ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๓. สุลสาชาดก
ผู้รอบรู้เหตุผลย่อมรอดพ้นศัตรู
[๑๑๓๗] สร้อยคอทองคำนี้ แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์มีมาก ท่านจงนำเอาทรัพย์นี้ ไปทั้งหมด ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน และจงประกาศข้าพเจ้าว่า เป็น ทาสีเถิดฯ [๑๑๓๘] แน่ะแม่คนงาม เจ้าจงเปลื้องเครื่องประดับออก อย่ามัวร่ำไรให้มากเลย เราไม่รู้อะไรทั้งนั้น เรานำเจ้ามาเพื่อทรัพย์เท่านั้น. [๑๑๓๙] ฉันมานึกถึงตัวเอง นับตั้งแต่น้อยคุ้มใหญ่ ฉันไม่ได้รู้จักรักชายอื่นยิ่งไป กว่าท่านเลย. [๑๑๔๐] ขอเชิญท่านนั่งลง ฉันจักขอกอดรัดท่านให้สมรัก และจักกระทำ ประทักษิณท่านเสียก่อน เพราะว่าต่อแต่นี้ไป การคบหากันระหว่างฉัน กับท่านจะไม่มีอีก. [๑๑๔๑] ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่ แม้หญิงก็เป็นบัณฑิตมีปัญญา เฉลียวฉลาดในที่นั้นๆ ได้. [๑๑๔๒] ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่ แม้หญิงก็เป็นบัณฑิตมีปัญญาดำริ เหตุผลได้รวดเร็ว.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๒๗.

[๑๑๔๓] นางสุลสาหญิงแพศยายืนอยู่ ณ ที่ใกล้โจร คิดอุบายจะฆ่าโจร ได้ฆ่าโจร สัตตุกะตายได้รวดเร็ว เหมือนนายพรานเนื้อผู้ฉลาดฆ่าเนื้อได้เร็วพลัน เมื่อมีธนูบริบูรณ์มากแล้ว ฉะนั้น. [๑๑๔๔] ในโลกนี้ ผู้ใดไม่รู้เหตุผลที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน ผู้นั้นมีปัญญาเขลาย่อม ถูกฆ่าตาย เหมือนโจรถูกฆ่าตายที่ซอกภูเขา ฉะนั้น. [๑๑๔๕] ในโลกนี้ ผู้ใดย่อมรอบรู้เหตุผลที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน ผู้นั้นย่อมพ้นจาก ความเบียดเบียนของศัตรูได้ เหมือนนางสุลสาหญิงแพศยาหลุดพ้นไป จากโจรสัตตุกะ ฉะนั้น.
จบ สุลสาชาดกที่ ๓.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๔๘๔๙-๔๘๗๓ หน้าที่ ๒๒๖-๒๒๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=4849&Z=4873&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=419              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1137              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1137-1145] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=1137&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=5574              The Pali Tipitaka in Roman :- [1137-1145] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=1137&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=5574              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja419/en/francis-neil

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :