ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๕๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม. คนทั้งหลายแลเห็นนางที่ในโรงฉันแล้วมีความพึงพอใจ ต่างถวายโภชนาหารที่ดีๆ แก่นางผู้มีความ พึงพอใจ. นางฉันได้พอแก่ความประสงค์. ภิกษุณีรูปอื่นๆ ไม่ได้ฉันตามต้องการ. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงได้มีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉันเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีสุนทรีนันทา มีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้ว เคี้ยวฉัน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีสุนทรีนันทา จึง ได้ยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเองจากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจแล้วเคี้ยวฉันเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความพึงพอใจ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือ ของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจแล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้อง ธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์. ที่ชื่อว่า ผู้มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์. ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรตผู้ชาย ไม่ใช่- สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ สามารถเพื่อจะยินดียิ่งนัก. ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ อย่าง กับน้ำและไม้สีฟัน นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว. ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะทั้งห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑. ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย กลืนกิน ต้องอาบัติ- *สังฆาทิเสส ทุกๆ คำกลืน. [๕๔] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้อง สวดสมนุภาส. ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์ บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส. รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
[๕๕] ฝ่ายหนึ่งมีความพึงพอใจ รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยวจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุกๆ คำกลืน รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ทั้งสองฝ่ายมีความพึงพอใจ รับประเคนจากมือยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ที่มีกายคล้ายมนุษย์ ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ คำกลืน. รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ. เขามีความพึงพอใจฝ่ายเดียว รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. กลืนกินต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๖] ทั้งสองฝ่ายไม่มีความพึงพอใจ ๑ รู้อยู่ว่าเขาไม่มีความพึงพอใจจึงรับประเคน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ จบ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๗๖๕-๘๑๙ หน้าที่ ๓๒-๓๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=765&Z=819&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=9              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=52              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [52-56] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=52&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11067              The Pali Tipitaka in Roman :- [52-56] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=3&item=52&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11067              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.052 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss5/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss5/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :