ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
นีวรณโคจฉกะ
[๗๔๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน? นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์. [๗๔๙] บรรดานิวรณ์ ๖ นั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน? ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามฉันทนิวรณ์. [๗๕๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย แก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อม เสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น ที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความ กระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า พยาปาทนิวรณ์. [๗๕๑] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน? ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง. ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน? ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ. มิทธะ เป็นไฉน? ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย ความปกคลุม ความหุ้มห่อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง ความหาวนอน อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ. ถีนะและมิทธะดังว่านี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์. [๗๕๒] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน? อุทธัจจกุกกุจจะนั้น แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง. ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน? ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ. กุกกุจจะ เป็นไฉน? ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามี โทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ การรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความ รำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ. อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ รวมเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์. [๗๕๓] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน? ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน อดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม นี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความ คิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิด คิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มี ลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์. [๗๕๔] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและ ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความ ไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความมีปัญญาทราม ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชานิวรณ์. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์. [๗๕๕] ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน? เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นนิวรณ์. [๗๕๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ นิวรณ์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์. [๗๕๗] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์. ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์. [๗๕๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? นิวรณ์เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิวรณ์โดยนิวรณธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้น เสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์. [๗๕๙] ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน? กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยพยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็น นิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็น นิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็น นิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยวิจิกิจฉานิวรณ์ กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยพยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยถีนมิทธนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยวิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์. ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น นิวรณ์. [๗๖๐] ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภท ที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.
นิวรณโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๕๗๒-๖๖๙๔ หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=6572&Z=6694&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=59              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=748              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [748-760] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=748&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10827              The Pali Tipitaka in Roman :- [748-760] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=748&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10827              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en309

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :