ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สังวรสูตร
[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสังวรและอสังวรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังวรย่อมมีอย่างไร รูปทั้งหลายที่พึง รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๗.

มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อม เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้า ภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อม เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ข้อนั้น ภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วย ประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๒๐๐๕-๒๐๒๗ หน้าที่ ๘๖-๘๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=2005&Z=2027&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=78              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=145              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [145-146] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=145&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=762              The Pali Tipitaka in Roman :- [145-146] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=145&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=762              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i128-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn35.98/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.98/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :