พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


319 วิธีคิดเมื่อเสวยสุข-ทุกข์

ปัญหา เมื่อได้เสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์) ควรจะกระทำจิตใจอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนอัสสชิ อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยทุขเวทนาก็ทราบชัดว่า ทุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่าทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน
“หากว่าเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุขมสุขเวทนาก็ปราศจากความยินดียินร้าย หากว่าเสวยเวทนา อันเป็นที่สุดแห่งกำลังกาย ก็ทราบชัดว่าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกำลังกาย ถ้าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ก็ทราบชัดว่าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตกทำลาย ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดีจักเป็นของเย็น.... อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ประทีปน้ำมันไม่มีเชื้อเพราะหมดน้ำมันและไส้ ก็พึงดับไป....”

อัสสชิสูตร ขันธ. สํ. (๒๒๓-๒๒๔)
ตบ. ๑๗ : ๑๕๓-๑๕๔ ตท. ๑๗ : ๑๓๕
ตอ. K.S. ๓ : ๑๐๗

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :