ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๒. อุทายีเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระอุทายีเถระ
[๓๘๔] เราเคยได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมนอบน้อม บุคคลใด ผู้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง มีตนอันได้ ฝึกฝนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ดำเนินไปในทางของพรหม ยินดีในการสงบ ระงับจิต ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง แม้เทวดาทั้งหลายก็พากันนอบน้อม บุคคลนั้น เทวดาและมนุษย์ย่อมนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ ใด ผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ออกจากป่า คือ กิเลสมาสู่นิพพาน ออกจากกามมายินดีในเนกขัมมะ เหมือนทองคำอันพ้นแล้วจากหินฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแล เป็นนาครุ่งเรือง พ้นโลกนี้ กับทั้งเทวโลก เหมือนขุนเขาหิมวันต์รุ่งเรืองล่วงภูเขาเหล่าอื่นฉะนั้น เราจักแสดงช้างอันประเสริฐ ซึ่งเป็นช้างมีชื่อโดยแท้จริง เป็นเยี่ยมกว่า บรรดาผู้มีชื่อว่าช้างทั้งหมด แก่ท่านทั้งหลาย เพราะผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้น ชื่อว่า นาค ความสงบเสงี่ยมและการไม่เบียดเบียน ๒ อย่างนี้ เป็น เท้าหน้าทั้งสองของนาค สติสัมปชัญญะเป็นเท้าหลัง ช้างตัวประเสริฐ ควรบูชา มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาอันขาว มีสติเป็นคอ มี ปัญญาเครื่องพิจารณาค้นคว้าธรรมเป็นศีรษะ มีธรรม คือ สัมมาวาจา เป็นท้อง มีวิเวกเป็นหาง ช้างตัวประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้านั้น เป็น ผู้มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในนิพพาน มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในภายใน คือ เมื่อ เดินก็มีจิตตั้งมั่น เมื่อยืนก็มีจิตตั้งมั่น นอนก็มีจิตตั้งมั่น แม้เมื่อนั่งก็มี จิตตั้งมั่น เป็นผู้สำรวมในที่ทั้งปวง อันนี้เป็นคุณสมบัติของช้างผู้ ประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้า ช้างตัวประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้านั้น บริโภคของอันหาโทษมิได้ ไม่บริโภคของที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่อง นุ่งห่มแล้ว ก็ไม่สั่งสมไว้ ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวผูกพันน้อยใหญ่ทั้งสิ้น ไม่มีความห่วงใยเลย เที่ยวไปในที่ทุกแห่ง เปรียบเหมือนดอกบัวขาบ มีกลิ่นหอมหวานชวนให้รื่นรมย์ เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ย่อมไม่ติดอยู่ ด้วยน้ำ ฉันใด พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก อยู่ในโลกไม่ติดอยู่ ด้วยโลก เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉันนั้น ไฟกองใหญ่ลุกโชน เมื่อหมดเชื้อก็ดับไป ก็เมื่อเถ้ายังมีอยู่ เขาก็เรียกว่ากันว่า ไฟดับแล้ว ฉันใด อุปมาอันทำให้รู้เนื้อความแจ่มแจ้งนี้ วิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้ แล้ว ก็ฉันนั้น มหานาคทั้งหลายจักรู้แจ้งนาค อันพระพุทธเจ้าทรงแสดง แล้ว พุทธนาคเป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ และโมหะ หมดอาสวะ เมื่อละสรีระร่างกายนี้แล้ว ก็จักไม่มีอาสวะปรินิพพาน.
-----------------------------------------------------
ในโสฬสกนิบาตนี้ พระเถระผู้มีมหิทธิฤทธิ์ ๒ รูป คือ พระโกณฑัญญ- เถระ กับ พระอุทายีเถระ ได้ภาษิตคาถาไว้องค์ละ ๑๖ คาถา รวมเป็น ๓๒ คาถา ฉะนี้แล.
จบ โสฬสกนิบาต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๓๒๗-๗๓๖๕ หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7327&Z=7365&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=384              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=384              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [384] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=384&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=6564              The Pali Tipitaka in Roman :- [384] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=384&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=6564              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.15.02.olen.html https://suttacentral.net/thag15.2/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :