ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. ติกัณฑกีสูตร
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน ใกล้เมือง สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขอภิกษุพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งอันไม่เป็นปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล อยู่ตลอด กาล ขอภิกษุพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งอันเป็นปฏิกูลว่า ไม่เป็นปฏิกูลอยู่ตลอด กาล ขอภิกษุพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งอันเป็นปฏิกูลว่าเป็น ปฏิกูลอยู่ตลอดกาล ขอภิกษุพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งอันเป็นปฏิกูล และสิ่ง อันไม่เป็นปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ตลอดกาล ขอภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีความวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอด กาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้ มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความกำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุจึงควรเป็น ผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์นี้ว่า ความขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองอย่าเกิดขึ้น แก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัย อำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความกำหนัดในธรรมอัน เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งความขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุ จึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูล และสิ่งไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัด เคืองอย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความกำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอย่าเกิด ขึ้นแก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่ง ไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเว้นสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีความวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะ อาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความกำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความ ขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความหลงในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุ จึงควรเป็นผู้เว้นสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีความ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๙๔๙-๓๙๘๕ หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3949&Z=3985&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=144              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=144              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [144] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=144&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1261              The Pali Tipitaka in Roman :- [144] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=22&item=144&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1261              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i141-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an5.144/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :