พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


558 รากฐานของสุขและทุกข์

ปัญหา มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิเป็นรากฐานของสุขและทุกข์อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายกรรม....วจีกรรม...มโนกรรม... ที่ประกอบกระทำตามความเห็น (ที่ผิด) เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และการกระทำทั้งปวงของบุคคลผู้มีความเห็นผิดธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะทิฏฐิเป็นของเลวทราม
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขมก็ดี ที่เขาหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำทั้งหมดที่มันดูดซึมเอาย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขม เพื่อความเป็นของขื่น เพื่อความไม่น่ายินดีเพราะเหตุใด เพราะเมล็ดพืชเป็นของเลว...ฉะนั้น
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายกรรม....วจีกรรม...มโนกรรม... ที่ประกอบกระทำตามความเห็น (ที่ผิด) เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และการกระทำทั้งปวงของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ.... ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ....เพื่อความสุข นั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นเจริญดี
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อยก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธ์จันทน์ก็ดี ที่เขาหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำทั้งหมดที่มันดูดซึมเอาย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของหวาน น่ายินดี น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ดพันธ์ดีฉันนั้นเหมือนกัน”

เอกธัมมาทิบาลี อีกนัยหนึ่ง เอก. อํ. (๑๘๙-๑๙๐)
ตบ. ๒๐ : ๔๒-๔๓ ตท. ๒๐ : ๔๑-๔๒
ตอ. G.S. ๑ : ๒๘-๒๙

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :