐานะจะมีได้ เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ พึงอภิเษกท่านเรณูเป็นพระราชา ถ้าท่านเรณูได้ราชสมบัติ ขอจงแบ่งราชสมบัติ ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฯ เรณูราชโอรสตรัสว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของเรา ใครอื่นจักพึงมีความสุขนอกจากท่านทั้งหลาย ถ้าข้าพเจ้าจักได้ราชสมบัติ จักแบ่ง ให้ท่านทั้งหลาย ฯ ดูกรท่านผู้เจริญ ครั้งนั้น เมื่อวันคืนล่วงไปๆ พระเจ้าทิสัมบดีเสด็จ สวรรคต ครั้นพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว อำมาตย์ผู้สำเร็จราชการทั้งหลาย อภิเษกเรณูราชโอรสเป็นราชาเรณูได้อภิเษกเป็นพระราชาแล้ว สะพรั่งพร้อมไปด้วย เบญจกามคุณ บำรุงบำเรออยู่ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ทั้ง ๖ พระองค์นั้นถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย พระเจ้าทิสัมบดี เสด็จสวรรคตแล้ว เรณูได้อภิเษกเป็นพระราชา สะพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ บำรุงบำเรออยู่ ก็ใครหนอจะรู้ว่า กามารมณ์ทั้งหลายเป็นเหตุให้มัวเมา ท่านผู้เจริญ ทั้งหลายจงมาไปเฝ้าพระเจ้าเรณูกันเถิด แล้วจงทูลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้าทิสัมบดี เสด็จสวรรคตแล้ว ท่านเรณูได้รับอภิเษกเป็นพระราชาแล้ว ยังทรงระลึกถึงพระ- *ดำรัสนั้นได้อยู่หรือ ฯ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น รับคำมหาโควินทพราหมณ์ แล้วเข้าไปเฝ้า พระเจ้าเรณูถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีเสด็จ สวรรคตแล้ว ท่านเรณูได้รับอภิเษกเป็นพระราชาแล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดำรัสนั้น ได้อยู่หรือ ฯ พระเจ้าเรณูตรัสตอบว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรายังระลึกถึงคำนั้น ได้อยู่ ฯ ก. ใครหนอจะสามารถแบ่งมหาปฐพีนี้ที่ยาวไปทางทิศอุดร และทักษิณ ออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เป็นดุจทางเกวียน ฯ ร. ใครอื่นจะสามารถ นอกจากท่านมหาโควินทพราหมณ์ ฯ ครั้งนั้น พระเจ้าเรณูตรัสเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงมา จงเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่ แล้วจงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ พระเจ้าเรณูรับสั่งหาท่าน ฯ บุรุษนั้นรับสนองพระราชดำรัสของพระเจ้าเรณูแล้ว เข้าไปหามหาโควินท- *พราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าเรณูรับสั่งหาท่าน ฯ มหาโควินทพราหมณ์รับคำของบุรุษนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณูถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระเจ้าเรณู ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเจ้าเรณูได้ตรัสว่า ท่านโควินท์ท่านจงแบ่งมหาปฐพี นี้ที่ยาวไปทางทิศอุดรและทิศทักษิณ ออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆ กันให้เป็นดุจทาง เกวียน ฯ มหาโควินทพราหมณ์ รับสนองพระราชดำรัสของพระเจ้าเรณูแล้ว แบ่ง มหาปฐพีนี้ที่ยาวไปทางทิศอุดรและทิศทักษิณออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆ กัน ให้ เป็นดุจทางเกวียน ตั้งเนื้อที่ทั้งหมดให้เป็นดุจทางเกวียน ฯ ได้ยินว่า ในเนื้อที่เหล่านั้น ชนบทของพระเจ้าเรณูอยู่ท่ามกลาง ฯ [๒๒๑] ทันตปุรนคร เป็นมหานครของแคว้นกาลิงคะโปตนนคร เป็นมหานครของแคว้นอัสสกะมาหิสสตินคร เป็นมหานคร ของแคว้นอวันตีโรรุกนคร เป็นมหานครของแคว้นโสจิระมิถิลา นคร เป็นมหานครแห่งแคว้นวิเทหะ จัมปานครสร้างในแคว้น อังคะ พาราณสีนคร เป็นมหานครแห่งแคว้นกาสี พระนคร เหล่านี้ ท่านโควินทพราหมณ์สร้าง ฯ [๒๒๒] ครั้งนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น ทรงดีพระทัยมีความดำริ บริบูรณ์ด้วยลาภของตนๆ ว่า สิ่งใดที่เราทั้งหลายอยากได้ หวัง ประสงค์ ปรารถนายิ่ง เราทั้งหลายก็ได้สิ่งนั้นแล้วหนอ ฯ [๒๒๓] กษัตริย์เหล่านั้น ทรงพระนามว่า สัตตภูพระองค์ ๑ พรหมทัตพระองค์ ๑ เวสสภูพระองค์ ๑ ภรตพระองค์ ๑ เรณูพระองค์ ๑ ธตรถ ๒ พระองค์ รวมพระมหากษัตริย์ผู้ทรง พระราชภาระ ๗ พระองค์ ในกาลนั้น ฯ
จบภาณวารที่หนึ่ง
[๒๒๔] ครั้งนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น เสด็จเข้าไปหามหาโควินท- *พราหมณ์ถึงที่อยู่ แล้วตรัสว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ขอท่านโควินทพราหมณ์ จงเป็น สหายที่รัก ที่เจริญใจ โปรดปรานของข้าพเจ้าทั้งหลาย ดังท่านโควินท์เป็นสหาย ที่รัก ที่เจริญใจโปรดปราน ของพระเจ้าเรณูเถิด ขอจงสั่งสอนข้าพเจ้าทั้งหลาย อย่าบอกคืนในการสั่งสอนข้าพเจ้าทั้งหลายเลย มหาโควินทพราหมณ์รับสนอง พระดำรัสของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้วว่า อย่างนั้น พระ- *เจ้าข้า ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ จึงสอนพระราชาผู้กษัตริย์ ๗ พระองค์ ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ที่ตนพึงสั่งสอนด้วยราชกิจ แลบอกมนต์กะพราหมณ์ มหาศาล ๗ คน และเหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐ ฯ ครั้งนั้น สมัยต่อมา กิตติศัพท์อันงามของมหาโควินทพราหมณ์ ขจร ไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหม ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์มีความดำริว่า กิตติศัพท์อันงาม ของเราขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหม ก็เราไม่ได้เห็นพรหม ไม่ได้สนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหม แต่เราได้สดับความข้อนี้มาต่อพราหมณ์ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์ พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ถ้ากระนั้น เราพึงหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝนเถิด ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณูถึงที่ประทับ แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิตติศัพท์อันงามของข้าพระพุทธเจ้าขจรไป อย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนา ปราศรัย ปรึกษา กับพรหมได้ ก็ข้าพระพุทธเจ้ามิได้เห็นพรหม มิได้สนทนาปราศรัย ปรึกษากับ พรหม แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าได้สดับความข้อนี้มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็น อาจารย์และปาจารย์ พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า นอกจากคนนำอาหารไปให้คนเดียว พระ- *เจ้าเรณูรับสั่งว่า ท่านมหาโควินทพราหมณ์ย่อมสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์นั้น แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิตติศัพท์อันงามของข้าพระพุทธเจ้าขจรไป อย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์อาจเห็นพรหม อาจสนทนา ปราศรัย ปรึกษา กับพรหมได้ ก็ข้าพระพุทธเจ้ามิได้เห็นพรหม มิได้สนทนา ปราศรัย ปรึกษา กับพรหม แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าได้สดับความข้อนี้มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า นอกจากคนนำอาหารไปให้คนเดียว กษัตริย์ ทั้ง ๖ พระองค์นั้น ตรัสว่า ท่านโควินทพราหมณ์ย่อมสำคัญกาลอันควรใน บัดนี้เถิด ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และ เหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐ ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย กิตติศัพท์ อันงามของข้าพเจ้าขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์อาจเห็นพรหม อาจ สนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ก็ข้าพเจ้ามิได้เห็นพรหม มิได้สนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหม แต่ว่า ข้าพเจ้าได้สดับความข้อนี้มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ผู้นั้น ย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนา ปราศรัย ปรึกษา กับพรหมได้ ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงทำการสาธยายมนต์ตามที่สดับมาแล้ว ตามที่เรียนมาแล้วโดยพิสดาร และจงบอกมนต์ให้แก่กันและกัน ข้าพเจ้าปรารถนา จะหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไป หาข้าพเจ้า นอกจากคนนำอาหารไปให้คนเดียว พราหมณ์มหาศาลและเหล่า ข้าราชบริพารเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านโควินทพราหมณ์ย่อมสำคัญกาลอันควรใน บัดนี้เถิด ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาภรรยา ๔๐ คน ผู้เสมอกันที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ดูกรนางผู้เจริญทั้งหลาย กิตติศัพท์อันงามของฉัน ขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์อาจเห็นพรหม อาจสนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ก็ฉันมิได้เห็นพรหม มิได้สนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหม แต่ว่า ฉันได้สดับ ความข้อนี้มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใด หลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝนผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ฉันปรารถนาจะหลีกออกเร้น เพ่งกรุณา ฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาฉัน นอกจากคนนำอาหาร ไปให้คนเดียว ภรรยาเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านโควินทพราหมณ์ย่อมสำคัญกาลอันควร ในบัดนี้เถิด ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ จึงให้สร้างสัณฐาคารใหม่โดยทิศบูรพา แห่งนคร แล้วหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ใครๆ ไม่เข้าไปหา นอกจากคนนำอาหารไปให้คนเดียว ครั้งนั้น พอล่วง ๔ เดือน ในวันนั้นเอง มหาโควินทพราหมณ์มีความระอา ความท้อใจว่า ก็เราได้สดับความ ข้อนี้มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออก เร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อม สนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ แต่เราก็มิได้เห็นพรหม มิได้สนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหม ฯ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหม ทราบความปริวิตกแห่งใจของมหาโควินท- *พราหมณ์ ด้วยใจแล้ว จึงหายไปในพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะหน้ามหาโควินท- *พราหมณ์ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์มีความกลัว หวาดเสียว ขนลุกชูชัน เพราะเห็น รูปที่ไม่เคยเห็น ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ กลัว หวาดเสียว ขนลุกชูชัน ได้กล่าวกะสนังกุมารพรหมด้วยคาถาว่า [๒๒๕] ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครเล่า มีวรรณมียศ มีสิริ ข้าพเจ้าไม่รู้จักจึงถามท่าน ไฉนข้าพเจ้าจะพึงรู้จักท่านได้ ฯ ส. เทวดาทั้งปวงรู้จักเราว่า กุมารเก่าในพรหมโลก เทวดาทั้ง ปวงรู้จักเรา ดูกรโควินท์ ท่านจงรู้จักเราอย่างนี้ ฯ ม. อาสนะ น้ำ น้ำมันทาเท้า น้ำผึ้งเคี่ยวไฟ ข้าพเจ้าเชื้อเชิญ ท่านด้วยของควรค่า ขอท่านจงรับของควรค่าของข้าพเจ้า เถิด ฯ ส. ดูกรโควินท์ เราย่อมรับของควรค่าของท่าน ที่ท่านพูดถึง นั้น ท่านผู้ที่เราให้โอกาสแล้ว จงถามความที่ท่านปรารถนา เถิด เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และสุขใน ภพหน้า ฯ [๒๒๖] ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์มีความดำริว่า เรามีโอกาสอัน สนังกุมารพรหมให้แล้ว เราจะพึงถามทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หรือสัมปรายิกัตถ- *ประโยชน์ กะสนังกุมารพรหมดีหนอ ลำดับนั้น มหาโควินทพราหมณ์มีความ ดำริว่า เราเป็นผู้ฉลาดในทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ แม้ชนเหล่าอื่นก็ถามทิฏฐธัมมิกัตถ- *ประโยชน์กะเรา ดังนั้น เราพึงถามสัมปรายิกัตถประโยชน์ กะสนังกุมาร พรหมเถิด ฯ ลำดับนั้น มหาโควินทพราหมณ์ได้กล่าวกะสนังกุมารพรหมด้วยคาถาว่า [๒๒๗] ข้าพเจ้ามีความสงสัย จึงขอถามสนังกุมารพรหม ผู้ไม่มี ความสงสัย ในปัญหาของคนอื่น สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร ศึกษาในอะไร จึงจะถึงพรหมโลกอันไม่ตาย ฯ ส. ดูกรพราหมณ์ สัตว์ละความยึดถือว่าเป็นของเรา ในสัตว์ ทั้งหลายที่เกิดเป็นมนุษย์แล้วอยู่โดดเดี่ยว น้อมไปในกรุณา ไม่มีกลิ่นร้าย เว้นจากเมถุน สัตว์ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และ ศึกษาอยู่ในธรรมนี้ ย่อมถึงพรหมโลกอันไม่ตายได้ ฯ [๒๒๘] ม. ข้าพเจ้าทราบต่อท่านว่า ละความยึดถือว่าเป็นของเรา คน บางคนในโลกนี้ ละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต ดังนี้ ชื่อว่า ละความ ยึดถือว่าเป็นของเรา ข้าพเจ้าทราบต่อท่านดังนี้ ฯ ข้าพเจ้าทราบต่อท่านว่า อยู่โดดเดี่ยว คนบางคนในโลกนี้ย่อมเสพ เสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง หลีกออกเร้นอยู่ ดังนี้ ชื่อว่า อยู่โดดเดี่ยว ข้าพเจ้าทราบต่อท่าน ดังนี้ ฯ ข้าพเจ้าทราบต่อท่านว่า น้อมไปในกรุณา คนบางคนในโลกนี้มีใจ สหรคตด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน มีใจสหรคต ด้วยกรุณา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวง ดังนี้อยู่ ดังนี้ ชื่อว่า น้อมไปในกรุณา ข้าพเจ้าทราบต่อท่านดังนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบคนมีกลิ่นร้าย ต่อท่านซึ่งพูดถึงอยู่ ฯ [๒๒๙] ม. ข้าแต่พรหม ในสัตว์ทั้งหลาย คนเหล่าไหนมีกลิ่น ร้าย ข้าพเจ้าไม่ทราบคนกลิ่นร้ายเหล่านี้ ท่านนักปราชญ์ ขอจงบอก ณ ที่นี้เถิด หมู่สัตว์อันอะไรร้อยแล้ว ย่อม เหม็นเน่าคลุ้งไปต้องไปอบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว ฯ ส. ความโกรธ การพูดเท็จ การโกง ความประทุษร้ายมิตร ความเป็นคนตระหนี่ ความเย่อหยิ่ง ความริษยา ความ มักได้ ความลังเล การเบียดเบียนผู้อื่น ความโลภ ความ คิด ประทุษร้าย ความเมา และความหลง สัตว์ผู้ประกอบ ในกิเลสเหล่านี้ จัดว่าไม่หมดกลิ่นร้ายต้องไปอบาย มี พรหมโลกอันปิดแล้ว ฯ [๒๓๐] ม. ข้าพเจ้าเพิ่งทราบกลิ่นร้าย ต่อท่านซึ่งพูดถึงอยู่กลิ่น ร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้ง่ายเลย ข้าพเจ้าจะออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ ส. ท่านโควินท์ ย่อมรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณูถึงที่ประทับ แล้ว กราบทูลว่า บัดนี้ ขอพระองค์จงแสวงหาปุโรหิตคนอื่น ที่จักแนะนำราชกิจต่อ พระองค์เถิด ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับ กลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้นอัน บุคคลผู้อยู่ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ฯ [๒๓๑] ม. ข้าพระพุทธเจ้าขอเชิญพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนาม ว่าเรณู ขอพระองค์ทรงรับรู้ด้วยราชกิจเถิด ข้าพระพุทธเจ้า ไม่ยินดีในความเป็นปุโรหิต ฯ เร. ถ้าท่านพร่องด้วยกามทั้งหลาย เราจะให้ท่านบริบูรณ์ อนึ่ง ผู้ใดเบียดเบียนท่าน เราผู้เป็นเจ้าแผ่นดินจะห้ามผู้นั้น ท่าน เป็นบิดา ข้าพเจ้าเป็นบุตร ดูกรท่านโควินท์ ขอท่านอย่า สละเราเสียเลย ฯ ม. ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความบกพร่องด้วยกาม ไม่มีใครเบียด เบียนข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำของท่านผู้ไม่ ใช่มนุษย์เหตุนั้น จึงไม่ยินดีในเรือน ฯ เร. ท่านผู้ไม่ใช่มนุษย์ มีวรรณอย่างไร ได้กล่าวข้อความอะไร กะท่าน ซึ่งท่านฟังแล้วจะละเรือนของเรา พวกเรา และ ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นเล่า ฯ ม. เมื่อข้าพระพุทธเจ้า อยู่โดดเดี่ยวเมื่อก่อนประสงค์จะเส้น สรวง ไฟสุมด้วยใบหญ้าคาลุกโพลงแล้ว ขณะนั้น สนัง- *กุมารพรหมมาจากพรหมโลก ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้า พรหมนั้นพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า ฟังปัญหานั้นแล้ว จึงไม่ยินดีในเรือน ฯ เร. ดูกรท่านโควินท์ ท่านพูดคำใด ข้าพเจ้าเชื่อคำนั้นต่อท่าน ท่านฟังคำของท่านผู้ไม่ใช่มนุษย์แล้ว จะประพฤติโดย ประการอื่นอย่างไร ข้าพเจ้าทั้งหลายนั้นจักประพฤติตาม ท่าน ท่านโควินท์ ท่านเป็นครูของเราทั้งหลาย แก้ว ไพฑูรย์ ไม่มีฝ้า ปราศจากราคี งาม ฉันใด ข้าพเจ้าทั้ง หลายจักเชื่อฟัง ประพฤติอยู่ในคำสั่งสอนของท่านโควินท์ ฉันนั้น ฯ [๒๓๒] เร. ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้เรา ทั้งหลายก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่งคติ อันใดของท่าน คตินั้นจัก เป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ ครั้งนั้น มหาโควินท์พราหมณ์ เข้าเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า บัดนี้ขอพระองค์ทั้งหลายจงแสวงหาปุโรหิตคนอื่น ที่จักแนะนำ ราชกิจต่อพระองค์ทั้งหลายเถิด ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้าย เหล่านั้น อันบุคคลผู้ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นหลีกเลี่ยงไป ณ ข้างหนึ่งแล้ว คิด ร่วมกันอย่างนี้ว่า ธรรมดาพราหมณ์เหล่านี้มักโลภทรัพย์ ถ้ากระไรเราทั้งหลายจะพึง เกลี้ยกล่อมมหาโควินทพราหมณ์ด้วยทรัพย์ แล้วเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า ในราชอาณาจักรทั้ง ๗ นี้ มีทรัพย์เพียงพอ ท่านต้องการทรัพย์ ประมาณเท่าใด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะให้นำมาเท่านั้น ฯ ม. ขอเดชะ อย่าเลย ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้านี้มีเพียงพอเหมือน ทรัพย์ของพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้าจักละทรัพย์ทั้งปวงออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่น ร้ายเหล่านั้นอันบุคคลผู้ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจัก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์หลีกไป ณ ข้างหนึ่ง แล้วคิดร่วมกัน อย่างนี้ว่า ธรรมดาพราหมณ์เหล่านี้มักโลภด้วยหญิง ถ้ากระไรเราทั้งหลายจะพึง เกลี้ยกล่อมมหาโควินทพราหมณ์ด้วยหญิง แล้วจึงเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ในราชอาณาจักรทั้ง ๗ นี้ มีหญิงมากมาย ท่านต้อง การหญิงเท่าใด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะให้นำมาเท่านั้น ฯ ม. ขอเดชะ อย่าเลย ภรรยาของข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคนเสมอกัน มีถึง ๔๐ คน ข้าพระพุทธเจ้าจักละภรรยาเหล่านั้นทั้งหมด ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้าย เหล่านั้น อันบุคคลผู้ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจัก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ ก. ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของ ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ [๒๓๓] ม. ถ้าพระองค์ทั้งหลายจะละกาม อันเป็นที่ข้องของ ปุถุชน ขอจงทรงปรารภความเพียรให้มั่น ประกอบ ด้วยกำลังขันติ ทางนี้เป็นทางตรง ทางนี้ไม่มีทาง อื่นยิ่งกว่า พระสัทธรรมอันสัตบุรุษทั้งหลายรักษา เพื่อบังเกิดในพรหมโลก ฯ [๒๓๔] ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านมหาโควินท์จงรออยู่สัก ๗ ปีก่อน พอล่วง ๗ ปี แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่งคติ อันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ ม. ขอเดชะ ๗ ปี ช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ อยู่ได้ถึง ๗ ปี ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพอันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วย ปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มี ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ฯ ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่สัก ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี พอล่วง ๑ ปีแล้ว แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ ม. ขอเดชะ ๑ ปีช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์อยู่ได้ถึง ๑ ปี ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพอันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วยปัญญา พึง ทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มี ด้วยว่าข้า พระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคล ผู้อยู่ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ฯ ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่ ๗ เดือนก่อน พอล่วง ๗ เดือน แล้ว แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของ ท่าน คตินั้นจักเป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ ม. ขอเดชะ ๗ เดือนช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ได้ถึง ๗ เดือน ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพอันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วย ปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มี ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์ จงรออยู่สัก ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พอล่วงครึ่งเดือนแม้ข้าพเจ้า ทั้งหลายก็จักออกเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจัก เป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ ม. ขอเดชะ ครึ่งเดือนช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ได้ถึง ครึ่งเดือน ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพอันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วย ปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มี ด้วย ว่าข้าพระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อัน บุคคลผู้อยู่ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ฯ ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่สัก ๗ วัน พอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย สั่งสอนบุตรและพี่น้องชายของตนๆ ในราชกิจเสียก่อน พอล่วง ๗ วัน แม้ข้าพเจ้า ทั้งหลายก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่านคตินั้นจัก เป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ ม. ขอเดชะ ๗ วัน ไม่นาน ข้าพระพุทธเจ้าจักรอพระองค์ทั้งหลาย ๗ วัน ฯ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และ เหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐ ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า บัดนี้ท่านทั้งหลายจงแสวงหา อาจารย์อื่น ซึ่งจักสอนมนต์แก่ท่านทั้งหลายเถิด เราปรารถนาจะออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ด้วยว่าเราได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย เราจึงจักออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ฯ พราหมณ์และเหล่าข้าราชบริพารเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านโควินท์อย่าออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเลย บรรพชิตมีศักดิ์น้อย มีลาภน้อย ความเป็น พราหมณ์มีศักดิ์มาก มีลาภมาก ฯ ม. ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนี้ว่า บรรพชามีศักดิ์น้อย มีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์มาก มีลาภมาก ดูกร ท่านทั้งหลาย ใครอื่นจะมีศักดิ์มาก มีลาภมากกว่าเรา บัดนี้เราเป็นเหมือนพระราชา ของพระราชาสามัญทั้งหลาย เป็นดังพรหมของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นดุจเทวดา ของคฤหบดีทั้งหลาย เราจักละสิ่งทั้งปวงนั้นออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยว่า เราได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครอง เรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย เราจึงจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ พ. ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของ ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย ฯ ครั้งนั้น มหาโควินท์พราหมณ์ เข้าไปหาภรรยา ๔๐ คน ผู้เสมอกัน ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า เธอคนใดปรารถนาจะไปยังสกุลญาติของตน ก็จงไป หรือ ปรารถนาจะแสวงหาสามีอื่น ก็จงแสวงหา ฉันปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตด้วยว่าฉันได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อัน บุคคลผู้อยู่ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ฉันจักออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ฯ ภ. ท่านนั่นแล เป็นญาติของดิฉันทั้งหลายผู้ต้องการญาติ เป็นสามีของ ดิฉันทั้งหลายผู้ต้องการสามี ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้ ดิฉันทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของดิฉันทั้งหลายด้วย ฯ ครั้งนั้น พอล่วง ๗ วันนั้นไป มหาโควินทพราหมณ์ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต และเมื่อมหาโควินทพราหมณ์ บวชแล้ว พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้มูรธาภิเษก ๗ พระองค์ พราหมณ์มหาศาล ๗ คน เหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐ คน ภรรยา ๔๐ คน เจ้าหลายพัน พราหมณ์หลายพัน คฤหบดีหลายพัน และนางสนมหลายพัน ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตามมหาโควินทพราหมณ์ ฯ ข่าวว่า มหาโควินทพราหมณ์ แวดล้อมด้วยบริษัทนั้นเที่ยวจาริกไปใน บ้าน นิคม และราชธานีทั้งหลาย สมัยนั้น มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปยังบ้าน หรือนิคมใด ในบ้านและนิคมนั้น ท่านเป็นดังพระราชาของพระราชาทั้งหลาย เป็นดังพรหมของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นดังเทวดาของคฤหบดีทั้งหลาย ฯ สมัยนั้น มนุษย์เหล่าใดพลาดพลั้งหรือล้ม มนุษย์เหล่านั้น กล่าวอย่าง นี้ว่า ขอนอบน้อมแด่ท่านมหาโควินทพราหมณ์ ขอนอบน้อมแด่ท่านปุโรหิตของ พระราชา ๗ พระองค์ มหาโควินทพราหมณ์มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่ พยาบาท แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน มีใจสหรคต ด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่ มีใจสหรคตด้วยกรุณา อันไพบูลย์ เป็น มหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการ ทั้งปวงอยู่ มีใจสหรคตด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่ มีใจสหรคตด้วย อุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ ไปทั่วโลกโดยประการทั้งปวงอยู่ และแสดงหนทางแห่งความเป็นสหายกับพรหม ในพรหมโลก แก่สาวกทั้งหลาย สมัยนั้น บรรดาสาวกของมหาโควินทพราหมณ์ ซึ่งรู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ พรหม- *โลก ผู้ที่ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บางพวกเข้า ถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต บาง พวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิก ผู้ที่ บำเพ็ญกายต่ำกว่าเขาทั้งหมด ก็ยังกายคนธรรพ์ ให้บริบูรณ์ได้ ด้วยประการฉะนี้แล บรรพชาของกุลบุตรเหล่านั้น ทั้งหมด ไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ฯ ป. พระผู้มีพระภาคยังทรงระลึกถึงข้อนั้นได้อยู่หรือ ฯ ภ. ดูกรปัญจสิขะ เรายังระลึกได้อยู่ สมัยนั้น เราเป็นมหาโควินท- *พราหมณ์ เราแสดงพรหมจรรย์นั้นว่า เป็นหนทางแห่งความเป็นสหายของพรหม ในพรหมโลก แก่สาวกทั้งหลาย ปัญจสิขะ แต่ว่าพรหมจรรย์นั้นไม่เป็นไปเพื่อ นิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ ย่อมเป็นไป เพียงเพื่อบังเกิดในพรหมโลก ดูกรปัญจสิขะ ส่วนพรหมจรรย์ของเรานี้ ย่อม เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ พรหมจรรย์เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ นั้นเป็นไฉน คืออัฏฐังคิก- *มรรค เป็นอริยะนี้เอง คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัม- *มันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ดูกรปัญจสิขะ พรหมจรรย์นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ ดูกรปัญจสิขะ ก็บรรดาสาวกของเรา ที่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ บรรดาสาวกผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด บางพวกเป็นโอปปาติกสัตว์ เพราะสิ้น โอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ก็มี บางพวกเป็นพระสกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ก็มี บางพวกเป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าก็มี ฯ ดูกรปัญจสิขะ ด้วยประการฉะนี้แล บรรพชาของกุลบุตรเหล่านี้ทั้งหมด เทียว ไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ปัญจสิขะคันธรรพบุตร ยินดี ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ฉะนี้แล ฯ
จบมหาโควินทสูตร ที่ ๖
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๔๘๗๑-๕๕๓๙ หน้าที่ ๑๙๙-๒๒๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=4871&Z=5539&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=6              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=209              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [209-234] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=10&item=209&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=6662              The Pali Tipitaka in Roman :- [209-234] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=10&item=209&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=6662              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn19/en/sujato https://suttacentral.net/dn19/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :