ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๑๓๔] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ไม่เคยมีมา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตร
เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ทรงครองฆราวาสอันคับคั่งด้วยพระโอรสและพระมเหสี
อยู่ ทรงใช้สอยผ้าแคว้นกาสีและจันทน์อยู่ ทรงทัดทรงดอกไม้ ของหอม และ
เครื่องประเทืองผิวอยู่ ทรงยินดีเงินและทองอยู่ ยากที่จะรู้ได้ว่า ท่านเหล่านั้น
เป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้บรรลุอรหัตตมรรค ดูกรมหาบพิตร ศีล พึง
ทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดย
กาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบ
ได้  ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย
และความเป็นผู้สะอาดนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย
มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา
ทรามไม่พึงทราบ กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และกำลังใจนั้นแลพึง
ทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการ
ไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ปัญญาพึงทราบได้
ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยนิดหน่อย
มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา
ทรามไม่พึงทราบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกราชบุรุษปลอมตัวเป็นนักบวชเที่ยว
สอดแนมของหม่อมฉันเหล่านี้ ตรวจตราชนบทแล้วกลับมา พวกเขาตรวจตรา
ก่อน หม่อมฉันจักตรวจตราภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พวกเขาลอย
ธุลีและมลทินแล้ว อาบดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ปลงผมและหนวดแล้ว นุ่งผ้าขาว
ผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฯ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
                          บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่ควรเป็นคนใช้
                          ของผู้อื่น ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่ควรแสดงธรรมเพื่อ
                          ประโยชน์แต่ทรัพย์นั้นๆ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. อาหุสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๔๕๓-๓๔๘๐ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=3453&Z=3480&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=87              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=132              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [134-135] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=134&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=7922              The Pali Tipitaka in Roman :- [134-135] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=134&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=7922              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.6.02.than.html https://suttacentral.net/ud6.2/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud6.2/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :