พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


341 พระโสดาบัน ๒ ประเภท
ปัญหา พระโสดาบัน ประเภทสัทธานุสารี และ ธัมมานุสารี มีคุณสมบัติอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ..
จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...
จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...
เวทนาเกิด แต่จักขุสัมผัส... แต่โสตสัมผัส... แต่ฆานสัมผัส... แต่ชิวหาสัมผัส... แต่กายสัมผัส... แต่มโนสัมผัส...
รูปสัญญา... สัททสัญญา... คันธสัญญา... รสสัญญา... โผฏฐัพพะสัญญา... ธัมมสัญญา...
รูปเจตนา.... สัททเจตนา... คันธเจตนา... รสเจตนา... โผฏฐัพพะเจตนา... ธัมมเจตนา...
รูปตัณหา.... สัททตัณหา... คันธตัณหา... รสตัณหา... โผฏฐัพพะตัณหา... ธัมมตัณหา...
ปฐวีธาตุ... อาโปธาตุ... เตโชธาตุ... วาโยธาตุ... อากาศธาตุ... วิญญาณธาตุ...รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งธรรมเหล่านี้ อย่างนี้เราเรียกบุคคลผู้นี้ว่า สัทธานุสารี (ผู้ดำเนินไปในศรัทธา) ก้าวลงสู่สัมมัตนิยาม (แนวทางอันมั่นคงแห่งความเป็นมนุษย์สมบูรณ์) ก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัปบุรุษล่วงภูมิแห่งปุถุชน ไม่มีทางจะทำกรรมที่จะนำไปสู่นรก กำเนิดเดียรัจฉาน วิสัยแห่งเปรต จักไม่ทำกาละ (ตาย) ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง...
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลมีใดธรรมเหล่านี้ที่ทนทานต่อการพิจารณาด้วยปัญญาได้ตามสมควร เราเรียกบุคคลนี้ว่า ธัมมานุสารี (ผู้ดำเนินไปในธรรม) ผู้ได้รู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า....”


โอกกันตสังยุต ขันธ. สํ. (๔๖๙-๔๗๘)
ตบ. ๑๗ : ๒๗๘-๒๘๒ ตท. ๑๗ : ๑๖๓-๑๖๗
ตอ. K.S. ๓ : ๑๗๗-๑๗๙

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :