ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อรรถกรณสูตรที่ ๗
[๓๔๓] พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หม่อมฉันได้นั่ง ณ ที่ พิจารณาคดี เห็นกษัตริย์มหาศาลบ้าง พราหมณ์มหาศาลบ้าง คฤหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่อง อุปกรณ์น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึก อยู่ เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล หม่อมฉันได้ เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า เป็นการไม่สมควรเลยด้วยการที่เราจะพิจารณาคดีในบัดนี้ (เพราะ) บัดนี้ ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักปรากฏโดยการ พิจารณาคดี ฯ [๓๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชอบแล้วๆ มหาบพิตร กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล แม้บางพวกเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก ฯลฯ มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังจักกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่ เพราะเหตุ แห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความ เสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน ฯ [๓๔๕] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมาก หลงใหลในกามคุณ ย่อมไม่รู้สึกการล่วงเกิน เหมือนพวกปลา กำลังเข้าไปสู่เครื่องดัก ซึ่งอ้าดักอยู่ ฉะนั้น ผลอันเผ็ดร้อน ย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง เพราะว่ากรรมเช่นนั้นมีวิบาก เลวทราม ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๓๗๓-๒๓๙๔ หน้าที่ ๑๐๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2373&Z=2394&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=118              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=343              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [343-345] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=343&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3467              The Pali Tipitaka in Roman :- [343-345] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=343&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3467              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i322-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.007.than.html https://suttacentral.net/sn3.7/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :