พิมพ์หน้านี้ | ส่งหน้านี้ให้เพื่อน |
 


84000.org
 
       
 

84000.org::...

34-พระมหาปันถกเถระ
เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา

พระมหาปันถก เป็นลูกชายของธิดาของธนเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ มีน้องชายอีกคน
หนึ่ง ซึ่งพี่น้องทั้งสองคนนี้เดิมชื่อว่า “ปันถก” เหมือนกันแต่เพราะท่านเป็นคนพี่จึงได้นามว่า
“มหาปันถก” ส่วนคนน้องได้นามว่า “จูฬปันถก” ทั้งสองพี่น้องถือว่าอยู่ในวรรณะจัณฑาล
เพราะพ่อแม่ต่างวรรณะกันโดยพ่อเป็นวรรณศูทร ส่วนแม่เป็นวรรณแพศย์ ประวัติมีดังต่อไปนี้:-
  • ธิดาเศรษฐีหนีตามชายหนุ่ม
    มารดาของท่านนั้น เป็นธิดาของธนเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญเติบโตย่างเข้าสู่วัย
    สาว เป็นผู้มีความงามเป็นเลิศ บิดามารดาจึงห่วงและหวงเป็นนักหนา ได้ป้องกันรักษาให้อยู่บน
    ปราสาทชั้นสูงสุด มิให้คบหากับบุคคลภายนอก จึงเป็นหตุให้นางมีความใกล้ชิดกับคนรับใช้ ซึ่ง
    เป็นชายหนุ่มในเรือนของตนจนได้เสียเป็นสามีภรรยากัน ต่อมาทั้งสองกลัวว่าบิดามารดาและคน
    อื่นจะล่วงรู้การกระทำของตน จึงพากันหนีออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอื่นที่ไม่มีคนรู้จัก
    อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาจนภรรยาตั้งครรภ์
    เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ใกล้คลอด ได้ปรึกษากับสามีว่า “ถึงอย่างไร พ่อแม่ก็คงไม่ทำ
    อันตรายลูกของตนได้ ดังนั้น ขอให้ท่านช่วยพาดิฉันกลับไปคลอดที่บ้านเดิมด้วยเถิด การคลอด
    ในที่ห่างไกลพ่อแม่นั้นไม่ค่อยจะปลอดภัย”
    ฝ่ายสามีเกรงว่าบิดามารดาของภรรยาจะลงโทษจึงไม่กล้าพาไป และได้พยายามพูดบ่าย
    เบี่ยงผัดวันประกันพรุ่งออกไปเรื่อย ๆ จนภรรยาเห็นท่าไม่ได้การเมื่อสามีออกไปทำงานข้างนอก
    จึงหนีออกจากบ้าน เดินทางมุ่งหน้าสู่บ้างเกิดของตนเอง แต่ครรภ์ของนางได้รับการกระทบ
    กระเทือนจึงคลอดบุตรในระหว่างทางฝ่ายสามีกลับเข้าบ้านไม่พบภรรยา ถามได้ทราบความจาก
    คนใกล้เคียงแล้ว ออกติดตามโดยด่วน ได้มาพบภรรยาคลอดลูกอยู่ในระหว่างทาง และแม่ลูกทั้ง
    สองก็แข็งแรงปลอดภัยดี กิจที่จะไปคลอดลูกยังบ้านเกิดของตน นั้นก็เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงพากัน
    กลับสู่บ้านของตน และได้ตั้งชื่อกุมารนั้นว่า “ปันถก” เพราะว่าเกิดในระหว่างหนทาง
    ครั้นต่อมา นางได้ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สอง และเหตุการณ์ก็เป็นเหมือนครั้งแรก นางได้
    คลอดลูกระหว่างทางอีก และตั้งชื่อให้ว่า “ปันถก” เหมือนคนแรกแต่เพิ่มคำว่า มหา ให้คนพี่
    เรียกว่า “มหาปันถก” และเพิ่มคำว่า จูฬ ให้คนน้องเรียกว่า “จูฬปันนถก”

  • มาอยู่กับตายายจึงได้บวช
    สองสามีภรรยานั้นได้ช่วยกันเลี้ยงดูลูกทั้งสอง อยู่ครองรักกันมานาน จนกระทั่งลูกเจริญ
    เติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับเด็กเพื่อน ๆ กัน ได้ฟังเด็กคนอื่น ๆ เรียกญาติผู้ใหญ่ว่า ปู่ ย่า ตา ยาย
    เป็นต้น ส่วนของตนไม่มีคนเหล่านั้นให้เรียกเลย จึงซักไซ้ถามจากบิดามารดาอยู่บ่อย ๆ จนทราบ
    ว่าญาติผู้ใหญ่ของตนนั้นอยู่ที่เมืองราชคฤห์ จึงรบเร้าให้บิดามารดาไปพบท่านเหล่านั้น จนในที่
    สุดบิดามารดาอดทนต่อการรบเร้าไม่ไหว จึงตัดสินใจพาลูกทั้งสองไปพบ ตา ยาย ที่เมือง
    ราชคฤห์
    เมื่อเดินทางมาถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ได้พักอยู่ที่ศาลาหน้าประตูเมืองไม่กล้าที่จะเข้าไปหา
    บิดามารดาในทันที เมื่อพบคนรู้จักจึงสั่งความให้ไปบอกแก่เศรษฐีว่า ขณะนี้ลูกสาวของท่านพาห
    ลานชายสองคนมาเยี่ยม ฝ่ายเศรษฐียังมีความแค้นเคืองอยู่ จึงบอกแก่คนที่มาส่งข่าวว่า “สองผัว
    เมียนั้น อย่ามาให้เห็นหน้าเลย ถ้าอยากได้ทรัพย์สินเงินทอง ก็จงเอาไปเลี้ยงชีพเถิด แต่ขอให้ส่ง
    หลานชายทั้งสองคนมาให้ก็แล้วกัน”
    สองสามีภรรยานั้น รับทรัพย์สินเงินทองไปเลี้ยงชีวิตแล้วส่งลูกชายทั้งสองคนให้มาอยู่
    กับเศรษฐีผู้เป็นตา ฝ่ายเศรษฐีก็เลี้ยงดูหลาน ๆ ด้วยความรักใคร่ พาไปฟังพระธรรมเทศนาจาก
    พระบรมศาสดาที่วัดเวฬุวันเป็นประจำ แต่ถึงอย่างไร หลานทั้งสองก็สร้างความลำบากใจแก่
    เศรษฐีผู้เป็นตาอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อมีคนถามว่า “หลานชายทั้งสองคนนี้เป็นบุตรของลูกสาวคน
    ไหนของท่าน” ก็รู้สึกละอายที่จะตอบ “เป็นบุตรของลูกสาวคนที่หนีตามชายหนุ่มไป”
    ดังนั้น เมื่อต่อมา มหาปันถก หลานคนโตเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กล่าว
    ขออนุญาตเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร คุณตาผู้เศรษฐีจึงรีบอนุญาตด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง พา
    ไปบวชเป็นสามเณร ท่านเป็นสามเณรจนอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระ
    พุทธศาสนา ท่านพยายามบำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้น
    อาสวกิเลสทั้งปวง

  • ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ
    พระมหาปันถก เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ช่วยกิจการพระศาสนาเป็นกำลัง
    ช่วยงานพระบรมศาสดา ตามกำลังความสามารถ พระบรมศาสดา ได้ทรงมอบหมายให้ท่านรับ
    หน้าที่ “ภัตตุทเทศก์” ผู้แจกจ่ายภัตตาหารและกิจนิมนต์ ตามบ้านทายกทายิกา และอุบาสก
    อุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ได้รับลาภสักการะโดยทั่วถึงกัน ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วย
    ความเรียบร้อยยุติธรรม จนเป็นที่พอใจของบรรดาเพื่อนสหธรรมิก และทายกทายิกาอุบาสก
    อุบาสิกาทั้งหลาย ท่านได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงแล้ว ท่านได้ระลึกถึง
    น้องชายของท่าน ต้องการที่จะให้น้องชายได้รับความสุขเช่นเดียวกับตนบ้าง จึงไปขออนุญาต
    จากคุณตาแล้วพาจูฬปันถก ผู้เป็นน้องชายมาบวชเป็นศาสนทายาทอีกคนหนึ่ง
    พระมหาปันถก เป็นผู้มีความชำนาญในการเจริญวิปัสสนา จึงได้รับยกย่องจากพระ
    บรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้เจริญวิปัสสนา
    ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

84000.org...::

สารบัญหลักหมวดภิกษุ
| 01 | 02 | 03 | 04 | 05 | 06 | 07 | 08 | 09 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
| 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 |
 
     

 

| หน้าแรก | ส่งเมลให้webmaster | เว็บบอร์ด |