ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. อันธกวินทสูตร
[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อันธกวินทวิหารในแคว้น มคธ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ ว่า ดูกรอานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ๆ เธอทั้งหลาย พึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในธรรม ๕ ประการ ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐาน อยู่ในปาติโมกขสังวรดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้มีศีล จง เป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์สังวร จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติ เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ ฯ ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐาน อยู่ในอินทรีย์สังวรดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้มีสติเครื่องรักษาทวาร รักษาตน มีใจที่รักษาดีแล้ว ประกอบด้วยจิตมีสติเป็นเครื่องรักษา ๑ ฯ ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐาน อยู่ในการทำที่สุดแห่งคำพูดดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้มีคำพูด น้อย จงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งคำพูด [อย่าพูดมาก] ๑ ฯ ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐาน อยู่ในการทำความสงบแห่งกายดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้ถือการ อยู่ป่าเป็นวัตร จงเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว ๑ ฯ ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐาน อยู่ในความเห็นชอบดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ ประกอบด้วยสัมมาทัสสนะ ๑ ฯ ดูกรอานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ๆ เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๒๐๐-๓๒๒๖ หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3200&Z=3226&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=114              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=114              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [114] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=114&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1085              The Pali Tipitaka in Roman :- [114] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=22&item=114&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1085              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i111-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.114.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-114.html https://suttacentral.net/an5.114/en/sujato https://suttacentral.net/an5.114/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :