ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สุนทริกสูตรที่ ๙
[๖๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา ใน โกศลชนบท ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา ฯ ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ด้วยคิดว่า ใครหนอควรบริโภค ปายาสอันเหลือจากการบูชานี้ ฯ [๖๕๙] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ทรงคลุม อวัยวะพร้อมด้วยพระเศียร ประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วถือข้าวปายาส ที่เหลือจากการบูชาไฟด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือขวา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปิดพระเศียรด้วยเสียงเท้าของสุนทริก- *ภารทวาชพราหมณ์ ครั้งนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ แล้วประสงค์จะกลับจากที่นั้นทีเดียว ฯ ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้มีความดำริว่า พราหมณ์บาง พวกในโลกนี้เป็นผู้โล้นบ้างก็มี ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปหาพระสมณะผู้โล้นนั้นแล้ว ถามถึงชาติ ฯ ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ ครั้นแล้ว ได้ถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านเป็นชาติอะไร ฯ [๖๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านอย่าถามถึงชาติ แต่จงถามถึงความประพฤติเถิด ไฟย่อม เกิดจากไม้แล บุคคลแม้เกิดในตระกูลต่ำเป็นมุนี มีความเพียร เป็นผู้รู้ทั่วถึงเหตุ ห้ามโทษเสียด้วยหิริ ฝึกตนแล้วด้วยสัจจะ ประกอบด้วยการปราบปราม ถึงที่สุดแห่งเวท มีพรหมจรรย์ อันอยู่จบแล้ว ผู้ใดมียัญอันน้อมเข้าไปแล้ว บูชาพราหมณ์ผู้ นั้น ผู้นั้นชื่อว่าย่อมบูชาพระทักขิไณยบุคคลโดยกาล ฯ [๖๖๑] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า การบูชานี้ของข้าพระองค์เป็นอันบูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้ว เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์ได้พบผู้ถึงเวทเช่นนั้น และเพราะ ข้าพระองค์ไม่พบบุคคลเช่นพระองค์ ชนอื่นจึงบริโภคปายาส อันเหลือจากการบูชา ฯ สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญเป็นพราหมณ์ เชิญบริโภคเถิด ฯ [๖๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่บริโภคโภชนะที่ขับด้วยคาถา ดูกรพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ ธรรมของผู้พิจารณาอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบรรเทา โภชนะที่ขับด้วยคาถา ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ นั่น เป็นความประพฤติ อนึ่ง ท่านจงบำรุงพระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว ด้วยสิ่ง อื่นคือข้าวน้ำ เพราะว่าการบำรุงนั้นย่อมเป็นเขตของผู้มุ่งบุญ ฯ [๖๖๓] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระ- *โคดมผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นข้าพระองค์จะให้ปายาสอันเหลือจากการบูชานี้แก่ใคร ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งจะบริโภคปายาสที่เหลือจากการบูชานี้แล้ว จะพึงถึงความ ย่อยไปโดยชอบ นอกจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทิ้งปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น ณ ที่ปราศจากของเขียว หรือทิ้งให้จม ลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ฯ [๖๖๔] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ทิ้งปายาสอันเหลือจากการ บูชานั้น ให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ฯ ครั้งนั้นแล ปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น อันสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ เทลงแล้วในน้ำย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันกลุ้ม เหมือน อย่างผาลที่ร้อนแล้วตลอดอัน อันบุคคลใส่ลงแล้วในน้ำ ย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันคลุ้ม ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ หลากใจเกิดขนชูชัน เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๖๖๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านเผาไม้อยู่อย่าสำคัญซึ่งความบริสุทธิ์ ก็ การเผาไม้นี้เป็นของภายนอก ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว ความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้นั้น ดูกรพราหมณ์ เราละการ เผาไม้ซึ่งบุคคลพึงปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้อันเป็น ของมีในภายนอก แล้วยังไฟคือญาณให้โพลงภายในตนที เดียว เราเป็นพระอรหันต์ มีไฟอันโพลงแล้วเป็นนิตย์ มี จิตตั้งไว้ชอบแล้วเป็นนิตย์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ดูกร- พราหมณ์ มานะแลเป็นดุจภาระคือ หาบของท่าน ความ โกรธดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็นประดุจภาชนะ เครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้งกองกูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็น ความรุ่งเรืองของบุรุษ ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลาย นั้นแล อาบในห้วงน้ำคือธรรมของบุรุษทั้งหลาย มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว อันบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีตัวไม่เปียก แล้ว ย่อมข้ามถึงฝั่ง ดูกรพราหมณ์ สัจจะธรรม ความ สำรวม พรหมจรรย์ การถึงธรรมอันประเสริฐ อาศัยใน ท่ามกลาง ท่านจงกระทำความนอบน้อมในพระขีณาสพผู้ตรง ทั้งหลาย เรากล่าวคนนั้นว่าผู้มีธรรมเป็นสาระ ฯ [๖๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ก็แหละท่าน พระภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้ แล ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๔๑๑-๕๔๙๒ หน้าที่ ๒๓๓-๒๓๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5411&Z=5492&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=195              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=658              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [658-666] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=658&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5735              The Pali Tipitaka in Roman :- [658-666] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=658&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5735              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i626-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn7.9/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :