ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
             [๑๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้
พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงมากด้วยกัน คือ ปริพาชก
ชื่ออันนภาระ ชื่อวธระ ชื่อสกุลุทายี และปริพาชกผู้มีชื่อเสียงเหล่าอื่น อาศัย
อยู่ในปริพาชการามริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก
ที่เร้นในเวลาเย็น แล้วเสด็จเข้าไปทางปริพาชการามริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี สมัยนั้น
แล ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น กำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ว่า สัจจะ
ของพราหมณ์แม้อย่างนี้ๆ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาปริพาชกเหล่า
นั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามปริพาชกเหล่านั้น
ว่า ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไรหนอ และท่านทั้งหลายกำลังนั่งสนทนาอะไรกันค้างอยู่ ปริพาชกเหล่านั้น
กราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายกำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ว่า
สัจจะของพราหมณ์ แม้อย่างนี้ๆ ฯ
             พ. ดูกรปริพาชกทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการนี้ อันเรา
กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ๔ ประการเป็นไฉน คือ พราหมณ์
บางคนในโลกนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งปวงไม่ควรฆ่า เมื่อพราหมณ์กล่าวดังนี้
ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาไม่สำคัญตัวว่า เรา
เป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เราเป็นผู้เสมอกับเขา
เราเป็นผู้เลวกว่าเขา อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัตินั้นแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
เอ็นดูอนุเคราะห์เหล่าสัตว์นั้นแหละ ฯ
             อีกประการหนึ่ง พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า กามทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อพราหมณ์กล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่
กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาย่อมไม่สำคัญตัวว่า เราเป็นสมณะ ...
อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัตินั้นแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับกามทั้งหลายนั่นแหละ ฯ
             อีกประการหนึ่ง พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ภพทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อพราหมณ์กล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่
กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาย่อมไม่สำคัญตัวว่า เราเป็นสมณะ ...
             อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัตินั้นแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพทั้งหลายนั่นแหละ ฯ
             อีกประการหนึ่ง พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า เราย่อมไม่มีในอะไรๆ
เราย่อมไม่มีในความเป็นอะไรๆ ของใครๆ อนึ่ง ใครๆ ย่อมไม่มีในอะไรๆ
ความเป็นอะไรๆ ของใครๆ ย่อมไม่มีในความเป็นอะไรๆ ของเรา เมื่อเขากล่าว
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาย่อมไม่
สำคัญตัวว่า เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา
เราเป็นผู้เสมอเขา เราเป็นผู้เลวกว่าเขา อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัติ
นั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันหาความกังวลมิได้ทีเดียว ดูกรปริพาชก
ทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการนี้แล อันเราทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๗๖๒-๔๗๙๙ หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4762&Z=4799&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=135              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=181              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [185] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=185&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=9280              The Pali Tipitaka in Roman :- [185] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=185&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=9280              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i181-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i181-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.181.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.183.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.184.than.html https://suttacentral.net/an4.181/en/sujato https://suttacentral.net/an4.181/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.182/en/sujato https://suttacentral.net/an4.183/en/sujato https://suttacentral.net/an4.183/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.184/en/sujato https://suttacentral.net/an4.184/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.185/en/sujato https://suttacentral.net/an4.186/en/sujato https://suttacentral.net/an4.187/en/sujato https://suttacentral.net/an4.188/en/sujato https://suttacentral.net/an4.189/en/sujato https://suttacentral.net/an4.190/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :