ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๔๙๑] คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว ความว่า พราหมณ์
นั้นได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ๒ ครั้ง. พระผู้มีพระภาคอันพราหมณ์นั้น
ทูลถามปัญหา ไม่ทรงพยากรณ์ในลำดับแห่งพระจักษุว่า ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของพราหมณ์นี้
จักมี. พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า สักกะ ในคำว่า สกฺก. พระผู้มีพระภาคทรงผนวชจาก
ศากยสกุล แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ.
             อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์มาก แม้เพราะเหตุ
ดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ. พระผู้มีพระภาคนั้นทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา
ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา
ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ
ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน. พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ด้วยทรัพย์อันเป็นรัตนะหลายอย่างนี้ แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์
จึงทรงพระนามว่า สักกะ.
             อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเป็นผู้อาจ ผู้องอาจ ผู้สามารถ มีความสามารถ ผู้กล้า
ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความ
ขลาดเสียแล้ว ปราศจากขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ ... ๒ ครั้งแล้ว.
             คำว่า ได้ทูลถามแล้ว ความว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ทูลขอ ทูล
เชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท ๒ ครั้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์
ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว.
             คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โมฆราชา เป็นบทสนธิ. ฯลฯ คำว่า อายสฺมา
เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า โมฆราชา เป็นชื่อ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านโมฆราชทูลถามว่า.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๔๕๒๖-๔๕๔๗ หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=4526&Z=4547&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=34              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=490              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [491] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=30&item=491&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=1754              The Pali Tipitaka in Roman :- [491] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=30&item=491&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=1754              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-15.htm

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :