ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ปัญหาปุจฉกะ
[๗๓๗] ฌาน ๔ คือ ๑. ภิกษุ ในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ๒. บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ อยู่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๘๕.

๓. เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มี สติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ๔. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่
ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาฌาน ๔ ฌานไหนเป็นกุศล ฌานไหนเป็นอกุศล ฌานไหนเป็น อัพยากฤต ฯลฯ ฌานไหนเป็นสรณะ ฌานไหนเป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๗๓๘] ฌาน ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ฌาน ๓ เว้นสุข- *เวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต จตุตถฌาน เว้นอทุกขม- *สุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฌาน ๔ เป็น วิปากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี ฌาน ๔ เป็น อุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี ฌาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกะก็มี ปฐมฌาน เว้นวิตกวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกสวิจาระ ฌาน ๓ เป็นอวิตักกอวิจาระ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นปีติสหคตะ ฌาน ๓ เว้นสุขที่เกิดขึ้น ในฌานนี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอุเบกขาสหคตะ ฌาน ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็น เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี ฌาน ๔ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๘๖.

เนวเสกขนาเสกขะก็มี ฌาน ๔ เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณา- *รัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี จตุตถฌาน เป็นปริตตารัมมณะ ก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น ปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี ฌาน ๔ เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี ฌาน ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ฌาน ๓ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี จตุตถฌาน เป็นมัคคา- *รัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคา- *รัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ฌาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ฌาน ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็น ปัจจุบันก็มี ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตา- *รัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็น อนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตา- *รัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี ฌาน ๔ เป็น อัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี ฌาน ๓ เป็นพหิทธา- *รัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็น พหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ฌาน ๔ เป็นอนิทัสสน- *อัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๓๙] ฌาน ๔ เป็นเหตุ ฌาน ๔ เป็นสเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นเหตุ- *สัมปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นแต่สเหตุกนเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นแต่เหตุสัมปยุตตนเหตุ ฌาน ๔ เป็น นเหตุสเหตุกะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๘๗.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ ฌาน ๔ เป็นสังขตะ ฌาน ๔ เป็นอนิทัสสนะ ฌาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ ฌาน ๔ เป็นอรูป ฌาน ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระ ก็มี ฌาน ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นโนอาสวะ ฌาน ๔ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี ฌาน ๔ เป็นอาสววิปปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ ฌาน ๔ เป็นสาสว- *โนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ ฌาน ๔ เป็นอาสว- *วิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี
๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโน- *นีวรณะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นสารัมมณะ ฌาน ๔ เป็นโนจิตตะ ฌาน ๔ เป็นเจตสิกะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต ฌาน ๔ เป็นจิตต- *สังสัฏฐะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตานุ ปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *สหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นพาหิระ ฌาน ๔ เป็นนอุปาทา ฌาน ๔ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี ฌาน ๔ เป็น นอุปาทานะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๗๔๐] ฌาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนาปหา- *ตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ปฐมฌาน เว้นวิตกที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกะ ฌาน ๓ เป็นอวิตักกะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๘๘.

ปฐมฌาน เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิจาระ ฌาน ๓ เป็นอวิจาระ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสียเป็นสัปปีติกะ ฌาน ๒ เป็นอัปปีติกะ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นปีติสหคตะ ฌาน ๒ เป็นนปีติสหคตะ ฌาน ๓ เว้นสุขที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เป็นนสุขสหคตะ จตุตถฌาน เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอุเปกขาสหคตะ ฌาน ๓ เป็น นอุเปกขาสหคตะ ฌาน ๔ เป็นนกามาวจร ฌาน ๔ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปา- *วจรก็มี ฌาน ๓ เป็นนอรูปาวจร จตุตถฌาน เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจร ก็มี ฌาน ๔ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ฌาน ๔ เป็นสอุตตระ ก็มี เป็นอนุตตระก็มี ฌาน ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ฌานวิภังค์ จบบริบูรณ์

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๘๘๘๙-๘๙๗๙ หน้าที่ ๓๘๔-๓๘๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=8889&Z=8979&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=50              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=737              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [737-740] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=737&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9443              The Pali Tipitaka in Roman :- [737-740] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=737&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9443              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb12/en/thittila#pts-s638

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :