ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๙. มหาปทุมชาดก
ว่าด้วยมหาปทุมกุมาร
[๑๖๙๘] พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ไม่เห็นโทษของผู้อื่นว่าน้อยหรือมาก โดยประการทั้งปวง ไม่พิจารณาด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว ไม่พึงลง อาชญา. [๑๖๙๙] กษัตริย์พระองค์ใด ยังไม่ทันพิจารณาแล้วทรงลงพระราชอาชญา กษัตริย์ พระองค์นั้นชื่อว่า ย่อมกลืนกินพระกระยาหารพร้อมด้วยหนาม เหมือน คนตาบอดกลืนกินอาหารพร้อมด้วยแมลงวัน ฉะนั้น. [๑๗๐๐] กษัตริย์พระองค์ใด ทรงลงพระราชอาชญากับผู้ไม่ควรจะลงพระราชอาชญา ไม่ทรงลงพระราชอาชญากับผู้ที่ควรลงพระราชอาญา กษัตริย์พระองค์นั้น เป็นเหมือนคนเดินทางไม่ราบเรียบ ไม่รู้ว่าทางเรียบหรือไม่เรียบ. [๑๗๐๑] กษัตริย์พระองค์ใด ทรงเห็นเหตุที่ควรลงพระราชอาชญา และไม่ควร ลงพระราชอาชญา และทรงเห็นเหตุนั้น โดยประการทั้งปวงเป็นอย่างดี แล้ว ทรงปกครองบ้านเมือง กษัตริย์พระองค์นั้น สมควรปกครองราช- สมบัติ. [๑๗๐๒] กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อนโยนโดยส่วนเดียว หรือมีพระทัยกล้าโดยส่วน เดียว ก็ไม่อาจที่จะดำรงพระองค์ไว้ในอิสริยยศที่สูงใหญ่ได้ เพราะเหตุ นั้น กษัตริย์ไม่พึงประพฤติเหตุทั้งสอง คือ พระทัยอ่อนเกินไป และกล้า เกินไป. [๑๗๐๓] กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อน ก็ถูกประชาราษฎร์ดูหมิ่น กษัตริย์ผู้มีพระทัย แข็งนักก็มีเวร กษัตริย์ควรทราบเหตุทั้งสองอย่างแล้ว ประพฤติเป็น กลางๆ. [๑๗๐๔] ข้าแต่พระราชา คนมีราคะย่อมพูดมาก แม้คนมีโทสะก็พูดมาก พระองค์ ไม่ควรจะให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส เพราะเหตุแห่งหญิงเลย. [๑๗๐๕] ด้วยเหตุใด ประชาชนทั้งหมดจึงร่วมกันเป็นพวกพ้องของเจ้าปทุมกุมาร ส่วนพระมเหสีนี้พระองค์เดียวเท่านั้นไม่มีพวกพ้อง ด้วยเหตุนั้น เราจัก ปฏิบัติตามคำของพระมเหสี ท่านทั้งหลายจงไป จงโยนเจ้าปทุมกุมารลง ไปในเหวทีเดียว. [๑๗๐๖] ท่านเป็นผู้อันเราให้โยนลงในเหวอันลึกหลายชั่วลำตาล เหมือนนรกยากที่ จะขึ้นได้ เหตุไร ท่านจึงไม่ตายอยู่ในเหวนั้น? [๑๗๐๗] พญานาคผู้มีกำลังเรี่ยวแรงเกิดที่ข้างภูเขา รับอาตมภาพในที่นั้นด้วย ขนดหาง เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงมิได้ตายในที่นั้น. [๑๗๐๘] ดูกรพระราชบุตร มาเถิด เราจักนำเจ้ากลับไปสู่พระราชวัง จะให้เจ้า ครอบครองราชสมบัติ ขอความเจริญจงมีแก่เจ้าเถิด เจ้าจักมาทำอะไร อยู่ในป่าเล่า? [๑๗๐๙] บุรุษกลืนกินเบ็ดแล้วปลดเบ็ดที่เปื้อนโลหิตออกได้ แล้วพึงมีความสุข ฉันใด อาตมภาพมองเห็นด้วยตนเอง ฉันนั้น. [๑๗๑๐] เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าเป็นเบ็ด เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าเบ็ดเปื้อนโลหิต เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าปลดออกได้ เราถามแล้ว ขอเจ้าจงบอกความข้อนั้น แก่เรา? [๑๗๑๑] ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพกล่าวกามคุณว่าเป็นเบ็ด กล่าวช้างและม้าว่า เบ็ดเปื้อนโลหิต กล่าวถึงการสละได้ว่าปลดออกได้ ขอมหาบพิตรจงทรง ทราบอย่างนี้เถิด. [๑๗๑๒] พระราชมารดาของเรา คือ นางจิญจมานวิกา พระราชบิดาของเรา คือ พระเทวทัต พญานาค คือ พระอานนท์บัณฑิต และเทวดา คือ พระสารีบุตร พระราชบุตรในกาลนั้น คือ เราตถาคต ท่านทั้งหลาย จงจำชาดกไว้อย่างนี้เถิด.
จบ มหาปทุมชาดกที่ ๙.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๖๖๗๕-๖๗๒๒ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๔. https://84000.org/tipitaka/atita100/v.php?B=27&A=6675&Z=6722&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/atita100/m_siri.php?B=27&siri=472              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1698              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1698-1712] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=1698&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=2651              The Pali Tipitaka in Roman :- [1698-1712] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=1698&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=2651              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja472/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :