ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๔๗๒] ธรรม ๑๐ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่อริยวาส ๑๐
คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว
ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน
มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว มีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ
มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญา
หลุดพ้นดีแล้ว ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว กามฉันทะ พยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นโทษอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละได้
แล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๖ ภิกษุในพระศาสนานี้เห็น
รูปด้วยนัยน์ตา ... ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ... ไม่ยินดียินร้าย เป็นผู้วางเฉย มี
สติสัมปชัญญะอยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๖ ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา ภิกษุในพระ-
*ธรรมวินัยนี้ ประกอบแล้วด้วยใจมีสติเป็นเครื่องรักษา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามี
ธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทาแล้ว สัจจะ
เฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นของอันภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้บรรเทาแล้ว บรรเทาดีแล้ว สละ คาย ปล่อย ละ สละคืน
เสียหมดสิ้นแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหา
พรหมจรรย์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว ความดำริในกาม ความ
ดำริในความพยาบาท ความดำริในความเบียดเบียน เป็นโทษอันภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ละได้แล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุขและดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามี
กายสังขารอันระงับแล้ว ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว จิตของภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ พ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้น
ดีแล้ว ฯ
             ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ ... โทสะ ... โมหะอันเราละแล้ว มีรากอันเราถอนขึ้นแล้ว
กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้ง กระทำไม่ให้มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาอันหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
             ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๘๐๓๙-๘๐๘๐ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=8039&Z=8080&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=12              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [472] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=11&item=472&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [472] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=11&item=472&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn34/en/sujato https://suttacentral.net/dn34/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :