ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเอาผ้าสำหรับทำจีวร ซึ่งมีราคา มากมาทำจีวร เย็บจีวรให้เสียไป ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีรูปนั้นว่า แม่เจ้า ผ้า- *สำหรับทำจีวรของท่านผืนนี้เนื้อดี แต่ทำจีวรไม่ดี เย็บไม่สวย. ภิกษุณีรูปนั้นถามว่า แม่เจ้า ดิฉันจักเลาะออก ท่านจักเย็บให้หรือ? ภิกษุณีถุลลนันทาตอบว่า จ้ะ ดิฉันจักเย็บให้. ครั้นแล้วภิกษุณีรูปนั้นได้เลาะจีวรนั้นให้แก่ภิกษุณีถุลลนันทา. ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า ดิฉันจักเย็บให้ ดิฉันจักเย็บให้ แล้วไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ ดังนั้นภิกษุณีรูปนั้นจึงแจ้ง เรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉนแม่เจ้า- *ถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บให้จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะ จีวรของภิกษุณีแล้ว จึงได้ไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่- *เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้.
พระบัญญัติ
๗๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรของภิกษุณีแล้ว เธอไม่มี อันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๒๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น. ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง. บทว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง. บทว่า ให้เลาะ คือ ให้ผู้อื่นเลาะ. คำว่า เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี. บทว่า ไม่เย็บ คือไม่เย็บด้วยตนเอง. บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ คือ ไม่บังคับผู้อื่น. คำว่า พ้น ๔-๕ วันไป คือเก็บไว้ได้ ๔-๕ วัน พอทอดธุระว่าจักไม่เย็บ จักไม่ทำความ ขวนขวายเพื่อให้เย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๒๙] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดีซึ่งจีวร แล้วเธอ ไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่มีอันตรายในภาย- *หลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรแล้วเธอไม่มี อันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไปต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ปัญจกะทุกกฏ
เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลังไม่เย็บ ไม่ ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป ต้องอาบัติทุกกฏ. เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบันแล้วเธอไม่มี อันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๓๐] ในเมื่อเหตุจำเป็นมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ ทำอยู่เกิน ๔-๕ วัน ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๒๔๑-๓๓๐๐ หน้าที่ ๑๔๐-๑๔๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3241&Z=3300&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=51              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=227              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [227-230] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=227&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11469              The Pali Tipitaka in Roman :- [227-230] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=3&item=227&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11469              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.227 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc23/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc23/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :