ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๒. ผัคคุนสูตร
[๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ [๑] กวฬิงการาหาร หยาบหรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร [๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ [๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน [วิญญาณา- *หาร] ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน [วิญญาณาหาร] ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกิน [วิญญาณาหาร] แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่ออะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ [๓๓] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่าย่อม ถูกต้อง ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง แต่ เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธ เจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้ กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ฯ [๓๔] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ถ้าเรากล่าว ว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ ย่อมเสวยอารมณ์ แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็น ปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ฯ [๓๕] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้าเรากล่าว ว่า ย่อมทะเยอทะยาน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ ย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็น ปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ [๓๖] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึงกล่าวว่า ย่อมถือมั่น ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธ เจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจง ให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯ [๓๗] ดูกรผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๗๗-๓๒๘ หน้าที่ ๑๒-๑๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=277&Z=328&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=8              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=31              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [31-37] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=31&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=759              The Pali Tipitaka in Roman :- [31-37] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=31&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=759              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i028-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.012.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.012.nypo.html https://suttacentral.net/sn12.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.12/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :