ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน
ปัญหาวาร
[๑๖๘๗] มิจฉัตตนิยตยธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย เหตุปัจจัย [๑๖๘๘] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย [๑๖๘๙] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏ- *ฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย [๑๖๙๐] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยเหตุปัจจัย มี ๓ นัย [๑๖๙๑] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๑๖๙๒] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรมรู้ซึ่งกิเลส ทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุส- *สติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๖๙๓] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุส- *สติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๖๙๔] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้น พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน พิจารณาฌาน พระอริยะทั้งหลายพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นอนิยตธรรม กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม โดยความ เป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอนิยธรรม โดยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัย แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย [๑๖๙๕] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม แก่ปิตุฆาตกรรม แก่อรหันตฆาตกรรม แก่รุหิรุปปาทกรรม โดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ลูบคลำ หทัยวัตถุใด หทัยวัตถุ นั้น เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย [๑๖๙๖] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอารัมมณปัจจัย [๑๖๙๗] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๖๙๘] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอธิหติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๖๙๙] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๗๐๐] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๗๐๑] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคกระทำมรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๗๐๒] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย [๑๗๐๓] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำ กุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา พระอริยะทั้งหลายกระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณากระทำนิพพาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม ให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นอนิยตธรรม เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๗๐๔] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอธิปติ ปัจจัย [๑๗๐๕] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอนันตรปัฉจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย [๑๗๐๖] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล โดยอนันตรปัจจัย [๑๗๐๗] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อนิยตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัย แก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๑๗๐๘] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ โทมนัสที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่โทมนัสที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม โดย อนันตรปัจจัย มิจฉาทิฏฐิที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัย แก่มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๗๐๙] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัตจจัยแก่มรรค โดยอนันตรปัจจัย [๑๗๑๐] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยสมนันตรปัจจัย เหมือน กับอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร มีหัวข้อปัจจัย ๙ เป็นปัจจัยโดย อัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร มีหัวข้อปัจจัย ๓ เป็นปัจจัยโดย นิสสยปัจจัย เหมือนกับ กุสบัตติกะ มีหัวข้อปัจจัย ๑๓ [๑๗๑๑] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสย ได้แก่ มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มาตุฆาตกรรม ฯลฯ ปิตุฆาตกรรม ฯลฯ อรหันตฆาตกรรม ฯลฯ รุหิรุปปาท- *กรรม ฯลฯ สังฆเภทกรรม ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
พึงกระทำจักรนัย
มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ฯลฯ แก่สังฆเภทกรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย [๑๗๑๒] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสย ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสย ได้แก่ บุคคลปลงชีวิตมารดาแล้วเพื่อป้องกันกรรมนั้น ให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ปลงชีวิตพระอรหันต์ ฯลฯ บุคคลมีจิตคิดประทุษร้าย ยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์เพื่อป้องกัน กรรมนั้น ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม [๑๗๑๓] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดย อุปนิสสยปัจจัย ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๗๑๔] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูเปนิสสยะ อนั่นตรูปนิสสยะ ปกรูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายเข้าไปอาศัยมรรคแล้วยังสมาบัติที่ ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เจ้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น อนัตตา มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทาของพระอริยะทั้งหลาย ฯลฯ แก่ฐานาฐานโกสัลละ โดยอุปนิสสยปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๗๑๕] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูเปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอนิยตธรรมแล้ว ให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าคนในนิคม ศรัทธาที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ ปัญญาฯลฯ ราคะ ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ที่เป็นอนิยตธรรม แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานนั้นเทียว บริกรรมแห่งเนวสัญญานา- *สัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นเทียว ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน อกิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ปาฌาติบาต เป็นปัจจัยแก่ปาณา- *ติบาต โดยอุปนิสสยปัจจัย
พึงกระทำจักรนัย
[๑๗๑๖] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยราคะที่เป็นอนิยตธรรมแล้วปลง ชีวิตมารดา ฯลฯ ทำลายสงงฆ์ บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ราคะที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่มาตะฆาตกรรมแก่ปิตุฆาตกรรม แก่อรหันตฆาตกรรม แก่รุหิรุปปาทกรรม แก่มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม โยอุปนิสสยปัจจัย [๑๗๑๗] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูเปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกรูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๗๑๘] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตุถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณษเห็นหทัยวัตถุ โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่ เป็นอนิยตธรรม เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย ที่เป็่น วัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จจักขุวยิญญาณ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปนิยตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๑๗๑๙] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม แก่ ปิตุฆาตกรรม แก่อรหันตฆาตกรรม แก่รุหิรุปปาทกรรม ฯลฯ โดยปุเรชาตปัจจัย ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตต- *นิยตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๑๗๒๐] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัมมัตตนิยตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๑๗๒๑] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๑๗๒๒] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๑๗๒๓] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดย ปัจฉาชาตปัจจัย [๑๗๒๔] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อนิยตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอาเสวนปัจจัย [๑๗๒๕] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ โทมนัสที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่โทมนัสที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม โดย อาเสวนปัจจัย มิจฉาทิฏฐิที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม โดย อาเสวนปัจจัย [๑๗๒๖] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย [๑๗๒๗] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมม- *ปัจจัย [๑๗๒๘] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๗๒๙] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๗๓๐] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมม- *ปัจจัย [๑๗๓๑] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๗๓๒] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๗๓๓] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๗๓๔] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยวิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอนิยตธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยวิปากปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ [๑๗๓๕] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดย มัคคปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย สัมปยุตตปัจจัย [๑๗๓๖] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรมเป็นปัจจัยแก่กายจิตตสมุฏ- *ฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งงหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรมปัจจัยแก่กายนี้ที่ เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๗๓๗] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งงหลายที่เป็นสัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่กาย นี้ที่เกิดก่อน โดยวยิปปยุตตปัจจัย [๑๗๓๘] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน รูปทั้งหลาย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณกายายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม โดยวิปปยุตต- *ปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแกกายนี้ที่ เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๗๓๙] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น มิจฉัตตนิยตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๗๔๐] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัมมัตตนิยตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๗๔๑] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย ขันธ์ ๒ [๑๗๔๒] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งงหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย [๑๗๔๓] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรมและอนิยตธรรม โดยอัตถิปัตจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรมเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ขันธ์ ๒ ฯลฯ [๑๗๔๔] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ [๑๗๔๕] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ส่วนพวกอัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นหทัยวัตถุ โดยความเป็น ของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน เพราะ ปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ เกิดขึ้น โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปนิยตธรรม โดยอัตถุปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อน โดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิติทรีย์ เป็น ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย [๑๗๔๖] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ฯลฯ แก่รุหิรุปปาทกรรม โดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยต- *ธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๑๗๔๗] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัมมัตตนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๑๗๔๘] มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และ ฯลฯ [๑๗๔๙] มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม ฯลฯ มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม และมหาภูอรูปทั้งหลาย เป็น ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม และกวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม และรูปชีวิตินทรย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย [๑๗๕๐] สัมมัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๒ เหมือนกับมิจฉัตตนิยต [๑๗๕๑] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๗ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๕ ในอธิปติปัจจัย มี " ๘ ในอนันตรปัจจัย มี " ๕ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๕ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๓ ในนิสสยปัจจัย มี " ๑๓ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๓ ในกัมมปัจจัย มี " ๗ ในวิปากปัจจัย มี " ๑ ในอาหารปัจจัย มี " ๗ ในอินทริยปัจจัย มี " ๗ ในฌานปัจจัย มี " ๗ ในมัคคปัจจัย มี " ๗ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในวิปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๑๓ ในนัตถิปัจจัย มี " ๕ ในวิคตปัจจัย มี " ๕ ในอวิคตปัจจัย มี " ๑๓
พึงนับอย่างนี้
อนุโลม จบ
[๑๗๕๒] มิจฉัตตนิยจตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย [๑๗๕๓] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย [๑๗๕๔] มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม โดยสหชาตปัจจัย [๑๗๕๕] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย [๑๗๕๖] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย [๑๗๕๗] สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม โดยสหชาตปัจจัย [๑๗๕๘] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อาหารปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย [๑๗๕๙] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย [๑๗๖๐] อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย [๑๗๖๑] มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยตธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต [๑๗๖๒] มิจฉัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม ฯลฯ มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย [๑๗๖๓] สัมมัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยตธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต [๑๗๖๔] สัมมัตตนิยตธรรม และอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม ฯลฯ มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย [๑๗๖๕] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มีวาระ ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มีวาระ ๑๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย มี " ๑๓ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๗
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียะ จบ
[๑๗๖๖] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗
พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัจจนียะ จบ
[๑๗๖๗] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๕ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๘ ในอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ ในสมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ ในสหชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑๓ ในอุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในอาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในอินทริยปัจจัย กับ ฯลฯ ในฌานปัจจัย กับ ฯลฯ ในมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๗ ในสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในวิปป่ยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๑๓ ในนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑๓
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียานุโลม จบ
มิจฉัตตติกะที่ ๑๕ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ บรรทัดที่ ๑๑๙๓๘-๑๒๓๗๘ หน้าที่ ๕๐๗-๕๒๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=11938&Z=12378&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=36              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1687              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1687-1767] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=41&item=1687&items=81              The Pali Tipitaka in Roman :- [1687-1767] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=41&item=1687&items=81              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_41

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :