ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๑๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน
กำเนิดก่อน เป็นผู้มีสมาทานมั่นในกุศลธรรม มีสมาทานไม่ถอยหลังในกายสุจริต
ในวจีสุจริต ในมโนสุจริต ในการบำเพ็ญทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษา
อุโบสถ ในการปฏิบัติดีในมารดา ในการปฏิบัติดีในบิดา ในการปฏิบัติดีในสมณะ
ในการปฏิบัติดีในพรหม ในความเป็นผู้เคารพต่อผู้ใหญ่ในสกุลและในธรรมเป็น
อธิกุศลอื่นๆ ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะกรรมนั้น อันตนทำสั่งสม พอกพูนไพบูลย์ ตถาคตย่อมครอบงำเทวดา
ทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุข
ทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์
และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็นอย่างนี้ ย่อม
ได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ ฯ
             [๑๓๒] พระมหาบุรุษนั้น มีพระบาทตั้งอยู่เฉพาะเป็นอันดี คือทรง
เหยียบพระบาทเสมอกันบนพื้น ทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน ทรงจดภาคพื้นด้วย
ฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครอง
เรือนจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นอิสระ
ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง
สมบูรณ์ด้วยรตนะ ๗ ประการ คือ จักรรัตน์ หัสดีรัตน์ อัสวรัตน์ มณีรัตน์
อิตถีรัตน์ คฤบดีรัตน์ ปริณายกรัตน์เป็นที่ ๗ และมีพระราชโอรสมากกว่าพัน
ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า มีพระรูปสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาแห่งปรปักษ์
เสียได้ และพระมหาบุรุษนั้นทรงชนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา
ปกครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต มิได้มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยน
หนาม มั่งคั่งแพร่หลาย มีความเกษมสำราญ มิได้มีเสนียด เมื่อเป็นพระราชาจะ
ได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้ผลข้อนี้ คือ ไม่มีใครๆ ที่เป็นมนุษย์ ซึ่งเป็น
ข้าศึกศัตรูจะพึงข่มได้ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพ-
*ชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้ คือ ไม่มี
เหล่าข้าศึกศัตรูภายในหรือภายนอก คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือสมณพราหมณ์
เทวดา มาร พรหม ใครๆ ในโลกจะพึงข่มได้ พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความ
นี้ไว้ พระโบราณกเถระทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะนั้นว่า ฯ
             [๑๓๓] 	พระมหาบุรุษยินดีในวจีสัจ ในธรรม [กุศลกรรมบถ] ความ
                          ฝึกตน ความสำรวม ความเป็นผู้สะอาด ศีลที่เป็นอาลัย
                          อุโบสถกรรม ความไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ และกรรมอันไม่
                          สาหัส สมาทานแล้วมั่นคง ทรงประพฤติมาแล้วอย่างรอบคอบ
                          เพราะกรรมนั้น พระมหาบุรุษจึงหลีกไปสู่ไตรทิพย์ เสวย
                          ความสุขและสมบัติเป็นที่เพลิดเพลินยินดี จุติจากไตรทิพย์แล้ว
                          เวียนมาในโลกนี้ เหยียบปฐพีด้วยฝ่าพระบาทอันเรียบ พวก
                          พราหมณ์ผู้ทำนายพระลักษณะมาประชุมกันแล้วทำนายว่า พระ-
                          *ราชกุมารนี้มีฝ่าพระบาทประดิษฐานเรียบ เป็นคฤหัสถ์หรือ
                          บรรพชิต ก็ไม่มีใครข่มได้ พระลักษณะนั้นย่อมเป็นนิมิตส่อง
                          เนื้อความนั้น พระราชกุมารนี้ เมื่ออยู่ครองฆราวาส ไม่มีใคร
                          สามารถข่มได้ มีแต่ครอบงำพวกปรปักษ์เหล่าศัตรูมิอาจย่ำยีได้
                          ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้หาข่มได้ไม่ เพราะผลแห่งกุศล
                          กรรมนั้น ถ้าพระราชกุมารเช่นนั้น เข้าถึงบรรพชา ทรงยินดี
                          ยิ่งด้วยความพอใจในเนกขัมมะ จะมีพระปรีชาเห็นแจ่มแจ้ง
                          เป็นอัครบุคคล ไม่ถึงความเป็นผู้อันใครๆ ข่มได้ ย่อมเป็นผู้
                          สูงสุดกว่านรชน อันนี้แลเป็นธรรมดาของพระกุมารนั้น ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๓๒๖๐-๓๓๐๕ หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=3260&Z=3305&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=7              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=130              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [131-133] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=11&item=131&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=2689              The Pali Tipitaka in Roman :- [131-133] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=11&item=131&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=2689              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn30/en/sujato https://suttacentral.net/dn30/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :