ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
             [๗๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ อชปาลนิโครธ แทบ
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตก
ขึ้นในพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วง
ความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อ
ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์
และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.
             [๗๕๕] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกในพระหฤทัยของพระผู้มีพระ-
*ภาคแล้วด้วยใจ จึงหายตัวจากพรหมโลก มาปรากฏเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เหมือน
บุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่งประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลว่า.
             [๗๕๖] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความ
โศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำ
นิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางนี้เป็นทางไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของ
สัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.
             [๗๕๗] ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กราบทูลนิคมคาถาต่อ
ไปอีกว่า
                          พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วย
                          ประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็นที่ไปอันเอก ในกาลก่อน ชนทั้งหลาย
                          ข้ามโอฆะได้แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคตก็จักข้ามด้วยทางนี้ และในบัดนี้
                          ก็ข้ามอยู่ด้วยทางนี้.
จบ สูตรที่ ๘
เสทกสูตรที่ ๑
ผู้รักษาผู้อื่นชื่อว่ารักษาตน

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๔๒๔-๔๔๕๕ หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4424&Z=4455&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=148              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=754              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [754-758] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=754&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6557              The Pali Tipitaka in Roman :- [754-758] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=754&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6557              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn47.18/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.18/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :