ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สกลิกสูตรที่ ๘
[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในสวนมัททกุจฉิ เขตพระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ด หินกระทบแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคมาก เป็นความ ลำบากมีในพระสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อน ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาส โดยพระปรัสเบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมด้วยพระบาท ทรงมีพระสติ สัมปชัญญะอยู่ ฯ [๑๒๓] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา เจ็ดร้อย มีวรรณงาม ยังสวนมัททกุจฉิทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ฯ [๑๒๔] เทวดาตนหนึ่งครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เปล่ง อุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นนาคหนอ ก็แหละ พระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีใน พระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรง สบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นนาค มิได้ทรงเดือดร้อน ฯ [๑๒๕] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นสีหะหนอ ก็แหละพระสมณโคดมทรง มีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็น ความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระ- *สมณโคดมเป็นสีหะ มิได้ทรงเดือดร้อน ฯ [๑๒๖] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่า พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นอาชาไนยหนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็น ความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระ- *สมณโคดมเป็นอาชาไนย มิได้ทรงเดือดร้อน ฯ [๑๒๗] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี- *พระภาคว่า พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นผู้องอาจหนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลาย อันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่ พระสมณโคดมเป็นผู้องอาจ มิได้ทรงเดือดร้อน ฯ [๑๒๘] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี- *พระภาคว่า พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นผู้ใฝ่ธุระหนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็น ความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่ พระสมณโคดมเป็นผู้ใฝ่ธุระ มิได้ทรงเดือดร้อน ฯ [๑๒๙] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี- *พระภาคว่า พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นผู้ฝึกแล้วหนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ อดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระ- *สมณโคดมเป็นผู้ฝึกแล้ว มิได้ทรงเดือดร้อน ฯ [๑๓๐] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี- *พระภาคว่า ท่านทั้งหลายจงดูสมาธิที่พระสมณโคดมให้เจริญดีแล้ว อนึ่ง จิต พระสมณโคดมให้พ้นดีแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามราคะ พระสมณโคดมไม่ให้น้อม ไปเฉพาะแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามโทสะ พระสมณโคดมไม่ให้กลับมาแล้ว อนึ่ง จิตพระสมณโคดมหาต้องตั้งใจข่ม ต้องคอยห้ามกันไม่ บุคคลใดพึงสำคัญ พระสมณโคดมผู้เป็นบุรุษนาค เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษองอาจ เป็นบุรุษใฝ่ธุระ เป็นบุรุษฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่าเป็นผู้อันตนพึงล่วงเกิน บุคคลนั้น จะเป็นอะไรนอกจากไม่มีตา ฯ เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ว่า พราหมณ์ทั้งหลายมีเวทห้า มีตบะ ประพฤติอยู่ตั้งร้อยปี แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นแล้วโดยชอบ พราหมณ์ เหล่านั้นมีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง ฯ พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันตัณหาครอบงำแล้ว เกี่ยวข้อง ด้วยพรตและศีล ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้งร้อยปี แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นแล้วโดยชอบ พราหมณ์ เหล่านั้นมีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง ฯ ความฝึกฝนย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ใคร่มานะ ความรู้ย่อมไม่มี แก่บุคคลที่มีจิตไม่ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียวเมื่ออยู่ในป่า ประมาท อยู่แล้ว ไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้ ฯ บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรม ทั้งปวงแล้ว ผู้เดียว อยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว บุคคลนั้น พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๗๘๙-๘๕๔ หน้าที่ ๓๕-๓๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=789&Z=854&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=38              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=122              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [122-130] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=122&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1987              The Pali Tipitaka in Roman :- [122-130] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=122&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1987              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i078-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn01/sn01.038.than.html https://suttacentral.net/sn1.38/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.38/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :