ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
นาคสูตร
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าเที่ยว หากิน ช้างพลายบ้าง ช้างพังบ้าง ช้างสะเทิ้นบ้าง ลูกช้างบ้าง เดินไปข้างหน้า กัดปลายหญ้าไว้ด้วน ช้างตัวประเสริฐนั้น ย่อมอิดหนาระอาใจรังเกียจเพราะ การกระทำนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าเที่ยวหา กิน ช้างพลายบ้าง ช้างพังบ้าง ช้างสะเทิ้นบ้าง ลูกช้างบ้าง กัดกินกิ่งไม้ที่ช้างตัว ประเสริฐหักลงไว้ ช้างตัวประเสริฐนั้น ย่อมอิดหนาระอาใจรังเกียจเพราะการ กระทำนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าลงสู่สระ ช้างพลายบ้าง ช้างพังบ้าง ช้างสะเทิ้นบ้าง ลูกช้างบ้าง เดินออกหน้า เอา งวงสูบน้ำให้ขุ่น ช้างตัวประเสริฐนั้นย่อมอิดหนาระอาใจรังเกียจเพราะการกระทำ นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าขึ้นจากสระ ช้างพลายทั้งหลายย่อมเดินเสียดสีกายไป ช้างตัวประเสริฐย่อมอิดหนาระอาใจ รังเกียจเพราะการกระทำนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ช้างตัวประเสริฐนั้นย่อม มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราเกลื่อนกล่นไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น และลูกช้าง เรากินหญ้ายอดด้วน กินกิ่งไม้ที่ช้างทั้งหลายกินแล้วๆ ดื่มน้ำที่ขุ่นมัว และเมื่อเราขึ้นจากสระ ช้างพังทั้งหลายย่อมเดินเสียดสีกายไป ผิฉะนั้น เรา พึงหลีกออกจากโขลงอยู่ตัวเดียวเถิด สมัยต่อมา ช้างตัวประเสริฐนั้น หลีกออก จากโขลงอยู่ตัวเดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน กินกิ่งไม้ที่ไม่มีช้างอื่นเล็ม ดื่มน้ำ ที่ไม่ขุ่นมัว เมื่อขึ้นจากสระ ช้างพังก็ไม่เดินเสียดสีกาย สมัยนั้น ช้างตัว ประเสริฐย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเกลื่อนกล่นไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น และลูกช้าง กินหญ้ายอดด้วน กินกิ่งไม้ที่ช้างอื่นเล็มแล้วๆ ดื่ม น้ำขุ่นมัว และเมื่อเราขึ้นจากสระ ช้างพังยังเดินเสียดสีกายเราไป บัดนี้ เราหลีก ออกจากโขลงอยู่ตัวเดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน กินกิ่งไม้ที่ช้างอื่นไม่เล็ม ดื่มน้ำ ที่ไม่ขุ่นมัว และเมื่อขึ้นจากสระ ช้างพังก็ไม่เดินเสียดสีกายเราไป ดังนี้ ช้าง ตัวประเสริฐนั้นเอางวงหักกิ่งไม้มาปัดกาย มีใจชื่นชม บำบัดโรคต่อมคัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด ภิกษุเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์สาวกของ เดียรถีย์ สมัยนั้น ภิกษุนั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราเกลื่อนกล่นไป ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ผิฉะนั้น เราพึงหลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว เธอ เสพเสนาสนะที่สงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่ แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า ละอภิชฌาในโลกเสีย มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจากความง่วงเหงาหาวนอน มีความสำคัญในแสง สว่างอยู่ มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจ- *กุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบในภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่เคลือบแคลงสงสัยในกุศลทั้งหลาย ชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจทำปัญญา ให้ทุรพลแล้ว สงัดจากกาม ... บรรลุปฐมฌาน ... เธอมีใจชื่นชม บำบัดความ ระคายใจได้ เธอบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน มีใจชื่นชม บำบัดความระคายใจได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ บรรลุอากิญ จัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุสัญญา เวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอมีใจชื่นชม บำบัดความระคายใจได้ ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๓๐๒-๙๓๔๙ หน้าที่ ๔๐๑-๔๐๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=9302&Z=9349&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=203              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=244              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [244] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=244&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7067              The Pali Tipitaka in Roman :- [244] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=244&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7067              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i236-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.040.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/09/an09-040.html https://suttacentral.net/an9.40/en/sujato https://suttacentral.net/an9.40/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :