ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
โมเนยยสูตร
[๕๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๘.

คือ ความเป็นมุนีทางกาย ๑ ความเป็นมุนีทางวาจา ๑ ความเป็นมุนีทางใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเป็นมุนีทางกายเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่ พรหมจรรย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ความเป็นมุนีทางวาจาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการ พูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความ เป็นมุนีทางใจเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา- *วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ อย่างนี้แล ฯ ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มี อาสวะ เป็นมุนี สมบูรณ์ด้วยความเป็นมุนี บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า เป็นผู้ละเสียได้ทุกอย่าง
จบอาปายิกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาปายิกสูตร ๒. ทุลลภสูตร ๓. อัปปเมยยสูตร ๔. อเนญช- *สูตร ๕. อยสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. กัมมันตสูตร ๘. โสเจยยสูตรที่ ๑ ๙. โสเจยยสูตรที่ ๒ ๑๐. โมเนยยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๑๘๗-๗๒๐๙ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7187&Z=7209&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=167              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=562              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [562] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=562&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6108              The Pali Tipitaka in Roman :- [562] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=562&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6108              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i553-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.120.than.html https://suttacentral.net/an3.122/en/sujato https://suttacentral.net/an3.122/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :