ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยความเกียจคร้าน
[๗๕๒] ชื่อว่า ความเกียจคร้าน ในคำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ ได้แก่ความเกียจคร้าน กิริยาที่ เกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีใจเกียจคร้าน ความขี้เกียจ กิริยาที่ขี้เกียจ ความเป็นคนขี้เกียจ นี้เรียกว่าความเกียจคร้าน. คำว่า ความลวง ความว่า ความประพฤติลวง เรียกว่าความลวง. บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว ตั้งความปรารถนาลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือ ย่อมปรารถนา ว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา (ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จัก เรา ดังนี้แล้ว กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความประพฤติชั่ว) คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้ว ก็บากบั่นด้วยกาย. ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปิดบัง กิริยาที่ซ่อนความจริง กิริยา ที่บังความผิด กิริยาที่ปิดความผิด กิริยาที่เลี่ยงความผิด กิริยาที่หลบความผิด กิริยาที่ซ่อนความชั่ว กิริยาที่พรางความชั่ว กิริยาที่บังความชั่ว กิริยาที่ปกปิดความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่คลุมความผิด กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่าความลวง.
ว่าด้วยการเล่น ๒ อย่าง
คำว่า ความหัวเราะ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมหัวเราะเกินประมาณจนฟัน ปรากฏ. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหัวเราะเกินประมาณจนฟัน ปรากฏนี้เป็นกิริยาของเด็ก ในอริยวินัย ชื่อว่า การเล่น ได้แก่การเล่น ๒ อย่าง คือ การเล่น ทางกาย ๑ การเล่นทางวาจา ๑. การเล่นทางกายเป็นไฉน? ชนทั้งหลายย่อมเล่นช้างบ้าง เล่นม้า บ้าง เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาด ให้เห็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นกังหันบ้าง เล่นตวงทรายบ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายกันบ้าง เล่นทายใจกันบ้าง เล่นเลียนคนขอทานบ้าง นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย. การเล่นทางวาจาเป็นไฉน? เล่นตีกลองปาก เล่นพิณพาทย์ปาก เล่นรัวกลองด้วยปาก เล่นผิวปาก เล่นกะเดาะปาก เล่นเป่าปาก เล่นซ้อมเพลง เล่นโห่ร้อง เล่นร้องเพลง เล่นหัวเราะ กัน นี้ชื่อว่าการเล่นทางวาจา.
ว่าด้วยเมถุน
ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำชำระเป็นส่วนสุด ธรรมที่ทำในที่ลับ ธรรมเป็นความถึงพร้อมแห่งคน คู่ๆ กัน. เพราะเหตุไรบัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม. ธรรมของคนคู่กันผู้กำหนัด กำหนัดนัก ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะ เหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม. คนสองคนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความหมายหมั้นกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความอื้อฉาว เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสอง คนพูดกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนปราศรัยกัน เรียกว่าคนคู่กัน ฉันใด ธรรมของคนคู่กัน ผู้กำหนัด กำหนัดนัก ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียว กันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม ฉันนั้น.
ว่าด้วยการประดับ ๒ อย่าง
ชื่อว่าการประดับ ได้แก่การประดับมีอยู่ ๒ อย่าง คือการประดับของคฤหัสถ์ ๑ การประดับของบรรพชิต ๑. การประดับของคฤหัสถ์เป็นไฉน? การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การแต่งเครื่องประดับ การแต่งเครื่องแต่งตัว การนุ่งห่มผ้าสวยงาม การประดับข้อมือ การทรงผ้าโพก การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การดัดตัว การส่องกระจก การแต้มตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การเกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้ดาบ การใช้ร่ม การสวมรองเท้าที่งาม การ สวมเขียงเท้า การติดกรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งห่มผ้าขาว การนุ่งห่มผ้าชายยาว นี้ชื่อว่าการประดับของคฤหัสถ์. การประดับของบรรพชิตเป็นไฉน? การตบแต่งจีวร การตบแต่งบาตร หรือการตบแต่ง การประดับ การเล่นสนุกในการประดับ การเพลินในการประดับ การปรารถนาในการประดับ ความชอบในการประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็นแห่งการประดับ ซึ่งกายอันเปื่อยเน่านี้ หรือ บริขารทั้งหลายอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่าการประดับของบรรพชิต. คำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็น ไปกับด้วยการประดับ ความว่า พึงละเว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ คือ ทั้งบริวาร ทั้งบริภัณฑ์ ทั้งบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความ หัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรม อันเป็นไปกับด้วยการประดับ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๘๕๓๕-๘๕๙๓ หน้าที่ ๓๕๘-๓๖๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=8535&Z=8593&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=14              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [752] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=752&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=8634              The Pali Tipitaka in Roman :- [752] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=29&item=752&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=8634              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :