ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
ติงสตินิบาตชาดก
๑. กิงฉันทชาดก
ว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น
[๒๒๘๕] ดูกรพราหมณ์ ท่านมีความพอใจอะไร มีความประสงค์อะไร ปรารถนา อะไร แสวงหาอะไร ด้วยต้องการอะไร จึงมานั่งอยู่แต่ผู้เดียวในเวลา ร้อน? [๒๒๘๖] หม้อน้ำใหญ่มีรูปทรงงดงาม ฉันใด ผลมะม่วงสุกอันมีสีกลิ่นและรส อย่างดีเยี่ยม ก็มีอุปมัย ฉันนั้น. เราได้เห็นผลมะม่วงนั้น อันกระแสน้ำ พัดลอยมาในท่ามกลางแม่น้ำ ได้เอามือทั้งสองหยิบมาวางไว้ในเรือนไฟ. แต่นั้นก็วางไว้บนใบตอง ทำวิกัปด้วยมีดเองแล้วฉัน ความหิวและความ กระหายของเราหายไป. เราหมดความกระวนกระวายใจ พอมะม่วงหมด เราต้องอดทนต่อความทุกข์ ย่อมไม่ได้ประสบความพอใจในผลไม้ไรๆ อื่น. ผลมะม่วงซึ่งมีรสอร่อยหวานจับใจ ลอยมาในห้วงน้ำใหญ่ เราก็ เก็บขึ้นมาจากแม่น้ำ จักทำให้เราซูบผอม นำความตายมาให้เราเป็นแน่ เราได้บอกเหตุที่เราหิวกระหายแก่ท่านหมดสิ้นแล้ว. เรานั่งอยู่ที่แม่น้ำ น่ารื่นรมย์กว้างใหญ่ มีปลาโลมาขนาดใหญ่อาศัยอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุ ยืนอยู่เฉพาะหน้า มีร่างกายงดงามเอวกลมดี เกลี้ยงเกลาดังแผ่นทองใบ และเหมือนนางพยัคฆีที่สัญจรอยู่ตามซอกเขา ท่านเป็นใคร หรือว่าท่าน มา ณ ที่นี้เพื่ออะไร ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด? นางเทพนารี ในเทวโลก ที่เป็นบริจาริกาแห่งทวยเทพทั้งหลายก็ตาม สตรีที่มีรูป งดงามในมนุษยโลกก็ตาม ที่จะมีรูปงามเสมอด้วยท่านไม่มี ท่านผู้มีขา งาม เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกชื่อและเผ่าพันธุ์เถิด? [๒๒๘๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านนั่งอยู่ที่แม่น้ำใด ชื่อว่าโกสิกี น่ารื่นรมย์ ข้าพเจ้า อาศัยอยู่ที่แม่น้ำนั้น อันมีกระแสไหลเชี่ยว. มีลำห้วยและลำธาร ไหล มาจากเขาหลายแห่ง เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ ย่อมไหล ตรงมารวมอยู่ที่ข้าพเจ้าทั้งนั้น. ใช่แต่เท่านั้น ยังมีน้ำที่ไหลมาจากป่า มี กระแสเชี่ยวสีเขียวปัด อีกมากหลาย และน้ำที่พวกนาคกระทำให้มีสี วิจิตรต่างๆ ย่อมไหลมาตามกระแสน้ำ. แม่น้ำเหล่านั้น ย่อมพัดเอาผล มะม่วง ผลชมพู่ ผลขนุนสำมะลอ ผลกระทุ่ม ผลตาล และผลมะเดื่อ เป็นอันมากมาเนืองๆ ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ฝั่งทั้งสองตกลงในน้ำแล้ว ย่อมตกอยู่ในอำนาจแห่งกระแสน้ำของข้าพเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย. ดูกร ท่านผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญามาก ผู้เป็นใหญ่กว่าชน ท่านรู้อย่างนี้แล้ว จงฟังข้าพเจ้า ท่านอย่าชอบใจความข้องด้วยตัณหาเลย จงห้ามเสียเถิด. ดูกรพระราชฤาษี ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า ท่านจะเจริญ รุ่งเรืองได้อย่างไร เมื่อท่านซูบผอม รอความตายอยู่. พรหม คนธรรพ์ เทวดา และฤาษีทั้งหลายในโลกนี้ ผู้มีตนอันสำรวมแล้ว เรืองตบะ เริ่มตั้งความเพียร ผู้เรืองยศ ย่อมรู้ความที่บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจแห่ง ตัณหา โดยไม่ต้องสงสัยเลย. [๒๒๘๘] บาปย่อมไม่เจริญแก่นรชนผู้รู้ความสลาย และความเคลื่อนแห่งชีวิต อย่างนี้ ชื่อว่าผู้รู้ธรรมทั้งปวง. ถ้านรชนนั้นไม่คิดฆ่าคนอื่น. ดูกรท่าน ผู้อันหมู่ฤาษีรู้กันดีแล้ว ผู้กล่าวคำอันงดงาม ท่านปรากฏว่าทำประโยชน์ ให้แก่โลกอย่างนี้ ไฉนจึงแสวงหาบาปกรรมให้แก่ตน? ดูกรท่านผู้มี ตะโพกอันผึ่งผาย ถ้าเราจักตายอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำของท่าน เมื่อเราตายแล้ว ความติเตียนก็จะมาถึงท่านโดยไม่ต้องสงสัย. ดูกรท่านผู้มีสะเอวกลม- กลึง เพราะฉะนั้นแล ท่านจงรักษาบาปกรรมไว้เถิด อย่าให้คนทั้งปวง ติเตียนท่านได้ภายหลัง ในเมื่อเราตายไปแล้ว. [๒๒๘๙] เหตุนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว ท่านจงอดกลั้นไว้ก่อน ข้าพเจ้าจะยอมตน และให้มะม่วงแก่ท่าน เพราะท่านละกามคุณที่ละได้ยาก แล้วตั้งไว้ซึ่ง ความสงบ และสุจริตธรรม. บุคคลใดละสังโยชน์ในก่อน แล้วตั้งอยู่ ในสังโยชน์ในภายหลัง ประพฤติอธรรมอยู่ บาปย่อมพอกพูนแก่บุคคล นั้น. มาเถิด ข้าพเจ้าจะนำท่านไปยังสวนมะม่วง แต่ท่านจะต้องมีความ ขวนขวายน้อย ข้าพเจ้าจะนำท่านไปในสวนมะม่วงอันร่มเย็น ท่านจง เป็นผู้มีความขวนขวายอยู่เถิด. ดูกรท่านผู้ปราบปรามข้าศึก สวนนั้น เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่นกที่มัวเมาอยู่ในรสดอกไม้ มีนกกระเรียน นกยูง นกเขาซึ่งมีสร้อยคออันน่าชม มีหมู่หงส์ส่งเสียงร้องขรม ฝูงนกดุเหว่า ที่ร้องปลุกสัตว์ทั้งหลายอยู่ในสวนมะม่วงนั้น. ผลมะม่วงในสวนนั้นดก เป็นพวงๆ ดุจฟ่อนฟาง ปลายกิ่งห้อยโน้มลงมา มีทั้งต้นคำ ต้นสน ต้นกระทุ่ม และผลตาลสุกห้อยอยู่เรียงราย. [๒๒๙๐] ท่านทรงทิพมาลา ผ้าโพกศีรษะ และเครื่องอาภรณ์ล้วนแต่เป็นทิพย์ มีทองต้นแขน ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน์ กลางคืน หญิง ๑๖,๐๐๐ คน เป็น บริจาริกาบำเรอท่านอยู่ แต่กลางวัน ท่านเสวยทุกขเวทนา ท่านมีอานุภาพ มากอย่างนี้ ไม่เคยปรากฏมี ท่านขนลุกขนพอง. เมื่อก่อนท่านได้ทำ บาปกรรมอะไรอันนำทุกข์มาให้แก่ตน ในมนุษยโลก ท่านจึงต้องกิน เนื้อของตนอยู่ ในบัดนี้? [๒๒๙๑] ข้าพเจ้าเรียนไตรเพทจบแล้ว หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ได้ประพฤติ เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่ผู้อื่นตลอดกาลนาน. ผู้ที่กินเนื้อหลังของคนอื่น ย่อมควักเนื้อข้างหลังตนเองกิน เหมือนข้าพเจ้ากินเนื้อหลังของตนอยู่ ทุกวันนี้ ฉะนั้นแล.
จบ กิงฉันทชาดกที่ ๑.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๙๑๖๓-๙๒๓๑ หน้าที่ ๔๐๒-๔๐๔. https://84000.org/tipitaka/atita100/v.php?B=27&A=9163&Z=9231&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/atita100/m_siri.php?B=27&siri=511              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2285              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [2285-2291] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=2285&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=3628              The Pali Tipitaka in Roman :- [2285-2291] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=2285&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=3628              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja511/en/francis

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :