พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


589 ความคดโกง กาย วาจา ใจ

ปัญหา เปรียบเทียบความสมบูรณ์แห่งการดัด?

คำตอบ “ในอดีตกาล มีกษัตริย์ องค์หนึ่งพระนามว่าปเจตนะ รังสั่งให้นายช่างรถไปทำล้อรถคู่หนึ่งให้เสร็จใน ๖ เดือน เมื่อเวลาล่วงไป ๕ เดือน กับ ๒๔ วัน เขาทำล้อเสร็จเพียงข้างเดียว แต่ภายใน ๖ วันที่เหลืออยู่เขาก็สามารถทำล้ออีกข้างหนึ่งให้เสร็จได้ เขาได้นำล้อ ๒ ข้างมาแสดงให้พระราชาทอดพระเนตร ล้อที่เขาทำใน ๖ วันนั้นกลิ้งไปสุดแรงผลักแล้วก็ล้มลง ส่วนล้อที่ทำใน ๕ เดือน ๒๔ วันนั้น เมื่อกลิ้งไปสุดแรงแล้ว ยังตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในตัวรถ เมื่อพระราคาตรัสถามถึงสาเหตุ นายช่างรถทูลว่า ล้อที่ทำใน ๖ วันนั้นมีส่วนประกอบที่คดโค้ง มีข้อเสีย มียางเหลืออยู่ในไม้ ส่วนล้อที่ทำใน ๕ เดือน ๒๔ วันนั้น ไม่มีข้อบกพร่องเหล่านั้น นายช่างผู้ทำรถนั้นคือใคร?
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาจจะคิดอย่างนี้ว่านายช่างทำรถนั้นในสมัยนั้นคงจะเป็นคนอื่น แต่ข้อนี้ท่านทั้งหลายไม่ควรเห็นดังนั้น นายช่างรถในสมัยนั้น ก็คือเรานั้นเอง
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คราวนั้นเราฉลาดในความคดโค้งแห่งไม้ ในข้อเสียแห่งไม้ ในยางเหนียวแห่งไม้ แต่บัดนี้เราเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าฉลาดในความคดโกงแห่งกาย ในโทษแห่งกาย ในยางเหนียวแห่งกาย ฉลาดในความคดโกง...ในโทษ...ในยางเหนียวแห่งวาจา ฉลาดในความคดโกง...ในโทษ... ในยางเหนียวแห่งใจ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งไม่ละความคดโกง... โทษ.... ยางเหนียวแห่งกาย... แห่งวาจา...แห่งใจ เขาได้พลัดตกไปจากพระธรรมวินัย เหมือนกับล้อที่เสร็จใน ๖ วัน....
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งละความคดโกง... โทษ.... ยางเหนียวแห่งกาย... วาจา...ใจได้ เขาตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย นี้ เหมือนกับล้อที่เสร็จใน ๖ เดือนหย่อน ๖ ราตรี....”


ปรจตนสูตร ติก. อํ. (๔๕๔)
ตบ. ๒๐ : ๑๔๐-๑๔๒ ตท. ๒๐ : ๑๒๘-๑๒๙
ตอ. G.S. ๑ : ๙๕-๙๗

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :