 |
84000.org
|
|
|
|
|
|
|
|
84000.org::...
26-พระเรวตขทิรวนิยเถระ
เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
พระเรวตขทิรวนิยะ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อวังคันตะ มารดาชื่อนางสารี
ในหมู่บ้าน
ตำบลนาลันทา แคว้นมคธ ซึ่งบิดาของท่านเป็นนายบ้านหรือหัวหน้าหมู่บ้านนั้น
อันตั้งอยู่ใน
ท่านเป็นน้องชายอีกคนสุดท้องของพระสารีบุตรเถระ เดิมชื่อว่า เรวัตะ
- ๗ ขวบ ได้แต่งงาน
เมื่อท่านอยู่ในวัยเด็ก อายุประมาณ ๗-๘ ขวบเท่านั้น บิดามารดาของท่านได้ปรึกษากัน
ว่า:-
บุตรธิดาของเราออกบวชไปแล้ว ๖ คน ยังเหลือเรวตะเพียงคนเดียว ถ้าเรวตะ
ออก
บวชอีก ก็จะไม่มีผู้ใดสืบทอดวงศ์ตระกูล เราควรผูกมัดเราวตะ ไว้ด้วยการให้มีภรรยา
รับผิด
ชอบต่อครอบครัวเสียแต่ในวัยเด็กนี้จะดีกว่า ถ้าปล่อยไว้อาจถูกพระสงฆ์พุทธสาวกพาไปบวช
อีก"
เมื่อปรึกษาและมีความเห็นชอบตรงกันแล้ว จึงจัดการสู่ขอนางกุมาริกาผู้มีฐานะชาติ
ตระกูลเสมอกันแล้วกำหนดวันวิวาหมงคล ครั้นเตรียมการทุกอย่างพร้อมสรรพ
และถึงกำหนด
นัดวันวิวาห์แล้ว ขณะทำพิธีแต่งงาน ญาติมิตรต่างทยอยกันเข้าหลั่งน้ำ
และกล่าวคำอวยพรคู่บ่าว
สาวตามประเพณีนั้น มีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าสาว เป็นคุณยายอายุประมาณ
๑๒๐ ปี กล่าวคำ
อวยพรให้เจ้าบ่ายเจ้าสาวปรองดองครองรักกันยาวนานมีอายุยืนยาวเหมือนคุณยายนี้
รวตะได้ฟังคำอวยพร และเห็นคุณยายร่างกายแก่หง่อม หลังค่อมโกง ผิวตกกระ
งก ๆ
เงิ่น ๆ หากความงามอันเป็นที่เจริญจิตเจริญใจมิได้เลย แล้วหวนคิดเปรียบเทียบกับเจ้าสาวของ
ตนซึ่งจะมีสภาพร่างกายเหมือนคุณยายนี้ จึงเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาทันที
และเริ่มคุ่นคิดหาวิธี
เพื่อหลีกหนีชีวิตครอบครัวฆราวาส และมองเห็นว่าวิธีเดียวที่จะพ้นได้
ก็คือต้องออกบวชเหมือน
พี่ ๆ จึงจะพ้นได้
หนีเมียบวช
ดังนั้น ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนยานพาหนะเดินทางไปสู่เรือนหอนั้น
ท่านได้แสดงอาการว่า
ท้องเสียขอตัวเพื่อลงไปถ่ายท้องในป่าข้างทาง ครั้งแรก ๆ บิดามารดาได้สั่งให้คนคอยติดตามดู
เพราะกลัวว่าจะหนี เรวตะ เห็นว่ามีคนคอยติดตามดูอยู่จึงกลับมาด้วยดี
บิดามารดาและคนคอย
ติดตามก็ชื่อว่าคงจะท้องเสียจริง ๆ จึงเลิกติดตามเรวตะ จึงได้โอกาสหนีไปได้สำเร็จและได้พบ
สำนักพระภิกษุผู้อยู่ในป่า จึงเข้าขอบรรพชาในสำนักของท่าน ส่วนพระภิกษุรูปนั้นพอทราบว่า
เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ก็รับจักการบวชให้ทันที โดยไม่ต้องขออนุญาตบิดามารดา
ก่อน เพราะพระสารีบุตรเถระได้สั่งไว้ว่า ถ้าพบน้องชายของเราให้บวชได้ทันที
เนื่องจากถ้า
ไปขออนุญาตบิดามารดาก็จะไม่ได้บวช เพราะบิดามารดาของท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ
พระสารีบุตรเถระได้ทราบข่าวว่า เรวตะน้องชายบวชแล้ว คิดจะไปเยี่ยมจึงกราบทูลลา
พระผู้มีพระภาค ถึง ๒ ครั้ง พระพุทธองค์ตรัสห้ามยับยั้งไว้ ส่วนสามเณรเรวตะคิดว่า
ถ้าอยู่ใน
สำนักของพระอุปัชฌาย์นี้ต่อไป บรรดาญาติ ๆ ทั้งหลาย อาจจะตามมาพบและนำตัวเรากลับไปก็
ได้ จึงเรียนกรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์นั้นแล้ว ได้ลาไปบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานในป่าไม้
ตะเคียน (ขทิรวนิยะ) ระยะทางไกลออกไปประมาณ ๓๐ โยชน์ ปฏิบัติอยู่
3 เดือน ก็ได้บรรลุ
พระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์ในพรรษานั้น
เพราะท่านอยู่ในป่า
ไม้ตะเคียนเป็นเวลานานจึงได้นามใหม่ว่า พระเรวตขทิรวนิยเถระ
- พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม
เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระสารีบุตรเถระกราบทูลลาพระบรมศาสดาเพื่อไปเยี่ยม
พระรวตะ อีกครั้ง พระบรมศาสดารับสั่งว่าจะเสด็จไปด้วย และรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย
ประมาณ ๕๐๐ รูปเตรียมเดินทางไปด้วยกัน
เมื่อพระบรมศาสดาพร้อมด้วยหมู่ภิกษุบริวารเสด็จดำเนินมาถึงทาง
๒ แพร่ง พระ
อานนท์เถระกราบทูลว่า:-
ข้าแต่พระผู้มีพระภาร ทางไปสำนักของพระเรวตะ นั้น ทางนี้เป็นทางอ้อมประมาณ
๖๐ โยชน์ เป็นที่อยู่ของมนุษย์สะดวกแก่การภิกขาจาร ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นทางตรงประมาณ
๓๐ โยชน์ แต่เป็นถิ่นที่อยู่ของอมนุษย์ พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วยภิกขาจาร
พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาค ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า:-
อานนท์ พระสีวลีมากับพวกเราหรือเปล่า ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสีวลีมาด้วยพระเจ้าข้า
อานนท์ ถ้าอย่างนั้น ก็จงไปทางตรงนั่นแหละ
การที่พระพุทธองค์ทรงรับสั่งอย่างนั้น ก็เพราะพระองค์ทรงทราบว่า
เทวดาทั้งหลายใน
ระหว่างหนทางนั้น จะพากันจัดที่พักและอาหารบิณฑบาตถวายพระสีวลี
ผู้เป็นที่เคารพนับถือ
ของพวกตน บรรดาพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประมุขก็จะไม่ลำบากด้วยภิกขาจาร
และ
สถานที่พัก ด้วยอาศัยบุญของพระสีวลีนั้น
เมื่อพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวารเหล่านั้นเสด็จมาใกล้จะถึงแล้ว
พระ
เรวตะแสดงฤทธิ์เนรมิตป่าเป็นพระคันธกุฎี สำหรับพระผู้มีพระภาค
และเนรมิตสถานที่จงกรม
พร้อมด้วยสถานที่พักกลางคืนและกลางวันเพื่อความสะดวกและผาสุกแก่ภิกษุทั้งหลาย
ที่ตาม
เสด็จมาด้วยอีกอย่างละ ๕๐๐ แห่ง แล้วออกไปถวายการต้อนรับนำเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฏี
พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ที่นั้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เป็นเวลา ๑
เดือน จึงเสด็จกลับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับแล้ว พระเรวตเถระจึงคลายฤทธิ์ สถานที่นั้นก็กลับกลายเป็นสภาพ
ป่าไม้ตะเคียนตามเดิม
- พระหลวงตานินทาพระเรวตะ
ในขณะที่พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พักที่ป่าไม้ตะเคียนนั้น
มีพระชรา ๒ รูป ร่วม
คณะอยู่ด้วย ท่านทั้งสองนั่งสนทนากันว่า
พระเรวตะ ทำการก่อสร้างอารามยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้ จะมีเวลาบำเพ็ญสมณธรรมได้
อย่างไร แม้แต่พระเชตะวันกับพระเวฬุวันก็ยังสู้อารามนี้ไม่ได้
พระผู้มีพระภาคคงจะเห็นแก่หน้า
ว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตรอัครสาวกจึงเสด็จมาเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคทรงทราบวารจิตของพระชราทั้ง ๒ รูป นั้นด้วย และทรงดำริว่า
ถ้าอยู่
นานก็จะเป็นการรบกวนพระเรวตะ เพราะปกติพระภิกษุผู้อยู่ป่าย่อมต้องการความสงบ
ดังนั้น
ด้วย จึงเสด็จกลับ พร้อมกันนั้นได้ทรงอธิษฐานให้พระหลวงตาทั้ง
๒ รูป ลืมของใช้ส่วนตัวไว้
เมื่อตามเสด็จออกมาพ้นเขตอารามแล้ว พระพุทธองค์จึงคลายฤทธิ์อธิษฐาน
พระภิกษุชราทั้ง ๒ รูป พอนึกขึ้นได้ว่าลืมของไว้จึงพากันรีบกลับไปเอาแต่ทว่าคราวนี้
สภาพหนทางและกุฏีที่พักอาศัยหายไปทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นป่าไปหมด
พบของ
ตนแขวนอยู่ที่ต้นตะเคียนบ้าง อยู่บนตอตะเคียนบ้าง สร้างความประหลาดใจแก่หลวงตาทั้งสอง
เป็นอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุนี้ที่พระเรวตเถระอยู่ในป่าไม้ตะเคียนเป็นเวลานาน ท่านได้รับยกย่องจากพระ
บรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิกกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง
ผู้อยู่ป่า
ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้ว
ก็ดับขันธปรินิพพาน
84000.org...::
สารบัญหลักหมวดภิกษุ
| 01 | 02 | 03
| 04 | 05 | 06
| 07 | 08 | 09
| 10 | 11 | 12
| 13 | 14 | 15
| 16 | 17 | 18
| 19 | 20 |
| 21 | 22 | 23
| 24 | 25 | 26
| 27 | 28 | 29
| 30 | 31 | 32
| 33 | 34 | 35
| 36 | 37 | 38
| 39 | 40 | 41
|
|
|
 |
|
|
|
|