ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๘๖] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ฯ
             ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สังขตธรรมและอสังขตธรรม
ทั้งปวง มิได้มีส่วนเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มี
เครื่องกั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งหมด ...
รู้ธรรมส่วนอดีตทั้งหมด ... รู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งหมด ... รู้จักษุและรูปทั้งหมดว่า
อย่างนี้ ... รู้หูและเสียง ฯลฯ จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ
ใจและธรรมารมณ์ทั้งหมดว่าอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณ
นั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
             [๒๘๗] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพ
เป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า
ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ... รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา
แห่งรูป ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา
แห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพ
เป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตาแห่งจักษุ ฯลฯ แห่งชราและมรณะ ตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
             [๒๘๘] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ด้วยอภิญญาทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น
... รู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ด้วยปริญญา ... รู้สภาพที่ควรละด้วยปหานะ ... รู้สภาพ
ที่ควรเจริญด้วยภาวนา ... รู้สภาพที่ควรทำให้แจ้งด้วยสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด ... รู้
สภาพที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอดทั้งหมด
... รู้สภาพเป็นที่ต่อแห่งอายตนะตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่ง
แห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
             [๒๘๙] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้กุศลธรรมตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น ไม่มีเครื่องกั้น ... รู้อกุศลธรรม
อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตตรธรรม
ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย
สภาพเป็นที่ดับแห่งนิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
             [๒๙๐] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพปัญญาอัน
แตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด ฯลฯ รู้สภาพปัญญา
อันแตกฉานดีในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทาสภาพปัญญาอันแตกฉานดีในนิรุตติแห่ง
นิรุตติปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด
... รู้อินทรียปโรปยัตตญาณ รู้ญาณในฉันทะอันมานอน และกิเลสอันนอน
เนื่องของสัตว์ทั้งหลาย รู้ยมกปาฏิหาริยญาณ รู้มหากรุณาสมาปัตติญาณ ตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
             [๒๙๑] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์ที่ได้เห็น ที่
ได้ฟัง ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ
แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า
ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
                          บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่มีในโลกนี้ อนึ่ง
                          บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระตถาคตไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มี
                          พระตถาคตทรงทราบยิ่ง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง
                          เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ (ผู้ทรง
                          เห็นทั่ว) ฯ
             [๒๙๒] คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถ
ว่ากระไร ฯ
             พระพุทธญาณ ๑๔ คือ ญาณในทุกข์ ๑ ญาณในทุกขสมุทัย ๑ ญาณ
ในทุกขนิโรธ ๑ ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ ญาณในอรรถปฏิสัมภิทา ๑
ญาณในธรรมปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ๑ ญาณในฉันทะเป็นที่
มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ๑
ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ๑ สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑ บรรดา
พระพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ พระญาณ ๘ ข้างต้น เป็นญาณทั่วไปด้วย
พระสาวก พระญาณ ๖ ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก ฯ
             [๒๙๓] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า สภาพที่ทนได้ยาก
แห่งทุกข์ พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้ทรงทราบไม่มี ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น ไม่มีเครื่องกั้น สภาพที่ทนได้ยาก
แห่งทุกข์ พระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้อง
แล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี ...
สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย สภาพเป็นที่ดับแห่งนิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค
สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดี
ในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติ
ปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระ-
*ตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว
ตลอดทั้งหมดด้วยด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี ...
ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอน
เนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว
ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา
ไม่มี ... ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ฟัง
ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ แห่งโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำ
ให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มี
เครื่องกั้น ฯ
                          บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่มีในโลกนี้ อนึ่ง
                          บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระตถาคตไม่ทรงรู้แล้วไม่มี
                          พระตถาคตทรงทราบยิ่งซึ่งธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง เพราะ
                          ฉะนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ ฉะนี้แล ฯ
จบญาณกถา ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๓๒๔๘-๓๓๓๑ หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=3248&Z=3331&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=60              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=286              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [286-293] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=286&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=905              The Pali Tipitaka in Roman :- [286-293] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=286&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=905              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :