ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ปฏิสัมภิทากถา
[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ ประการเป็นไฉน คือ การประกอบความพัวพันกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็น ของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้อง ส่วนสุดทั้ง ๒ ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุทำญาณ (เห็นประจักษ์ รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไป เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ [๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้ เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัดด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุ ให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุ ทั้งหลายก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ [๖๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ยัง ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนด รู้แล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ เราทำให้แจ้งแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราได้เจริญแล้ว ฯ [๖๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ก็แลญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ มีในที่สุด บัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ฯ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็ประกาศ ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราชได้ฟังเสียงของ ภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดา ชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมก็ประกาศ ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไป จนตลอดพรหมโลก และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่ง แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะ อุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ [๖๐๒] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่าง เกิดขึ้น นี้ เพราะอรรถว่ากระไร คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะ อรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรม ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรม ทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา ฯ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่า นิรุติปฏิสัมภิทา ฯ ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม เหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจร ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯ [๖๐๓] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณ เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ... แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณ ทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจมีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ [๖๐๔] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ เราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง มาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เรา เจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๖๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ [๖๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว การพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง มาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า แทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรม ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรม เหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน ธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ- *ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา ฯ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่านิรุติปฏิสัมภิทา ฯ ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ ปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในสติปัฏฐานคือการ พิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ [๖๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ และปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธาน สังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เรา ไม่เคยฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร นี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ [๖๐๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า สว่างไสว ... ฯ จักษุเป็นธรรม ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธาน สังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาท ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบ ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและ ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอิทธิบาท ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ [๖๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ พระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณ- ภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระ- *โคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ ๗๐ มีนิรุติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐ ฯ [๖๐๙] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ตลอดหมดด้วย ปัญญา อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่ง แห่งอภิญญา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ฯลฯ อรรถ ว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่ง ภาวนา ฯลฯ ฯ จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรา รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้ง แห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถ ว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะ ในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ [๖๑๐] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย ปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากอง แห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ ญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่าบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอด หมดด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัย ไม่ปรุงแต่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุง แต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่า บ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มี นิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ [๖๑๑] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยาก แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธ อรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มี ญาณ ๔๐๐ ฯ [๖๑๒] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานใน อรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูก ต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา มี ธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา อรรถว่าความ แตกฉานในนิรุติแห่งนิรุติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่ง ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง แล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณ ที่เราไม่ถูกต้องแล้ว ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐ ฯ [๖๑๓] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อินทรียปโรปริยัติญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย ปัญญา อินทรียปโรปริยัติญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ใน อินทรียปโรปริยัติญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของ สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณ- *ญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมด ด้วยปัญญา อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอนาวรณ- *ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน พุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐ ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุติ ๑๗๐๐ มีญาณ ๓๔๐๐ ฉะนี้แล ฯ
จบปฏิสัมภิทากถา
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๘๘๓๓-๙๑๒๖ หน้าที่ ๓๖๖-๓๗๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=8833&Z=9126&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=75              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=598              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [598-613] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=598&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5626              The Pali Tipitaka in Roman :- [598-613] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=598&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5626              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :