ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
มหันตรทุกะ
[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี อารมณ์. ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน? รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๙.

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน? จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต. ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต. [๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก. ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน? จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก. [๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยจิต. ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน? รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากจิต. จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้. [๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต. ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน? รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต. จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้. [๗๗๑] ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใดซึ่ง เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูป อุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน. ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน? จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๐.

[๗๗๒] ธรรมเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ ว่า ธรรมเกิดร่วมกับจิต. ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน? จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต. [๗๗๓] ธรรมเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ ว่า ธรรมเกิดคล้อยตามจิต. ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน? จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต. [๗๗๔] ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิตและมี จิตเป็นสมุฏฐาน. ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน? จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มี จิตเป็นสมุฏฐาน. [๗๗๕] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิต เป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต. ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน? จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มี จิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต. [๗๗๖] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิต เป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต. ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๑.

จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มี จิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต. [๗๗๗] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน. ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน? รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายนอก. [๗๗๘] ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด. ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป ๔ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด. [๗๗๙] ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง เป็นไฉน? วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ ว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง. ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง เป็นไฉน? กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรม วิบาก, รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น, มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง.
มหันตรทุกะ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๗๔๒-๖๘๒๒ หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=6742&Z=6822&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=61              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=766              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [766-779] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=766&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- [766-779] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=766&items=14              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en318

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :