ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
กถาวัตถุสูตร
[๕๐๗] ๖๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ อย่างหนึ่ง ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ พูดถ้อยคำปรารภถึงอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้ ๑ พูด ถ้อยคำปรารภถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้ ๑ พูดถ้อยคำปรารภถึง ปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลย่อมมีอย่างนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จะพึงทราบบุคคล ว่า ควรพูดหรือไม่ควรพูด ก็ด้วยประชุมสนทนากัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคล ถูกถามปัญหา ไม่เฉลยโดยส่วนเดียว ซึ่งปัญหาที่ควรเฉลยโดยส่วนเดียว ไม่ จำแนกเฉลย ซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกเฉลย ไม่สอบถามเฉลย ซึ่งปัญหาที่ควร สอบถามเฉลย ไม่หยุดปัญหาที่ควรหยุด เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ ควรพูด ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา ย่อมเฉลยโดยส่วนเดียว ซึ่งปัญหาที่ควรเฉลยโดยส่วนเดียว ย่อมจำแนกเฉลย ซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกเฉลย ย่อมสอบถามเฉลย ซึ่งปัญหาที่ควรสอบถามเฉลย ย่อมหยุดปัญหาที่ควรหยุด เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จะพึงทราบบุคคลผู้ ควรพูดหรือไม่ควรพูด ก็ด้วยประชุมสนทนากัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลเมื่อ ถูกถามปัญหา ไม่ดำรงอยู่ในฐานะและอฐานะ ไม่ดำรงอยู่ในปริกัป ไม่ดำรงอยู่ ในวาทะที่ควรรู้ทั่วถึง ไม่ดำรงอยู่ในปฏิปทา เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ ไม่ควรพูด แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา ดำรงอยู่ในฐานะและอฐานะ ดำรงอยู่ ในปริกัป ดำรงอยู่ในวาทะที่ควรรู้ทั่วถึง ดำรงอยู่ในปฏิปทา เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จะพึงทราบบุคคลว่า ควรพูดหรือไม่ ควรพูด ก็ด้วยประชุมสนทนากัน ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา พูดกลบเกลื่อน พูด นอกเรื่องนอกราว แสดงความโกรธ ความขัดเคืองและความเสียใจให้ปรากฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา ไม่ พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่องนอกราว ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคืองและ ความเสียใจให้ปรากฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าควรพูด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จะพึงทราบบุคคลว่า ควรพูดหรือไม่ควรพูด ก็ด้วยประชุมสนทนากัน ถ้าบุคคล ถูกถามปัญหา พูดฟุ้งเฟ้อ พูดวุ่นวาย หัวเราะเยาะ คอยจับผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา ไม่พูดฟุ้งเฟ้อ ไม่ พูดวุ่นวาย ไม่หัวเราะเยาะ ไม่คอยจับผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็น ผู้ควรพูด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบบุคคลว่า มีอุปนิสัยหรือว่าไม่มีอุปนิสัย ก็ ด้วยประชุมสนทนากัน ผู้ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนไม่มีอุปนิสัย ผู้ที่เงี่ยโสต ลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนมีอุปนิสัย เมื่อเขาเป็นผู้มีอุปนิสัย ย่อมจะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะกำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะละธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเขารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง ละธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะ ถูกต้องวิมุตติโดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสนทนามีข้อนี้เป็นประโยชน์ การ ปรึกษาหารือมีข้อนี้เป็นประโยชน์ อุปนิสัยมีข้อนี้เป็นประโยชน์ การเงี่ยโสตลง ฟังมีข้อนี้เป็นประโยชน์ คือ จิตหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ฯ ชนเหล่าใดเป็นคนเจ้าโทสะ ฟุ้งซ่าน โอ้อวด เจรจา ชนเหล่านั้น มาถึงคุณที่มิใช่ของพระอริยเจ้า ต่างหาโทษ ของกันและกัน ชื่นชมคำทุพภาษิต ความพลั้งพลาด ความ หลงลืม และความปราชัยของกันและกัน ก็ถ้าบัณฑิตรู้จัก กาลแล้ว พึงประสงค์จะพูด ควรเป็นคนมีปัญญา ไม่เป็น คนเจ้าโทสะ ไม่โอ้อวด มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ใจเบาหุนหัน พลันแล่น ไม่เพ่งโทษ กล่าวแต่ถ้อยคำที่บุคคลผู้ตั้งอยู่ใน ธรรมพูดกัน และประกอบด้วยธรรมซึ่งพระอริยเจ้าพูดจากัน เพราะรู้ทั่วถึงได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น เขาจึงพาทีได้ บุคคล ควรอนุโมทนาคำที่เป็นสุภาษิต ไม่ควรรุกรานในถ้อยคำที่ กล่าวชั่ว ไม่ควรศึกษาความแข่งดี และไม่ควรยึดถือความ พลั้งพลาด ไม่ควรทับถม ไม่ควรข่มขี่ ไม่ควรพูดถ้อยคำ เหลาะแหละ เพื่อรู้ เพื่อเลื่อมใส สัตบุรุษทั้งหลายจึงมีการ ปรึกษาหารือกัน พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมปรึกษาหารือกัน เช่นนั้นแล นี้การปรึกษาหารือของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เมธาวีบุคคลรู้เช่นนี้แล้ว ไม่ควรถือตัว ควรปรึกษาหารือกัน ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๒๑๕-๕๒๖๗ หน้าที่ ๒๒๓-๒๒๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=5215&Z=5267&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=112              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=507              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [507] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=507&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4736              The Pali Tipitaka in Roman :- [507] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=507&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4736              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i501-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.067.than.html https://suttacentral.net/an3.67/en/sujato https://suttacentral.net/an3.67/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :