ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อนิจจวรรคที่ ๑
อัชฌัตติกอนิจจสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จมูก เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย- *กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑
อัชฌัตติกทุกขสูตร
[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หู เป็นทุกข์ ฯลฯ จมูกเป็นทุกข์ ฯลฯ ลิ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ กายเป็นทุกข์ ฯลฯ ใจเป็น ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ
จบสูตรที่ ๒
อัชฌัตติกอนัตตสูตร
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของ เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นอนัตตา ฯลฯ จมูกเป็น อนัตตา ฯลฯ ลิ้นเป็นอนัตตา ฯลฯ กายเป็นอนัตตา ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ
จบสูตรที่ ๓
พาหิรอนิจจสูตร
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่าน ทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ... ย่อมทราบชัด ... ฯ
จบสูตรที่ ๔
พาหิรทุกขสูตร
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ
จบสูตรที่ ๕
พาหิรอนัตตสูตร
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่าน ทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ
จบสูตรที่ ๖
อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร
[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงจักษุอันเป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบัน เล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นปัจจุบัน ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ ซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๗
อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว ไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็น อดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่ เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็น ปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๘
อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะ กล่าวไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริย สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิด เพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจ ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๙
พาหิรสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไย ถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใย ในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อม ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ [๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว ไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี เยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อ หน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ ฯ [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะ กล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงที่ เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยใน ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอนิจจวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร ๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร ๓. อัชฌัตติก- *อนัตตสูตร ๔. พาหิรอนิจจสูตร ๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรอนัตต- *สูตร ๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร ๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร ๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร ๑๐. พาหิรสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
ยมกวรรคที่ ๒
สัมโพธสูตรที่ ๑
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น ความสลัดออกแห่งจักษุ ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่ง กาย ฯลฯ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่งใจ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี้เป็นคุณแห่งจักษุ จักษุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งจักษุ การกำจัด การละฉันทราคะในจักษุ นี้เป็นความสลัดออก แห่งจักษุ ฯลฯ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ นี้เป็นคุณแห่งใจ ใจเป็นสภาพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งใจ การกำจัด การละฉันทราคะในใจ นี้เป็นความสลัดออกแห่งใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายัง ไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์เพียงนั้น เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภาย ใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๑
สัมโพธสูตรที่ ๒
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น ความสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่ง ธรรมารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้น เพราะอาศัยรูป นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัด การละฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ สลัดออกแห่งรูป ฯลฯ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมารมณ์ นี้เป็นคุณแห่ง ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งธรรมารมณ์ การกำจัด การละฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็น จริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความ เป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เพียงใด เราก็ยัง ไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัด ออกอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๒
อัสสาทสูตรที่ ๑
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งจักษุ ได้พบคุณ แห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งจักษุ ได้พบโทษ แห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งจักษุ ได้พบความสลัดออกแห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่ง จมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งใจ ได้พบ คุณแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งใจ ได้พบโทษ แห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งใจ ได้ พบความสลัดออกแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด ฯลฯ ก็ ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๓
อัสสาทสูตรที่ ๒
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งรูป ได้พบคุณแห่ง รูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งรูป ได้พบโทษแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งรูป ได้พบความ สลัดออกแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งธรรมารมณ์ ได้พบคุณแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่ง ธรรมารมณ์ ได้พบโทษแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยว แสวงหาความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ได้พบความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ได้ เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัด ออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด ฯลฯ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๔
โนอัสสาทสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงกำหนัดในจักษุ แต่เพราะคุณในจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัด ในจักษุ ถ้าโทษแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในจักษุ แต่เพราะโทษแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักษุ ถ้าความ สลัดออกแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักษุ แต่ เพราะความสลัดออกแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักษุ ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ ถ้าคุณแห่งใจจักไม่มี แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในใจ แต่เพราะคุณแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในใจ ถ้าโทษแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะ ไม่พึงเบื่อหน่ายในใจ แต่เพราะโทษแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อ หน่ายในใจ ถ้าความสลัดออกแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง สลัดออกจากใจ แต่เพราะความสลัดออกแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง สลัดออกจากใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่ง คุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่ง ความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่ เพียงนั้น แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็น ความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจาก โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๕
โนอัสสาทสูตรที่ ๒
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ จะไม่พึงกำหนัดในรูป แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดใน รูป ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่ เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าความสลัดออก แห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากรูป แต่เพราะความ สลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ ถ้าคุณแห่งธรรมารมณ์ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในธรรมารมณ์ แต่เพราะคุณแห่ง ธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในธรรมารมณ์ ถ้าโทษแห่ง ธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ แต่ เพราะโทษแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ ถ้าความสลัดออกจากธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออก จากธรรมารมณ์ แต่เพราะความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงสลัดออกจากธรรมารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็น จริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็น โทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออกเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่ เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขต แดนมิได้อยู่เพียงนั้น แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่ง ความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่ สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๖
อภินันทสูตรที่ ๑
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิด เพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรา กล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๗
อภินันทสูตรที่ ๒
[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิด เพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่ เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน ทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๘
อุปปาทสูตรที่ ๑
[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งใจ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ ปรากฏแห่งชราและมรณะ ส่วนความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งจักษุ นี้เป็น ความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งใจ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบ แห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ
จบสูตรที่ ๙
อุปปาทสูตรที่ ๒
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯ [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งรูป นี้ เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบยมกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัมโพธสูตรที่ ๑ ๒. สัมโพธสูตรที่ ๒ ๓. อัสสาทสูตรที่ ๑ ๔. อัสสาทสูตรที่ ๒ ๕. โนอัสสาทสูตรที่ ๑ ๖. โนอัสสาทสูตรที่ ๒ ๗. อภินันทสูตรที่ ๑ ๘. อภินันทสูตรที่ ๒ ๙. อุปปาทสูตรที่ ๑ ๑๐. อุปปาท- *สูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
สัพพวรรคที่ ๓
สัพพสูตร
[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูป หู กับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้ เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธ สิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นคงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ดุจเทพเจ้า แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจ ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ
จบสูตรที่ ๑
ปหานสูตรที่ ๑
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย เพื่อละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเสีย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็น สิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๒
ปหานสูตรที่ ๒
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายเพื่อรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม สำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งควรรอบรู้แล้วละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้ แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย นี้เป็น ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็น ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปริชานสูตรที่ ๑
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ฯลฯ ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ที่ยัง ไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้ ยังเป็นผู้ไม่ ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้น ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละ ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปริชานสูตรที่ ๒
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังคลายกำหนัดไม่ได้ ยังละไม่ได้ ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยมโนวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๕
อาทิตตปริยายสูตร
[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงเป็น ของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้ง ในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
อันธภูตสูตร
[๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งมืดมน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็น สิ่งมืดมน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน มืดมน เพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด พ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเหล่านั้นต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
สารูปสูตร
[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอัน สมควรแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญว่า จักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูป ... ในรูป ... แต่รูป ... ว่า รูปของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ... ในจักษุวิญญาณ ... แต่ จักษุวิญญาณ ... ว่า จักษุวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญจักษุสัมผัส ... ในจักษุ สัมผัส ... แต่จักษุสัมผัส ... ว่า จักษุสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญสุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ... ในเวทนา นั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ... ในใจ ... แต่ใจ ... ว่า ใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ... แต่ธรรมารมณ์ ... ว่า ธรรมารมณ์ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ... ใน มโนวิญญาณ ... แต่มโนวิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่ง มโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... แต่มโนสัมผัส ... ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่ สำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ย่อมไม่ สำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ... ในสิ่งทั้งปวง ... แต่สิ่งทั้งปวง ... ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่ สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติที่สมควรแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิ ฯ
จบสูตรที่ ๘
สัปปายสูตรที่ ๑
[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่ การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ... ในจักษุ ... แต่จักษุ ... ว่า จักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป ... ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ... ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งจักษุสัมผัส ... ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนา นั้นเป็นของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่ให้สำคัญ เป็นแดนให้สำคัญ เป็นเหตุให้สำคัญว่า เป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเป็นอื่นออกไป จากที่สำคัญนั้น คือ สัตว์ในภพก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น สัตว์โลก ย่อมเพลิดเพลินเฉพาะภพเท่านั้น ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ... ในใจ ... แต่ใจ ... ว่า ใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ... แต่ธรรมารมณ์ ... ว่า ธรรมารมณ์ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ... ในมโนวิญญาณ ... แต่มโน วิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... แต่มโนสัมผัส ... ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย... ในเวทนานั้น... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่ สำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ... ในขันธ์ ธาตุและอายตนะ... แต่ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ... ว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่ อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่ สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความ สำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิ ฯ
จบสูตรที่ ๙
สัปปายสูตรที่ ๒
[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์... ทั้งในมโนวิญญาณ... ทั้งในมโน สัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบสัพพวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัพพสูตร ๒. ปหานสูตรที่ ๑ ๓. ปหานสูตรที่ ๒ ๔. ปริชาน สูตรที่ ๑ ๕. ปริชานสูตรที่ ๒ ๖. อาทิตตปริยายสูตร ๗. อันธภูตสูตร ๘. สารูปสูตร ๙. สัปปายสูตรที่ ๑ ๑๐. สัปปายสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
ชาติธรรมวรรคที่ ๔
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย- *สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุทั้งในรูป ทั้งในจักษุ วิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งใน มโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้น แล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ [๓๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา ... ฯ [๓๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ... ฯ [๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีเหตุให้เกิดเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความดับไปเป็นธรรมดา คือ อะไรเล่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโน สัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้ง ในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทั้งใน ทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อ เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบชาติธรรมวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ชาติธรรมสูตร ๒. ชราธรรมสูตร ๓. พยาธิธรรมสูตร ๔. มรณธรรมสูตร ๕. โสกธรรมสูตร ๖. สังกิเลสธรรมสูตร ๗. ขยธรรม สูตร ๘. วยธรรมสูตร ๙. สมุทยธรรมสูตร ๑๐. นิโรธธรรมสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
อนิจจวรรคที่ ๕
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงที่เป็นของไม่เที่ยง คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของ ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ [๔๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ฯ [๔๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ... ฯ [๔๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของควรรู้ยิ่ง ... ฯ [๕๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของควรกำหนดรู้ ... ฯ [๕๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ... ฯ [๕๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ... ฯ [๕๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ ... ฯ [๕๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกประทุษร้าย ... ฯ [๕๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน คืออะไรเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของถูกเบียดเบียน ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส ก็ถูกเบียดเบียน แม้สุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูก เบียดเบียน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้ ฯ
จบอนิจจวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร ๓. อนัตตสูตร ๔. อภิญเญยยสูตร ๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร ๗. สัจฉิกาตัพพสูตร ๘. อภิญญาย- *ปริญเญยยสูตร ๙. อุปทุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร
จบปัณณาสก์ที่ ๑ ในสฬายตนวรรค
-----------------------------------------------------
รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้ คือ
๑. สุทธวรรค ๒. ยมกวรรค ๓. สัพพวรรค ๔. ชาติธรรมวรรค ๕. อนิจจวรรค ฯ
-----------------------------------------------------
อวิชชาวรรคที่ ๑
อวิชชาสูตร
[๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็น อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชา จึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ
จบสูตรที่ ๑
สังโยชนสูตรที่ ๑
[๕๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุ สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
สังโยชนสูตรที่ ๒
[๕๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร สังโยชน์จึงถึงความเพิกถอน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความ เพิกถอน ฯ
จบสูตรที่ ๓
อาสวสูตรที่ ๑
[๕๙] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละอาสวะได้ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๔
อาสวสูตรที่ ๒
[๖๐] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ
จบสูตรที่ ๕
อนุสัยสูตรที่ ๑
[๖๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอนุสัยได้ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๖
อนุสัยสูตรที่ ๒
[๖๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ
จบสูตรที่ ๗
ปริญญาสูตร
[๖๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทาน ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อ กำหนดรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน อาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ รวม ธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้ง ในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทาน เรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ อาศัยหูและเสียง ฯลฯ อาศัยจมูกและกลิ่น ฯลฯ อาศัยลิ้นและรส ฯลฯ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึง เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน เวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทานเรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๘
ปริยาทานสูตรที่ ๑
[๖๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำ อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน อาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุ วิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้ง ในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อ เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบ ชัดว่า อุปาทานอันเราครอบงำได้แล้วด้วยวิโมกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด เวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งใน ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทานอันเราครอบงำได้แล้วด้วยวิโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อ ความครอบงำอุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๙
ปริยาทานสูตรที่ ๒
[๖๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำ อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. โสตะ ... ฆาน ... ชิวหา ... กาย ... ใจ ... ธรรมารมณ์ ... มโน วิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุด พ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอวิชชาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อวิชชาสูตร ๒. สังโยชนสูตรที่ ๑ ๓. สังโยชนสูตรที่ ๒ ๔. อาสว- *สูตรที่ ๑ ๕. อาสวสูตรที่ ๒ ๖. อนุสัยสูตรที่ ๑ ๗. อนุสัยสูตรที่ ๒ ๘. ปริญญาสูตร ๙. ปริยาทานสูตรที่ ๑ ๑๐. ปริยาทานสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
มิคชาลวรรคที่ ๒
มิคชาลสูตรที่ ๑
[๖๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ผู้มีปรกติ อยู่ผู้เดียว ผู้มีปรกติอยู่ผู้เดียวฉะนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่ามี ปรกติอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่าอยู่ด้วยเพื่อน ๒ พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าว สรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมี ความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความ เพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่าผู้มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ฯลฯ ธรรมา- *รมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชัก ให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์ นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิดความ เพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัด กล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและ ความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหญ้าและป่าไม้ เงียบ เสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากลมแต่ชนเดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของมนุษย์ ผู้ต้องการสงัด สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่ามีปรกติ อยู่ด้วยเพื่อน ๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นยังมีตัณหาเป็นเพื่อน ๒ เขา ยังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ [๖๗] ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มี ความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุ ผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปรกติอยู่ผู้เดียว ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้ เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความ กำหนัดกล้า เมื่อไม่มีความกำหนัดกล้า ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุ ผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ ผู้เดียว ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวก ของเดียรถีย์ ในที่สุดบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ดูกร มิคชาละ เราเรียกผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะตัณหาซึ่งเป็นเพื่อน ๒ เธอละได้แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ฯ
จบสูตรที่ ๑
มิคชาลสูตรที่ ๒
[๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรง แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลิน จึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เรากล่าวว่า เพราะเกิดความเพลิดเพลิน จึงเกิดทุกข์ [๖๙] ดูกรมิคชาละรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่ หมกมุ่นรูปนั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าว สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะความ เพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ ฯ [๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละหลีกออกจากหมู่ อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ เพียร มีตนอันส่งไปแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี และท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
สมิทธิสูตรที่ ๑
[๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติ ว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มี อยู่ ณ ที่นั้น ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มี อยู่ ณ ที่นั้น ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯ [๗๒] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓
สมิทธสูตรที่ ๒
[๗๓] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๔
สมิทธิสูตรที่ ๓
[๗๔] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จะพึงเป็นทุกข์ หรือบัญญัติว่าทุกข์ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๕
สมิทธิสูตรที่ ๔
[๗๕] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นโลก หรือบัญญัติว่าโลก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร สมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มี อยู่ ณ ที่นั้น ฯ [๗๖] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลก หรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖
อุปเสนสูตร
[๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคและท่านพระสารีบุตร ท่านพระ อุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน ใกล้เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล อสรพิษตัวหนึ่งได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปเสนะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียง แล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้แล ประดุจกำแกลบ เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระ อุปเสนะว่า ความที่กายของท่านพระอุปเสนะเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระ อุปเสนะยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำไป ภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราย ณ ที่นี้ ประดุจกำแกลบเล่า ท่านพระอุปเสนะ กล่าวว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือ จักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน ดูกรท่านพระสารีบุตร เรา มิได้มีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร ฯ สา. จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ มมังการและมานา นุสัยได้เด็ดขาดเป็นเวลานานมาแล้ว ฉะนั้น ท่านพระอุปเสนะจึงไม่มีความตรึก อย่างนั้น ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นสู่เตียง นำไป ภายนอก กายของท่านพระอุปเสนะเรี่ยรายในที่นั้นเองประดุจกำแกลบ ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๗
อุปวาณสูตร
[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรม อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ [๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่ ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควร น้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ [๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ [๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ แล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภาย- *ใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความ กำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน ฯ [๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็น ผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มี ในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วย จักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด ในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล เป็น ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ [๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ [๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน ภายใน อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวย ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภาย ในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้ บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
จบสูตรที่ ๘
ผัสสายตนสูตรที่ ๑
[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ทราบชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ เป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายในศาสนานี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุด้วยอาการอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดี แล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ พ. เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๙
ผัสสายตนสูตรที่ ๒
[๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันภิกษุนั้นไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรม วินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้ เพราะ ข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของ เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๑ นี้จักเป็น อันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป ฯลฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอ ละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ผัสสายตนสูตรที่ ๓
[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรม วินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบมิคชาลวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิคชาลสูตรที่ ๑ ๒. มิคชาลสูตรที่ ๒ ๓. สมิทธิสูตรที่ ๑ ๔. สมิทธิสูตรที่ ๒ ๕. สมิทธิสูตรที่ ๓ ๖. สมิทธิสูตรที่ ๔ ๗. อุปเสนสูตร ๘. อุปวาณสูตร ๙. ผัสสายตนสูตรที่ ๑ ๑๐. ผัสสายตนสูตรที่ ๒ ๑๑. ผัสสายตนสูตรที่ ๓ ฯ
-----------------------------------------------------
คิลานวรรคที่ ๓
คิลานสูตรที่ ๑
[๘๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้น มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏนามและโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงอาศัยความเอ็นดู เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่า ภิกษุใหม่ และว่าเป็นไข้ ทรงทราบชัดว่าเป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร เสด็จ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะไว้ที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่ง บนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัส ถามภิกษุนั้นว่า เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลด น้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แก่กล้ายิ่งนัก ไม่ลดน้อยไปเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจ ไม่มีความเดือดร้อนไรๆ หรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อน ไม่น้อยเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ติเตียนตนเองโดยศีลบ้างหรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมี ความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าว่าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิ ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้วเพื่อคลายจากราคะ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่แสดงแล้ว เพื่อคลายจากราคะ ดูกรภิกษุ เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีความคลาย จากราคะเป็นความมุ่งหมาย ฯ [๘๙] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรม จักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๑
คิลานสูตรที่ ๒
[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน- *โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด ว่า เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะ ที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ ได้ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะ มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทา- *ปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ [๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
ราธสูตรที่ ๑
[๙๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ อะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุแลไม่เที่ยง เธอพึงละความ พอใจในจักษุนั้นเสีย รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย ฯลฯ ใจไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นๆ เสีย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละ- *ความพอใจในเวทนานั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแลไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๓
ราธสูตรที่ ๒
[๙๓] ดูกรราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึง ละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๔
ราธสูตรที่ ๓
[๙๔] ดูกรราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจใน สภาพนั้นเสีย อะไรเล่าไม่ใช่ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจ ในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย ดูกรราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๕
อวิชชาสูตรที่ ๑
[๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นนั้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึง ละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย ฯลฯ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯ
จบสูตรที่ ๖
อวิชชาสูตรที่ ๒
[๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือหนอแล ฯ พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละ อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น เธอย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวงโดยประการอื่น คือ เห็นจักษุโดยประการอื่น เห็นรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ฯลฯ เห็นใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชา จึงเกิดขึ้น ฯ
จบสูตรที่ ๗
ภิกขุสูตร
[๙๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกปริพาชก ผู้ถือลัทธิอื่นในโลกนี้แล ย่อมถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่ออะไรเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้ จึงพยากรณ์แก่ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เรา ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกถามแล้วอย่างนี้ พยากรณ์แล้วอย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุ แม้น้อยหนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนละหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว เมื่อพยากรณ์อย่างนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการกล่าวและ กล่าวตามที่ชอบแก่เหตุแม้น้อยหนึ่ง ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา ก็เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ถ้าพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ทุกข์ซึ่งพวกท่าน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส จักษุแลเป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้จักษุ เป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี พระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ฯลฯ ใจก็เป็นทุกข์ ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ข้อนั้นๆ อาวุโส ข้อนี้ นั้นแลเป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
โลกสูตร
[๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่า โลก พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโลก เพราะจะต้องแตกสลาย อะไรเล่าแตกสลาย ดูกรภิกษุ จักษุแลแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณ แตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แตกสลาย ฯลฯ ใจแตกสลาย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า โลก เพราะจะต้องแตกสลาย ฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๙
ผัคคุณสูตร
[๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระผัคคุณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะ บัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้นมีอยู่หรือหนอ ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัด ตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นมีอยู่หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๑๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำ วัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้น ไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้ เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพาน ล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นไม่มีเลย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบคิลานวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. คิลานสูตรที่ ๑ ๒. คิลานสูตรที่ ๒ ๓. ราธสูตรที่ ๑ ๔. ราธสูตร ที่ ๒ ๕. ราธสูตรที่ ๓ ๖. อวิชชาสูตรที่ ๑ ๗. อวิชชาสูตรที่ ๒ ๘. ภิกขุสูตร ๙. โลกสูตร ๑๐. ผัคคุณสูตร ฯ
ฉันนวรรคที่ ๔
ปโลกสูตร
[๑๐๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียก กันว่าโลกๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกกันว่า โลก พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรอานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกใน อริยวินัย ก็อะไรเล่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุแลมีความแตกสลายเป็น ธรรมดา รูปมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุวิญญาณมีความแตกสลายเป็น- *ธรรมดา จักษุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลาย เป็นธรรมดา ฯลฯ ใจมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความแตกสลาย เป็นธรรมดา มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความแตก สลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ดูกรอานนท์ สิ่งใดมี ความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย ฯ
จบสูตรที่ ๑
สุญญสูตร
[๑๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่าๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า อะไรเล่าว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน จักษุแลว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน รูป ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างเปล่าจากตน หรือจากของๆ ตน ฯลฯ ใจว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ธรรมารมณ์ ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่าจากตนหรือจาก ของๆ ตน ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า ฯ
จบสูตรที่ ๒
สังขิตสูตร
[๑๐๓] ฯลฯ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม- *สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม- *จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก
จบสูตรที่ ๓
ฉันนสูตร
[๑๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่าน พระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้นแล ท่านพระ ฉันนะอาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระ- *สารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะว่า ดูกรท่านจุนทะ เราจงพากันเข้าไปหาท่าน พระฉันนะ ถามถึงความเป็นไข้เถิด ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ เข้าไปหาท่านพระฉันนะถึงที่ อยู่ แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านฉันนะ ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ลดลง ไม่กำเริบขึ้น ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ [๑๐๕] ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเหล็ก แหลมคมทิ่มศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเข้ากระทบที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเอาเส้นเชือกหนังอันเหนียวขันที่ศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเสียดแทงที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนนายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ขยัน เอามีดสำหรับแล่เนื้อ โคที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงท้องของกระผม ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า คนละแขน ลนให้เร่าร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของ กระผมก็มากยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระ สารีบุตร กระผมจักนำศาตรามา ไม่ปรารถนาเป็นอยู่ ดังนี้แล้ว ก็นำศาตรามา ฯ [๑๐๖] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านพระฉันนะจงเยียวยาอัตภาพให้ เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ถ้าโภชนะเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าเภสัชเป็น ที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าพวกอุปัฏฐากที่สมควร มิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านพระฉันนะอย่านำศาตรามาเลย จงเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยา อัตภาพให้เป็นไปอยู่ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โภชนะ เป็นที่สบายของกระผมมิใช่ไม่มี โภชนะเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก เป็นที่สบายของกระผมก็มิใช่ไม่มี เภสัชเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก ที่สมควรของกระผมมิใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่สมควรของกระผมมีอยู่ ก็พระศาสดาอัน กระผมบำเรอแล้วด้วยอาการเป็นที่พอใจอย่างเดียว ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอ ใจตลอดกาลนานมา ข้อที่พระสาวกบำเรอพระศาสดาด้วยอาการเป็นที่พอใจ ไม่ บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจ นี้สมควรแก่พระสาวก ความบำเรอนั้นไม่เป็นไป ฉันนภิกษุจักนำศาตรามา ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ ดังนี้เถิด ฯ [๑๐๗] สา. เราทั้งหลายขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ ถ้าท่าน พระฉันนะให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา ฯ ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้ทราบ ฯ สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณและธรรม ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน ของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ หรือ ฯ ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และ ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ [๑๐๘] สา. ดูกรท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณา เห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้ อย่างไรในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ [๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในจักษุ ในจักขุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึง พิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน วิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วย มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ [๑๑๐] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว กะท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล แม้ความพิจารณาเห็นนี้ เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็น นิตย์ไป ความหวั่นไหวของบุคคลที่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ ยังมีอยู่ ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ เมื่อความ หวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน เมื่อไม่มี ความเพลิดเพลิน ความมาความไปก็ไม่มี เมื่อความมาความไปไม่มี จุติและอุปบัติ ก็ไม่มี เมื่อจุติและอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มี และระหว่างโลกทั้งสอง ก็ไม่มี นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา จุนทะ ครั้นกล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อท่านทั้งสองหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำศาตรามา ฯ [๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะนำศาตรามาแล้ว ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่เข้าไป อันฉันนภิกษุพยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่ หรือ ฯ สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะมีอยู่ สกุล ที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายในวัชชีคามนั้น เป็นสกุลที่ท่านพระฉันนะเข้าไป มีอยู่ ฯ พ. ดูกรสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็น สกุลที่พระฉันนภิกษุเข้าไป มีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึง เข้าไปด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ละทิ้งกายนี้ด้วย เข้าถือกายอื่นด้วย เรา กล่าวภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่ตนพึงเข้าไป สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุ มิได้เข้าไป ศาตราอันฉันนภิกษุนำมาแล้ว ดูกรสารีบุตร เธอพึงทรงจำความนี้ไว้ อย่างนี้ดังนี้เถิด ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปุณณสูตร
[๑๑๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่- *ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่ ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็เกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความ เพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ ยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็บังเกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความเพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯ [๑๑๓] ดูกรปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าว สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลิน ดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูกรปุณณะ ด้วยประการฉะนี้ เธอนั้นจึง ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ฯ [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่เบาใจในธรรมนี้ เพราะข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และความสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนี้ จักษุเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๑ นี้เป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนั้น ใจจักเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๖ นี้ จักเป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อความ ไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรปุณณะ ดีละ เธออันเรากล่าวสอนแล้ว ด้วยโอวาทอันย่อนี้ จักอยู่ในชนบทไหน ฯ ท่านพระปุณณเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ชนบทชื่อสุนาปรันตะมีอยู่ ข้าพระ- *องค์จักอยู่ในชนบทนั้น ฯ [๑๑๕] พ. ดูกรปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย หยาบ คายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ ในข้อนั้น เธอ จักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จัก บริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ชาว สุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยมือ ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย มือเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยมือไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ ชาวสุนาปรันตชนบทเจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยก้อนดิน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ก้อนดินเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยก้อนดินไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วย ท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ท่อนไม้เล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยศาตรา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ศาตราเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยศาตราไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ปลงเราเสียจากชีวิต ด้วยศาตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ [๑๑๖] พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงเธอ เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลง ข้าพระองค์เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด อย่างนี้ว่า พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคนั้น อึดอัดระอาเกลียดชังอยู่ด้วย กายและชีวิต ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิตเสีย มีอยู่ ศาตราสำหรับปลง ชีวิตที่เราแสวงหาอยู่นั้น เราได้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์ จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะเช่นนี้ จักอาจอยู่ ในสุนาปรันตชนบทได้ บัดนี้ เธอย่อมรู้กาลอันควรไปได้ ฯ [๑๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี- พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เก็บ เสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อเที่ยวจาริก ไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงสุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนา- ปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้นแล ในระหว่างพรรษานั้น ท่านพระปุณณะให้ชาว- สุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ได้ทำวิชชา ๓ ให้แจ้ง และปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อว่าปุณณะที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระ โอวาทอย่างย่อนั้น ทำกาละแล้ว กุลบุตรนั้นมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะ เป็น บัณฑิต กล่าวคำจริง กล่าวธรรมสมควรแก่ธรรม มิได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะปรินิพพานแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๕
พาหิยสูตร
[๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระพาหิยะกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรพาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้ มี ฯ [๑๑๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตร ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควร ทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มีได้มี ก็แหละท่านพระพาหิยะได้ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๖
เอชสูตรที่ ๑
[๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้นแล ตถาคตเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่ จักษุ ไม่พึงสำคัญว่าจักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูป ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญใน จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย... ไม่พึงสำคัญ ซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลาย ... ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในมโน วิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณของเรา ไม่ พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่ามโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง สำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน- *สัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่พึง สำคัญในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญแต่สิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญว่า สิ่งทั้งปวงของเรา เธอนั้นเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจ ที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๑๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็น โรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้นแล ตถาคตย่อมเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศร เพราะเหตุนั้น แล ถึงแม้ภิกษุก็พึงหวังว่าเราพึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๗
เอชสูตรที่ ๒
[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญ ในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูป ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่ พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่ง จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญในจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมยินดี ภพนั่นแหละ ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ ฯลฯ ไม่พึง สำคัญซึ่งชิวหา ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญ ในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึง สำคัญในมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณ ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่ มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า มโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกข เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญ ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญ ว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้อง อยู่ในภพ ย่อมยินดีภพนั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญในขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะของเรา เธอเมื่อไม่ สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อ ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๘
ทวยสูตรที่ ๑
[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงส่วน สองแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ส่วนสองเป็นไฉน คือ จักษุ และรูป ๑ โสตะและเสียง ๑ ฆานะและกลิ่น ๑ ชิวหาและรส ๑ กาย และโผฏฐัพพะ ๑ ใจและธรรมารมณ์ ๑ นี้เรียกว่าส่วนสอง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกเลิกส่วนสองนั้นเสียแล้ว จักบัญญัติ ส่วนสองเป็นอย่างอื่น วาจาของบุคคลนั้นเป็นเรื่องของเทวดา ฯ ก็บุคคลนั้นถูก เขาถามเข้าแล้วก็อธิบายไม่ได้ และถึงความอึดอัดยิ่งขึ้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ
จบสูตรที่ ๙
ทวยสูตรที่ ๒
[๑๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็นอย่างไร จักษุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่าง นี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น จักษุ วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยงจักเป็น ของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าจักษุสัมผัส ฯ [๑๒๕] ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็น ของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก อัน ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ลิ้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น รสไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ชิวหา วิญญาณ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ พร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าชิวหาสัมผัส ฯ [๑๒๖] แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่าง อื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะ กระทบแล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น ฯลฯ มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ใจไม่เที่ยง มี ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปร ปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัย อันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความ ประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรม ๓ ประการนี้แล เรียกว่ามโนสัมผัส ฯ [๑๒๗] แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัย อันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบ แล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วนสองอย่าง ด้วยประการ ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบฉันนวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปโลกสูตร ๒. สุญญสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. ฉันนสูตร ๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร ๗. เอชสูตรที่ ๑ ๘. เอชสูตรที่ ๒ ๙. ทวย สูตรที่ ๑ ๑๐. ทวยสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
ฉฬวรรคที่ ๕
สังคัยหสูตรที่ ๑
[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่ รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อม นำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์ บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่ บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง บรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่ น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่ พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่ เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ
จบสูตรที่ ๑
สังคัยหสูตรที่ ๒
[๑๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรมาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวก ทหรภิกษุทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น ฯ [๑๓๒] มา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรด แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้ถึงพระภาษิตของพระผู้มี- *พระภาค พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฯ พ. ดูกรมาลุกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่พึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็นในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคยได้ฟังแล้ว ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี ความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคยได้ดม แล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้ลิ้มแล้ว ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว ทั้ง ไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราถูกต้อง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในโผฏฐัพพะ เหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้งไม่ได้ เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ [๑๓๓] พ. ดูกรมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ใน อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจัก เป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว เธอจักเป็น เพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูก โทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพัน ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือในธรรมารมณ์ที่ได้ รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสอง ก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม ที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า [๑๓๔] สติหลงไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็น นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนก ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติ หลงไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็น นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนก ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ สั่งสมทุกข์อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลง ไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิต ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์ อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรสเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิต กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิต ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนก ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึง ธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์ เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสา เข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน ฯ [๑๓๕] บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มี จิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไป และไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้ นิพพาน บุคคลนั้นได้ฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียง ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความ ติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวย เวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้น เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้ว มีสติไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้น เมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้น ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคล นั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม ทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่ สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคล นั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต กล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่ กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์ นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการฉะนี้ ฯ [๑๓๖] พ. ดูกรมาลุกยบุตร สาธุๆ เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เรา กล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า [๑๓๗] สติหลงไปเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิต ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และ มีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสม ทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ [๑๓๘] บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าว ว่าใกล้นิพพาน ฯ ดูกรมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้โดย พิสดารอย่างนี้แล ฯ [๑๓๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้ มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้ง นั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด เยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกย บุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๒
ปริหานสูตร
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหาน ธรรม อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง เถิด ก็ปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็น รูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรส ด้วยลิ้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมี อย่างนี้แล ฯ [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร อกุศลบาป ธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนา นี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรส ด้วยลิ้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หาย ไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้ มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมย่อมมี อย่างนี้แล ฯ [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ ๖ เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่ เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะ นี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มี พระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อภิภายตนะ ๖ ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปมาทวิหารีสูตร
[๑๔๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท และภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ ประมาท เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึง รู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่ มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้ มีความลำบาก ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้ จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์ จิตย่อมแส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความ ประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในธรรมา- *รมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อ ปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุ นั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรม ทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็น ผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ด้วยประการฉะนี้ ฯ [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร เมื่อ ภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อ ภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มี ความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลาย ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ เมื่อภิกษุมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็ เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของ ภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรม ทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
สังวรสูตร
[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสังวรและอสังวรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังวรย่อมมีอย่างไร รูปทั้งหลายที่พึง รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อม เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้า ภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อม เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ข้อนั้น ภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วย ประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
สมาธิสูตร
[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไรตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่ เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่ เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๖
ปฏิสัลลีนสูตร
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบ ความเพียรเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้ อะไรตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็น จริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตาม ความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่ เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโน- *สัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ตามความ เป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๗
นตุมหากสูตรที่ ๑
[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูป นั้นเสีย รูปนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุวิญญาณนั้นเสีย จักษุ วิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุสัมผัส ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุสัมผัสนั้นเสีย จักษุสัมผัสนั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขนั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข ฯลฯ ใจไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจ นั้นเสีย ใจนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโนวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้นเสีย มโน วิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโน- *สัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้นเสีย มโนสัมผัส นั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และ ใบไม้ อันมีที่วิหารเชตวันนี้ หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ชนนำไปบ้าง เผา เสียบ้าง ทำให้เป็นไปตามปัจจัยบ้าง เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า เราทั้งหลาย ชนนำไปบ้าง เผาเสียบ้าง ทำให้เป็นไปตามปัจจัยบ้าง ฯ ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ฯ ภิ. เพราะหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้นั้น ไม่ใช่ตน หรือไม่ใช่ของ แห่งตนของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นฉันใด ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอทั้งหลายละเสีย แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ... จักษุ วิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๘
นตุมหากสูตรที่ ๒
[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อ ความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุวิญญาณไม่ใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุวิญญาณนั้นเสีย จักษุวิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละ เสียแล้วจักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละจักษุสัมผัสนั้นเสีย จักษุสัมผัสนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฯลฯ ใจไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นเธอทั้งหลาย ละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโนวิญญาณไม่ใช่ ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้นเสีย มโนวิญญาณนั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโนสัมผัสไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้นเสีย มโนสัมผัสนั้นเธอ ทั้งหลายละเสีย จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง ละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๙
อุทกสูตร
[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า อุทกดาบสรามบุตร ย่อมกล่าววาจา อย่างนี้ว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ ชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดเสียแล้วซึ่งมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุด ไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทกดาบสรามบุตรยังเป็นผู้ไม่ถึงซึ่งเวทก็ กล่าวว่าเราเป็นผู้ถึงซึ่งเวท ยังเป็นผู้ไม่ชนะก่อน ก็กล่าวว่าเราเป็นผู้ชนะก่อน ยัง ไม่ได้ขุดมูลรากแห่งทุกข์ ก็กล่าวว่า เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ได้แล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะกล่าวข้อนั้นโดยชอบ ควรกล่าวว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อม เป็นผู้ถึงซึ่งเวทอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ถึงซึ่งเวทอย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้ชนะก่อนอย่างไร ภิกษุรู้แจ้งตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น ภิกษุย่อมเป็น ผู้ชนะก่อนอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้ อันภิกษุ ขุดได้แล้วอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "คัณฑะ" นี้ เป็นชื่อของกายนี้ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตขึ้นเพราะ ข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี นวดฟั้น แตกสลายกระจัดกระจาย เป็นธรรมดา คำว่า "คัณฑมูล" นี้ เป็นชื่อของตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ภิกษุละเสียแล้ว ให้มีรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งทุกข์ที่ใครๆ ขุด ไม่ได้ ภิกษุขุดเสียแล้วอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า อุทกดาบส- *รามบุตร ย่อมกล่าววาจาอย่างนี้ว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดเสียแล้วซึ่งมูลราก แห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทกดาบสรามบุตรยัง เป็นผู้ไม่ถึงซึ่งเวท ก็กล่าวว่า เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวท ยังเป็นผู้ไม่ชนะก่อน ก็กล่าวว่า เราชนะก่อน ยังขุดมูลรากแห่งทุกข์ไม่ได้ ก็กล่าวว่า เราขุดมูลรากแห่งทุกข์เสีย แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะกล่าวข้อนี้โดยชอบ ควรกล่าวว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบฉฬวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังคัยหสูตรที่ ๑ ๒. สังคัยหสูตรที่ ๒ ๓. ปริหานสูตร ๔ ปมาทวิหารีสูตร ๕. สังวรสูตร ๖. สมาธิสูตร ๗. ปฏิสัลลีนสูตร ๘. นตุมหากสูตรที่ ๑ ๙. นตุมหากสูตรที่ ๒ ๑๐. อุทกสูตร
รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์ คือ
๑. อวิชชาวรรค ๒. มิคชาลวรรค ๓. คิลานวรรค ๔. ฉันนวรรค ๕. ฉฬวรรค ฯ
จบทุติยปัณณาสก์
-----------------------------------------------------
โยคักเขมีวรรคที่ ๑
โยคักเขมีสูตร
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่ง บุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมปริยาย อันเป็นเหตุแห่งบุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะเป็นไฉน ธรรมปริยายอันเป็นเหตุ แห่งบุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควรประกอบเพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียร ที่ควรประกอบเพื่อละธรรมารมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่ง บุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะ ฯ
จบสูตรที่ ๑
อุปาทายสูตร
[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมี สุขและ ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเหตุ ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุ ฯลฯ เมื่อใจมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขและ ทุกข์อันเป็นภายใน พึงเกิดขึ้นเพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขและ ทุกข์อันเป็นภายใน พึงเกิดขึ้นเพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒
ทุกขสูตร
[๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน ความเกิดแห่งทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรมทั้ง ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้เป็น ความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้แลเป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯ [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความดับแห่ง ทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล นี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและ ธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้น แลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
โลกสูตร
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน ความเกิดแห่งโลกนั้น คือ อาศัย จักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็น ปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสนี้เป็นความเกิดแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึง เกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิด อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน ความดับแห่ง โลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เป็นความดับแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและ ธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้น แลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔
เสยยสูตร
[๑๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมี เพราะยึดมั่นอะไร ถือมั่นอะไร จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเหตุ ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี เพราะยึดมั่นจักษุ ถือมั่นจักษุ จึง มีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯลฯ เมื่อใจมี เพราะยึดมั่นใจ ถือมั่นใจ จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่น สิ่งนั้นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่า เลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่น สิ่งนั้นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลว กว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕
สังโยชนสูตร
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์และ สังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์เป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือ จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่ง สังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุนั้น เป็นสังโยชน์ในจักษุ นั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในใจนั้น เป็นสังโยชน์ในใจนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรม เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ ฯ
จบสูตรที่ ๖
อุปาทานสูตร
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่งอุปาทานและ อุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานเป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือ จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่ง อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุนั้น เป็นอุปาทานในจักษุ นั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในใจนั้น เป็นอุปาทานในใจนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรม เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทาน ฯ
จบสูตรที่ ๗
อปริชานสูตรที่ ๑
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละ จักษุ ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละใจ ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละจักษุ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละใจ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่ กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่ กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมไม่ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละรูป ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อม ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๘
อปริชานสูตรที่ ๒
[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่ หน่าย ไม่ละเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่ควรเพื่อ ความสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละรูป ย่อมควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อุปัสสุติสูตร
[๑๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนัก ซึ่งมุง ด้วยกระเบื้อง ของหมู่พระประยูรญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับพักผ่อน อยู่ในที่สงัด ได้ทรงภาษิตธรรมปริยายนี้ว่า อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็น ปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจและ ธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ฯ [๑๖๔] อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นแล้ว ตรัสถามเธอว่า ดูกรภิกษุ เธอ ได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจงเรียน จงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้เถิด เพราะว่าธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบโยคักเขมิวรรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โยคักเขมิสูตร ๒. อุปาทายสูตร ๓. ทุกขสูตร ๔.โลกสูตร ๕. เสยยสูตร ๖. สังโยชนสูตร ๗. อุปาทานสูตร ๘. อปริชานสูตรที่ ๑ ๙. อปริชานสูตรที่ ๒ ๑๐. อุปัสสุติสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
โลกกามคุณวรรคที่ ๒
มารปาสสูตรที่ ๑
[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิด เพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ใน อำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วง ทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อัน น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หาก ภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ ของมาร ตกอยู่ในอำนาจ ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มี บาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯ [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิด เพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้น อันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำตาม ความปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชัก ให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของ มาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำ ตามความปรารถนาไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
มารปาสสูตรที่ ๒
[๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิด เพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในรูป ไปสู่ที่อยู่ ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ ไปสู่ที่อยู่ของ มาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา ฯ [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิด เพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากรูป ไม่ไปสู่ ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากธรรมารมณ์ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนา ไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
โลกกามคุณสูตรที่ ๑
[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่ง โลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นกล่าวกันว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอุเทศข้อนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้ พิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อ ความแห่งอุเทศที่แสดงทรงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดาร ได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า ท่านพระอานนท์นี้พระศาสดา และเพื่อน สพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านย่อมสามารถเพื่อจำแนก เนื้อความแห่งอุเทศ ที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วเรียน ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ฯ [๑๗๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอุเทศข้อนี้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จ ลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกผม จึงใคร่ครวญดูว่า ใครหนอจะช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ พวกผมจึงคิด ได้ว่า ท่านพระอานนท์นี้ อันพระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านพระอานนท์นี้ย่อมสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดย พิสดารได้ ถ้ากระไร เราพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถาม เนื้อความข้อนั้นกะท่าน ขอท่านพระอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ฯ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้อง การแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับล่วงเลยรากล่วงเลยลำต้น แห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มาสำคัญแก่นไม้ที่จะพึง แสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น คือ พวกท่านล่วงเลยพระผู้มี พระภาคผู้ประทับอยู่เฉพาะหน้า ในฐานะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายไปเสีย มา สำคัญเนื้อความที่จะไต่ถามนี้ (กะผม) แท้จริง พระผู้มีพระภาคนั้น เมื่อทรง ทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้ เป็นกาล สมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่ ท่านทั้งหลายอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ ภิ. ดูกรท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี พระภาคเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มี พระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึง ธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกผมอย่างใด พวกผมควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น ก็แต่ว่าท่านอานนท์ก็เป็นผู้ที่พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่อง สรรเสริญ ทั้งท่านก็สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอท่าน อย่าได้หนักใจ โปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด ฯ [๑๗๑] อา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จงคอยฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระ อานนท์จึงกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดย ย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เสียนั้น ผมทราบแล้ว ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร ได้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วย ธรรมอันใด ธรรมนี้เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยะ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอะไรเล่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยจักษุ ... ด้วยหู... ด้วยจมูก... ด้วยลิ้น... ด้วยกาย... ด้วยใจ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอันใด ธรรมนี้เรียก ว่าโลกในวินัยของพระอริยะ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่า เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของ โลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่ พระวิหารเสียนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ท่านผู้มี อายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามเนื้อความข้อนั้นเถิด พระองค์ทรงพยากรณ์แก่พวกท่านอย่างไร ก็พึง ทรงจำข้อที่ตรัสนั้นอย่างนั้นเถิด ฯ [๑๗๒] ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ ให้พิสดารแก่พวกข้าพระองค์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลก อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระ วิหารเสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์คิดกันว่า พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอจะจำแนกเนื้อความแห่ง อุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงแสดงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น พวกข้าพระองค์มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้เป็นผู้ที่พระศาสดาและ เพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งสามารถเพื่อจะจำแนกเนื้อ ความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้ พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไรพวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ครั้นคิดดังนั้นแล้ว พวกข้าพระองค์ก็ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ท่านพระ อานนท์ก็จำแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญา มาก หากท่านทั้งหลายพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เราก็พึงแก้ปัญหานั้น เหมือนอย่างที่อานนท์กล่าวแก้ปัญหานั้นแหละ นั่นเป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด ฯ
จบสูตรที่ ๓
โลกกามคุณสูตรที่ ๒
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกว่า เบญจกามคุณของเราที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมา แล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้น ในเบญจกามคุณที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย ลำดับนั้น เราคิดว่า เบญจกามคุณของเราที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว เราปรารถนาประโยชน์แก่ตน พึงทำความไม่ประมาทในเบญจ- *กามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ แม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไป แล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของท่านทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในเบญจกามคุณ ที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย (เช่นเดียวกัน) เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณแม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วง ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ท่านทั้งหลายปรารถนาประโยชน์แก่ตน พึงทำความไม่ประมาทในเบญจกามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต แล้ว พระองค์ตรัสต่อไปอีกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะอัน บุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น หูดับ ณ ที่ใด สัททสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น จมูกดับ ณ ที่ใด คันธสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ลิ้นดับไป ณ ที่ใด รสสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น กายดับ ณ ที่ใด โผฏ- *ฐัพพสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นมีความคิดว่า พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่า เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะอันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูป สัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ดังนี้ แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอจะจำแนกเนื้อความ แห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดว่าท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่ พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านสามารถ จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อ ความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ถึงที่อยู่ แล้วพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ฯ [๑๗๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศนี้แก่พวกผมโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุก ขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกผม จึงใคร่ครวญว่า ใครหนอจะช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ พวกผมจึงคิด ได้ว่า ท่านพระอานนท์นี้เป็นผู้อันพระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งสามารถเพื่อจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร เรา พึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ขอท่าน พระอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับ ล่วงเลยราก ล่วงเลยลำต้น แห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มาสำคัญแก่นไม้ที่จะพึงแสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น คือ พวกท่านล่วงเลยพระผู้มีพระภาคผู้ประทับอยู่เฉพาะหน้า ในฐานะเป็นศาสดาของ ท่านทั้งหลายไปเสีย มาสำคัญเนื้อความที่จะไต่ถามนี้กะผม แท้จริง พระผู้มี พระภาคเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มีพระ จักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรง แก้ปัญหาแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น เถิด ฯ ภิ. ดูกรท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี พระภาคเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มี พระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึง ธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกผมอย่างใด พวกผมก็ควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่าง นั้น ก็แต่ว่า ท่านอานนท์เป็นผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านก็สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอ ท่านอย่าได้หนักใจ โปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด ฯ [๑๗๕] อา. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย นั้น ผมทราบแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดง โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระพุทธวจนะนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงภาษิต หมายเอาความดับแห่งอายตนะ ๖ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ผมรู้เนื้อความแห่งอุเทศที่ทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ทูลถามเนื้อความข้อนั้น พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านทั้งหลาย พึงทรงจำข้อที่ตรัสนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ [๑๗๖] ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ ให้พิสดารแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหารเสีย เมื่อ พระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงใคร่ครวญดูว่า... ใครหนอจะ ช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร นี้ โดยพิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านสามารถจะจำแนกเนื้อ ความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร ได้ ถ้ากระไร เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อ ความข้อนั้นกะท่านเถิด ครั้นคิดฉะนี้แล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายก็เข้าไปหาท่านพระ อานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ท่านพระอานนท์ก็จำแนกเนื้อ ความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่า นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก หากท่านทั้งหลายพึงถามเนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เราพึงพยากรณ์ปัญหานั้น เหมือนอย่างที่อานนท์พยากรณ์แล้วนั้นแหละ นั่นเป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ
จบสูตรที่ ๔
สักกสูตร
[๑๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้ พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย เสด็จเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้ แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิด- *เพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทาน อันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน ให้กำหนัดมี อยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อ เธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๗๙] ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิด- *เพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่ พัวพันรูปนั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๕
ปัญจสิขสูตร
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้ พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ปัญจสิขเทพบุตรผู้เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานใน ปัจจุบัน เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ [๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุยังมี อุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๘๒] ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่า ใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะ พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอัน อาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๖
สารีปุตตสูตร
[๑๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหา ท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะ ท่านพระสารีบุตรว่า ท่านผู้มีอายุสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านลาสิกขา สึกเสียแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ ผู้ที่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณใน โภชนะ ไม่ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็น ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๘๔] ดูกรผู้มีอายุ ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ- *พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม แล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล ฯ [๑๘๕] ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อ เล่น ไม่ฉันเพื่อเมามัว ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ย่อมฉันเพียงเพื่อ ความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่อ จะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า เพราะเหตุที่ฉันอาหารนี้ เราจักกำจัด เวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายเป็นไปได้นาน ความไม่มีโทษและความอยู่สำราญจักมีแก่เรา ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะอย่างนี้แล ฯ [๑๘๖] ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการ เดิน ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ในมัชฌิมยามแห่งราตรี สำเร็จ สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำในใจถึง สัญญาที่จะลุกขึ้น รีบลุกขึ้นในปัจฉิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม อันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความ เพียรอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็น ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ จักเป็นผู้ประกอบ ความเพียร ดูกรผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
ราหุลสูตร
[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็น เครื่องบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราควรแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่ สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไปเถิด ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร สาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกพระท่าน ราหุลมาตรัสว่า ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักผ่อน ในกลางวัน ฯ ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตาม เสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างหลัง ก็สมัยนั้น พวกเทวดาหลายพันติดตามพระผู้มี พระภาคไปด้วยคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรม เป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป ฯ [๑๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับ ณ พุทธอาสน์ที่พระราหุลปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวาย อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค จึงตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่ เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิต นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่าย เทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๘
สังโยชนสูตร
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปนั้น เป็นตัวสังโยชน์ในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์ นั้น เป็นตัวสังโยชน์ในธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
อุปาทานสูตร
[๑๙๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทานเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปนั้น เป็นตัวอุปาทานในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียก ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์ นั้น เป็นตัวอุปาทานในธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบโลกกามคุณวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มารปาสสูตรที่ ๑ ๒. มารปาสสูตรที่ ๒ ๓. โลกกามคุณสูตรที่ ๑ ๔. โลกกามคุณสูตรที่ ๒ ๕. สักกสูตร ๖. ปัญจสิขสูตร ๗. สารีปุตตสูตร ๘. ราหุลสูตร ๙. สังโยชนสูตร ๑๐. อุปาทานสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
คหปติวรรคที่ ๓
เวสาลีสูตร
[๑๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่า มหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ได้เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลก นี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูป ทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพันรูปนั้น เมื่อ ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพัน ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุ ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๙๒] ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๑
วัชชีสูตร
[๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หัตถิคามใกล้แคว้น วัชชี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถิคาม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน ปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพาน ในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคล พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน ให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์ นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณ อันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดีเหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่ หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๒
นาฬันทสูตร
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัย อะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไรเป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มี พระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุ เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทาน อันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่ หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๓
ภารทวาชสูตร
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหารโฆสิ- *ตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่าน พระบิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ครั้น ผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เหตุ ปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผม ดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่าน พระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็น พี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรี ปูนธิดา ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงใน กามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้ นาน ฯ [๑๙๖] อุ. ท่านภารทวาชะผู้เจริญ จิตเป็นธรรมชาติโลเลบางคราว ธรรมคือ ความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูนพี่สาว น้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จน ตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณา กายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่ โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ขอ ถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกาม ทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ [๑๙๗] อุ. ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายอันอบรม แล้ว เป็นผู้มีศีลอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญาอันอบรม แล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น ไม่เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ส่วน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้ มีจิตยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญายังไม่ได้อบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ บางคราวเมื่อบุคคล ตั้งใจอยู่ว่า เราจักทำไว้ในใจโดยความเป็นของไม่งาม แต่อารมณ์ย่อมมาโดย ความเป็นของงามก็มี มีไหมหนอแล ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้ออื่นที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาเถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด เธอทั้งหลาย เห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์ เธอทั้งหลายฟังเสียงด้วยหูแล้ว... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรส ด้วยลิ้นแล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อ ความสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ จงถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกาม ทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ [๑๙๘] อุ. น่าอัศจรรย์ ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ไม่เคยมีแล้ว ท่าน ภารทวาชะผู้เจริญ ตามกำหนดธรรมปริยายนี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้อนี้แล เป็น เหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังเป็นผู้ไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ใน สมัยใด แม้ข้าพเจ้าเอง มีกายมิได้รักษาแล้ว มีวาจามิได้รักษาแล้ว มีจิตมิได้ รักษาแล้ว มีสติมิได้ตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายมิได้สำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายย่อมครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่าน ภารทวาชะผู้เจริญ แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอันรักษาแล้ว มีวาจาอัน รักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิต ของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่าน ภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด ฯ
จบสูตรที่ ๔
โสณสูตร
[๑๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่า โสณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบัน และเหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพาน ในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มีอยู่แล คฤหบดีบุตร ฯลฯ (เหมือน สูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๑ และ ๑๙๒)
จบสูตรที่ ๕
โฆสิตสูตร
[๒๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม ใกล้ พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล โฆสิตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าความ แตกต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสความแตกต่างแห่งธาตุไว้ด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไรหนอแล ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรคฤหบดี มีอยู่แล จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจและจักขุวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อัน เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันไม่น่าพอใจและจักขุ วิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาและจักขุวิญญาณ อทุก- *ขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี โสตธาตุ ... ฆานธาตุ ... ชิวหาธาตุ ... กายธาตุ ... มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันน่าพอใจและมโนวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์ อันไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุเบกขาและมโนวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ความต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑-๓๐๑๑ หน้าที่ ๑-๑๓๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=1&Z=3011&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1-200] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=1&items=200              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [1-200] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=1&items=200              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i001-e.php# https://suttacentral.net/sn35.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.1/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :