ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๑๗๑] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณอย่างไร
ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตรภูมิ ฯ
             [๑๗๒] กามาวจรภูมิเป็นไฉน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตลอด
ไปจนถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึงเทวดาชาวปรนิมมิตวสวดีเป็นที่สุด
นี้เป็นกามาวจรภูมิ ฯ
             [๑๗๓] รูปาวจรภูมิเป็นไฉน ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคล
ผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๔.

เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลก ขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐ์ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ ฯ [๑๗๔] อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคล ผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากา- *สานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึงเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ ฯ [๑๗๕] โลกุตรภูมิเป็นไฉน มรรค ผล และนิพพานธาตุอันปัจจัย ไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตระ นี้ชื่อว่าโลกุตรภูมิ ภูมิ ๔ เหล่านี้ ฯ [๑๗๖] ภูมิ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔ อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔ ภูมิ ๔ เหล่านี้ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๐๒๙-๒๐๕๐ หน้าที่ ๘๓-๘๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2029&Z=2050&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=31              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=171              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [171-176] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=171&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6959              The Pali Tipitaka in Roman :- [171-176] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=171&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6959              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :