พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


454 สนิมของจิต

ปัญหา ธรรมที่เป็นสนิมของจิต ทำให้จิตเสียไปคืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน
ไม่ให้ความแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควร
แก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.
โลหะ เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ
ดีบุก เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ
ตะกั่ว เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ
เงิน เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะและให้ใช้การไม่ได้ดี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้ เป็น
เครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี
เพื่อความสิ้นอาสวะ.

อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

กามฉันทะ...พยาบาท... ถีนมิทธะ... อุทธัจจะกุกกุจจะ... วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของจิตเป็นเครื่องทำจิต ไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้
นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้น
อาสวะ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
ผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็น
อุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล
คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ฯลฯ ย่อมเป็นไป
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
ผล คือ วิชชาและวิมุติ.


อุปกิเลสสูตร มหา. สํ. (๔๖๗-๔๘๑)
ตบ. ๑๙ : ๑๓๐-๑๓๒ ตท. ๑๙ : ๑๓๓-๑๓๔
ตอ. K.S. ๕ : ๗๗-๗๘

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :