![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() แก้อรรถปาฐะบางตอนในทุติยปาราชิก บทว่า อวณฺโณ แปลว่า มิใช่คุณ. บทว่า อกิตฺติ แปลว่า การตำหนิ. บทว่า อยโส ได้แก่ ความเสียบริวาร. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การติเตียนลับหลัง. คำว่า สา วา อาโรเจติ ได้แก่ นางภิกษุณีผู้ซึ่งต้องปาราชิกแล้ว ไม่บอกด้วยตนเองก็ดี. ข้อว่า อฏฺฐนฺนํ ปาราชิกานํอญฺญตรํ ได้แก่ ปาราชิก ๔ ที่สาธารณะกับภิกษุทั้งหลาย และเฉพาะปาราชิก ๔ ที่ไม่ทั่วไปอย่างใดอย่างหนึ่ง. และปาราชิกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติในภายหลัง เพราะฉะนั้น จึงตรัสไว้ในวิภังค์ว่า อฏฺฐนฺนํ. แต่บัณฑิตพึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจัดตั้งปาราชิกนี้ไว้ในโอกาสนี้ ก็เพราะเป็นคู่กับสิกขาบทก่อน. สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ พอเมื่อเธอทอดธุระเสีย. ก็กถาพิสดารในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าวแล้วในทุฏ คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น. แม้คำว่า วชฺชปฏิจฺฉาทิกา นี้ก็เป็นเพียงชื่อแห่งปาราชิกนี้เท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงวิจารณ์ไว้ในบทภาชนะ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล. อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาราชิกกัณฑ์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ. |