ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
อภิรูปนันทาเถริยาปทานที่ ๖
ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภิรูปนันทาเถรี
[๑๗๖] ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่าปัสสี มีพระเนตรงาม มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลใหญ่ที่มั่งคั่งเจริญ ในพระนคร พันธุมดี เป็นหญิงมีรูปงาม น่าพึงใจและเป็นที่บูชาของประชุมชน ได้เข้าเฝ้าพระพุทธวิปัสสีผู้มีความเพียรมาก เป็นนายกของโลก ได้ ฟังธรรมแล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ สำรวมอยู่ในศีล เมื่อพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นผู้มีพระคุณสูงสุดกว่านรชน ปรินิพพานแล้ว ดิฉันได้เอาฉัตรทองบูชาไว้ ณ เบื้องบนแห่งพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ ดิฉันเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้ว มีศีลจนตลอดชีวิตเคลื่อนจากอัตภาพ นั้น ละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ครั้งนั้น ดิฉัน ครอบงำเทพธิดาทั้งหมดด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็น อธิบดี รุ่งโรจน์ปรากฏอยู่ ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันเกิดในพระนคร กบิลพัสดุ์เป็นธิดาของศากยราชนามว่าเขมกะ มีนามปรากฏว่านันทา ประชุมชนกล่าวว่า ดิฉันเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีความถึงพร้อมด้วยรูปงาม น่าชม เมื่อดิฉันเติบโตเป็นสาว (รู้จัก) ตกแต่งรูปและผิวพรรณ พวกศากยราชมีความวิวาทกันมากเพราะตัวดิฉัน ครั้งนั้น พระบิดา ของดิฉันกล่าวว่า พวกศากยราชอย่าฉิบหายเสียเลย จึงให้ดิฉัน บวชเสีย ครั้นดิฉันบวชแล้วได้ฟังว่า พระตถาคตเจ้าผู้มีพระคุณ สูงสุดกว่านรชน ทรงติรูป จึงไม่เข้าไปเฝ้า เพราะดิฉันชอบรูปกลัว จะพบพระพุทธเจ้า จึงไม่ไปรับโอวาท ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรง ให้ดิฉันเข้าไปสู่สำนักของพระองค์ด้วยอุบาย พระองค์ทรงฉลาดใน ทางอุบาย ทรงแสดงหญิง ๓ ชนิด ด้วยฤทธิ์ คือ หญิงสาวสวย เหมือนรูปเทพอัปสร หญิงแก่ หญิงตายแล้ว ดิฉันเห็นหญิงทั้ง ๓ แล้ว มีความสลดใจ ไม่ยินดีในซากศพหญิงที่ตายแล้ว มีความ เบื่อหน่ายในภพเฉยอยู่ ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคนายกของโลก ตรัสกะดิฉันว่า ดูกรนันทาท่านจงดูร่างกายที่ทุรนทุราย ไม่สะอาด โสโครก ไหลเข้าถ่ายออกอยู่ ที่พวกพลาชนปรารถนากัน ท่านจง อบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอสุภเถิด รูปนี้เป็นฉัน ใด รูปท่านนั้นก็เป็นฉันนั้น รูปท่านนั้นเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉัน นั้น เมื่อท่านพิจารณาเห็นรูปนั้น อย่างนี้ มิได้เกียจคร้านทั้งกลาง คืนกลางวัน แต่นั้นก็จะเบื่อหน่ายอยู่ด้วยปัญญาของตน ดิฉันผู้ไม่ ประมาท พิจารณาในร่างกายนี้อยู่โดยแยบคาย ก็เห็นกายนี้ทั้งภาย ในภายนอกตามความเป็นจริง เมื่อเป็นเช่นนั้น ดิฉันจึงเบื่อหน่าย ในกาย และไม่ยินดีเป็นภายใน ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยว เป็น ผู้สงบเย็นแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญ ในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพจักษุอันหมดจดวิเศษ หม่อมฉันสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์ ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว. ทราบว่า ท่านพระอภิรูปนันทาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอภิรูปนันทาเถริยาปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๔๘๓-๖๕๒๗ หน้าที่ ๒๗๘-๒๘๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=6483&Z=6527&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=187              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=176              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [176] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=176&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [176] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=176&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap36/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :