ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
             [๙๓] ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วทรงประนมอัญชลีแก่ภิกษุสงฆ์
ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะขอทูลถามปัญหาบางเรื่องสักเล็กน้อย ถ้าพระองค์จะประทาน
พระวโรกาสพยากรณ์ปัญหาแก่หม่อมฉัน.
             พ. เชิญถามเถิด มหาบพิตร ถ้าทรงพระประสงค์.
             อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
พลธนู พนักงานเชิญธง พนักงานจัดกระบวนทัพ พนักงานจัดส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร
พลอาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะหนัง พวกบุตรทาส ช่างทำขนม ช่างกัลบก พนักงาน
เครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ
พวกนับคะแนน (นักการบัญชี) หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก แม้อย่างอื่นใดที่มีคติเหมือนอย่างนี้
คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลป-
*ศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตรอำมาตย์ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ
บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็น
ประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้บ้างหรือไม่?
             พ. มหาบพิตร ทรงจำได้หรือไม่ว่า ปัญหาข้อนี้ มหาบพิตรได้ตรัสถามสมณพราหมณ์
พวกอื่นแล้ว.
             อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จำได้อยู่ ปัญหาข้อนี้ หม่อมฉันได้ถามสมณพราหมณ์พวก
อื่นแล้ว.
             พ. ดูกรมหาบพิตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้ามหาบพิตรไม่หนัก
พระทัย ก็ตรัสเถิด.
             อ. ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคหรือท่านผู้เปรียบดังพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งอยู่ หม่อมฉัน
ไม่หนักใจ พระเจ้าข้า.
             พ. ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรตรัสเถิด.
วาทะของศาสดาปูรณะ กัสสป

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๑๔๗-๑๑๗๑ หน้าที่ ๔๘-๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1147&Z=1171&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [93-94] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=9&item=93&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=3185              The Pali Tipitaka in Roman :- [93-94] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=9&item=93&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=3185              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i091-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i091-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.02.0.than.html https://suttacentral.net/dn2/en/sujato https://suttacentral.net/dn2/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :