ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปัญจราชสูตรที่ ๒
[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้น พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประมุข ผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อมได้รับบำเรออยู่ด้วยเบญจพิธกามคุณ เกิดถ้อยคำโต้เถียงกัน ขึ้นว่า อะไรหนอเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ ในพระราชาเหล่านั้น บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลายเป็นยอดแห่ง กามทั้งหลาย ฯ บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า เสียงทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รสทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ เพราะเหตุที่พระราชาเหล่านั้น ไม่อาจทรงยังกันและกันให้เข้าพระทัยได้ จึงพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสกะพระราชาเหล่านั้นว่า มาเถิดท่านสหายทั้งหลาย เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจักทูลถามความข้อนี้กะพระ- *ผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่เราทั้งหลายอย่างใด เราทั้งหลาย พึงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๕.

พระราชาเหล่านั้น ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ฯ [๓๖๐] ครั้งนั้น พระราชา ๕ พระองค์เหล่านั้น มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นประมุข เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายในที่นี้ เป็นราชา- *ทั้ง ๕ คน เอิบอิ่มเพรียบพร้อมได้รับบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณ เกิดมีถ้อยคำ โต้เถียงกันขึ้นว่า อะไรหนอเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เสียงทั้งหลายเป็นยอดแห่ง กามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า กลิ่นทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รสทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ ว่า โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร หนอเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ [๓๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ยอดสุดแห่งความ พอใจนั่นแหละ อาตมภาพกล่าวว่าเป็นยอดในเบญจกามคุณ ดูกรมหาบพิตร รูป- *เหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน รูปเหล่านั้นไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขา ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่นจากรูปเหล่านั้น จะยิ่งกว่า หรือ ประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้น เป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา ดูกรมหาบพิตร เสียงเหล่าใด ... ดูกรมหาบพิตร กลิ่นเหล่าใด ... ดูกรมหาบพิตร รสเหล่าใด ... ดูกรมหาบพิตร โผฏฐัพพะ เหล่าใด เป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้น ไม่เป็นที่พอใจของคน บางคน เขาดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยโผฏฐัพพะเหล่าใด โผฏฐัพพะอื่นจาก โผฏฐัพพะเหล่านั้น จะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา โผฏฐัพพะ เหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับเขา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๖.

[๓๖๒] ก็สมัยนั้น จันทนังคลิกอุบาสกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ฯ ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค เหตุอย่างหนึ่ง ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เหตุอย่างหนึ่งย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจันทนังคลิกะ ขอเหตุนั้นจงแจ่มแจ้งเถิด ฯ ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระ- *พักตร์ ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงอาทิตย์ รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉะนั้น ฯ [๓๖๓] ลำดับนั้น พระราชา ๕ พระองค์เหล่านั้น ทรงให้จันทนังคลิก อุบาสกห่มด้วยผ้า ๕ ผืน (คือพระราชทานผ้าห่ม ๕ ผืน) ฯ ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงห่มด้วย ผ้า ๕ ผืนเหล่านั้น ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๕๗๕-๒๖๓๐ หน้าที่ ๑๑๔-๑๑๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2575&Z=2630&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=123              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=359              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [359-363] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=359&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3744              The Pali Tipitaka in Roman :- [359-363] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=359&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3744              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn3.12/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :