บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พรรณนาบทอันไม่เคยมีในทสุตตรสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. คำว่า อาวุโส ภิกฺขเว นั่นเป็นคำร้องเรียกพระสาวกทั้งหลาย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะตรัสเรียกบริษัท ย่อมตรัสว่า ภิกฺขเว ดังนี้. พวกพระสาวกคิดว่า เราจักตั้งพระศาสดาไว้ในที่อันสูง ดังนี้แล้วไม่ร้องเรียกด้วยการร้องเรียกพระศาสดา ย่อมร้องเรียกว่า อาวุโส ดังนี้. สองบทว่า เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุผู้นั่งแวดล้อมพระธรรมเสนาบดีเหล่านั้น. ถามว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น คือเหล่าไหน. แก้ว่า ภิกษุผู้อยู่ไม่ประจำที่ คือผู้ไปสู่ทิศ. จริงอยู่ ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุย่อมประชุมกัน ๒ วาระ คือ ในกาลจวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้าแล้ว ๑ ในกาลปวารณา ๑. ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษาใกล้เข้ามา พวกภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง เป็นพวกๆ ย่อมมาเพื่อต้องการกรรมฐาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันเทิงกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษาใกล้เข้าแล้ว พวกเธอจึงเที่ยวกันอยู่. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้า ด้วยสามารถแห่งความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น พระศาสดาจึงให้อสุภกัม พวกภิกษุเหล่านั้นเรียนเอาพระกัมมัฏฐานแล้ว ถ้าที่ใดเป็นที่สบาย ก็อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ถ้าว่าไม่มีที่สบาย ถามถึงเสนาสนะเป็นที่สบายแล้วจึงไป. พวกภิกษุเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เรียนข้อปฏิบัติตลอด ๓ เดือน พากเพียรพยายามอยู่ เป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระสกทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง ออกพรรษา ปวารณาแล้ว จากที่นั้นจึงไปยังสำนักพระศาสดา บอกแจ้งคุณที่ตนได้เฉพาะว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เรียนเอา พวกภิกษุเหล่านี้มาในที่นั้น ในดิถีเป็นที่จวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้ามาแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งเหล่าภิกษุผู้มาแล้วไปอยู่อย่างนั้น สู่สำนักของพระอัคร ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงส่งภิกษุเหล่านั้นไปในเพราะการเห็นพระอัคร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพพระสารีบุตรและพระโมค ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงคบพระสารีบุตรและพระโมค ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังทารกให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบ ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนำในประโยชน์อันสูงสุดดังนี้.๒- ____________________________ ๑- สํ. ข. เล่ม ๑๗/ข้อ ๖ ๒- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๖๙๙ อนึ่ง แม้ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านี้แล้ว ใคร่ครวญอาสยะของภิกษุเหล่านั้น ได้ทรงเห็นว่า ภิกษุเหล่านี้เป็น ธรรมดาว่า พระสาวกเวไนยย่อมตรัสรู้ด้วยพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง ของพระสาวกทั้งหลายบ้าง. แต่ว่า พวกพระสาวกไม่อาจเพื่อจะยังพุทธเวไนยให้ตรัสรู้ได้. ก็พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเป็นสาวกเวไนย ตรวจดูอยู่ว่าจักตรัส พระเถระถามภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านไปสำนักพระศาสดามาแล้วหรือ. ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ขอรับ พวกกระผมไปมาแล้ว ก็พระศาสดาทรงส่งพวกกระผมมายังสำนักของท่าน. ลำดับนั้น พระเถระคิดอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้จักตรัสรู้ด้วยเทศนาของเรา เทศนาเช่นไรหนอแลจึงจะเหมาะแก่ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงกระทำความตกลงใจว่า ภิกษุเหล่านี้ผู้มีความสามัคคีเป็นที่มายินดี ผู้แสดงสามัคคีรส พระเทศนา (นี้แหละ) เหมาะแก่เธอเหล่านั้น ดังนี้แล้ว ผู้ใคร่เพื่อจะแสดงพระเทศนาเช่นนั้น จึงกล่าวคำมีว่า เราจักกล่าวทสุต บรรดาบทเหล่านั้น ที่ชื่อว่าทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อันท่านจำแนกตั้งมาติกาไว้อย่างละสิบๆ. ที่ชื่อว่าทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์แม้ว่า ตั้งแต่มาติกาหนึ่งๆ ไปจนกระทั่งถึงหมวดสิบ. ที่ชื่อว่าทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์แม้ว่า อันท่านให้พิเศษ ปัญหาอย่างละสิบ. ในบัพพะหนึ่งๆ. ซึ่งทสุตตรสูตรนั้น. บทว่า ปวกฺขามิ ได้แก่ จักกล่าว. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระสูตร. บทว่า นิพฺพานปฺปตฺติยา ความว่า เพื่อประโยชน์แห่งการได้เฉพาะซึ่งพระนิพพาน. บทว่า ทุกฺ พระเถระเมื่อจะกระทำพระเทศนาให้สูง ยังความรักในพระเทศนานั้นให้เกิดแก่เหล่าภิกษุ จึงกล่าวพรรณนาด้วย ๔ บทว่า เหล่าภิกษุจักสำคัญทสุตตรสูตรนั้นอันตนพึงเรียนพึงศึกษา พึงทรงจำ พึงบอกด้วยประการฉะนี้ เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรรณ เอกธมฺมวณฺณนา ในมาติกาทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความด้วยประการฉะนี้. ท่านพระสารีบุตรใคร่ครวญถึงพระเทศนาอันเป็นที่สบายของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงตั้งมาติกาโดยส่วน ๑๐ โดยส่วน ๑๐ จำแนกบทหนึ่งๆ ในส่วนหนึ่งๆ ปรารภเพื่อจะยังพระเทศนาให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอย่างหนึ่งมีอุปการะมากเป็นไฉน คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เหมือนอย่างช่างจักสานผู้ฉลาดตัดไม้ไผ่อันอยู่ตรงหน้าแล้ว กระทำให้เป็นมัดแล้ว เจียกออกโดยส่วน ๑๐ กระทำท่อนหนึ่งๆ ให้เป็นชิ้นๆ ผ่าออกฉะนั้นด้วยประการฉะนี้. บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อปฺปมาโท กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า พระเถระกล่าวความไม่ประมาท อันเป็นอุปการะในประโยชน์ทั้งปวง. จริงอยู่ ธรรมดาว่า ความไม่ประมาทนี้มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง โดยอรรถว่าไม่มีโทษ คือในการยังศีลให้บริบูรณ์ ในอินทรีย์สังวร ในความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในชาคริยานุโยค ในสัทธรรม ๗ ในการให้ถือเอาซึ่งห้องแห่งวิปัสสนา ในปฏิสัมภิทาทั้งหลายมีอัตถะปฏิสัมภิทาเป็นต้น ในธัมมขันธ์ ๕ มีศีลขันธ์เป็นต้น ในฐานะ เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงเปรียบด้วยเครื่องเปรียบทั้งหลายมีรอยเท้าช้างเป็นต้น ทรงชมเชยความไม่ประมาทนั้นมีประการต่างๆ ในอัป ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ มีประมาณเพียงใด พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น. ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ความไม่ประมาทอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมเหล่านั้น ดังนี้.๑- ____________________________ ๑- สํ. มหา. เล่ม ๑๙/ข้อ ๒๔๕ พระเถระสงเคราะห์ความไม่ประมาทนั้นทั้งหมดด้วย อนึ่ง ความที่ความไม่ประมาทนั้นมีอุปการะมาก อันบัณฑิตพึงแสดงแม้ด้วยอัปปมาทวรรคในธรรมบทเถิด. พึงแสดงแม้ด้วยเรื่องของพระเจ้าอโศก. จริงอยู่ พระเจ้าอโศกทรงสดับคาถาของนิโครธสามเณรว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ดังนี้เท่านั้น ทรงเลื่อมใสสามเณรด้วยตรัสว่า หยุดก่อนพ่อ ท่านกล่าวพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎกแก่โยมแล้ว ดังนี้ จึงรับสั่งให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังแล้ว. ความที่ความไม่ประมาทมีอุปการะมาก อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยเรี่ยวแรง พึงแสดงด้วยปิฎกทั้ง ๓ ดังกล่าวเถิดด้วยประการฉะนี้. บุคคลผู้นำมาซึ่งพระสูตรหรือคาถาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงความไม่ประมาท อันใครๆ ไม่กล่าวว่า ท่านดำรงในที่มิใช่ฐานะนำมาแล้ว ดังนี้. เรี่ยวแรงและกำลังของพระธรรมกถึกเท่านั้น เป็นประมาณในที่นี้. คำว่า กายคตาสติ นั่นเป็นชื่อของสติอันบังเกิดขึ้นในกรรมฐานเหล่านี้คือ ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถ ๔ สติสัมปชัญญะ อาการ ๓๒ การกำหนดธาตุ ๔ อสุภะ ๑๐ สิวัฏฐิกสัญญา ๙ การกระทำไว้ในใจในผมเป็นต้นว่าเป็นของละเอียด รูปฌาน ๔. บทว่า สาตสหคตา ความว่า เว้นจตุตถฌานเสีย กายคตาสติย่อมสหรคตด้วยความยินดีในอารมณ์อื่น ประกอบด้วยความสุข. คำว่า สาตสหคตา นั่นท่านกล่าวหมายเอากายคตาสตินั่น. สองบทว่า สาสโว อุปาทานิโย ความว่า เป็นปัจจัยแห่งอาสวะและอุปาทานทั้งหลาย. พระเถระกำหนดธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อสฺมิมาโน ความว่า มานะว่า เรามีในรูปเป็นต้น. บทว่า อโยนิโสมนสิกาโร ความว่า มนสิการนอกทางที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง.๒- บัณฑิตพึงทราบโยนิโสมนสิการ โดยปริยายตรงกันข้าม. ____________________________ ๒- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๙๖๐ สองบทว่า อานนฺตริโก เจโตสมาธิ ความว่า ผลในลำดับแห่งมรรคในที่อื่น ชื่อว่า อานันตริกะ เจโตสมาธิ (เจโตสมาธิ อันไม่มีระหว่าง) แต่ในที่นี้ มรรคในลำดับแห่งวิปัสสนา ท่านประสงค์เอาว่า อานันตริกะ เจโตสมาธิ เพราะมีในลำดับแห่งวิปัสสนา หรือเพราะให้ผลในลำดับแห่งตน. สองบทว่า อกุปฺปํ ญาณํ ความว่า ผลปัญญาในที่อื่น ชื่อว่าญาณอันไม่กำเริบ ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปัญญาที่เป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า อาหารฏฺฐิติกา ความว่า ดำรงอยู่เพราะปัจจัย. หลายบทว่า อยํ เอโก ธมฺโม ความว่า สัตว์เหล่านั้นดำรงอยู่เพราะปัจจัยใด ปัจจัยนี้ก็คือธรรมอย่างหนึ่ง. ควรรู้ยิ่งด้วยญาตปริญญา คือด้วยอภิญญา. ความหลุดพ้นแห่งพระอรหัตตผล ชื่อว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ. ในวาระนี้ ท่าน บทว่า ภูตา ความว่า มีอยู่โดยสภาวะ. บทว่า ตจฺฉา ความว่า แน่นอน. บทว่า ตถา ความว่า มีสภาวะเหมือนดังที่กล่าวแล้ว. บทว่า อวิตถา ความว่า ไม่มีสภาวะเหมือนดังที่กล่าวแล้วหามิได้. บทว่า อนญฺญถา ความว่า ไม่เป็นโดยประการอื่นจากประการที่กล่าวแล้ว. หลายบทว่า สมฺมา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ความว่า ธรรมทั้งหลายอันพระตถาคตประทับนั่งที่โพธิบัลลังก์ ตรัสรู้แล้วคือทราบแล้ว รู้แจ้งแล้วได้แก่กระทำให้แจ้งแล้วด้วยพระองค์เองทีเดียว โดยเหตุคือโดยการณ์. ด้วยเหตุนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงชินสูตร ยังความปลงใจเชื่อให้เกิดว่า ธรรมเหล่านี้อันพระตถาคตตรัสรู้แล้ว ส่วนเราเป็นเหมือนกับผู้บอกแนวของพระราชาแห่งพวกท่านดังนี้. เทฺวธมฺมวณฺณนา หลายบทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ ความว่า ธรรมอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระทั้ง ๒ เหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ในสังคีติสูตร. ส่วนเบื้องต้น ท่านกล่าวไว้ในทสุตตรสูตรนี้. หลายบทว่า สตฺตานํ สงฺกิเลสาย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ความว่า อโยนิโสมนสิ อกุศลมูล ๓ กุศลมูล ๓ โยคะ ๔ วิสังโยคะ ๔ เจโตขีละ ๕ อินทรีย์ ๕ อคารวะ ๖ คารวะ ๖ อสัทธรรม ๗ สัทธรรม ๗ กุสีตวัตถุ ๘ อารัพภวัตถุ ๘ อาฆาตวัตถุ ๙ อาฆาต สองบทว่า สงฺขตา ธาตุ ความว่า ขันธ์ห้าอันปัจจัยทั้งหลายกระทำแล้ว. สองบทว่า อสงฺขตา ธาตุ ความว่า พระนิพพานอันปัจจัยทั้งหลายมิได้กระทำ. พึงทราบวินิจฉัยในสองบทนี้ว่า วิชฺชา จ วิมุตฺติ จ ดังต่อไปนี้. วิชชา ๓ ชื่อว่า วิชชา. อรหัตตผล ชื่อว่าวิมุตติ. ในวาระนี้ คุณพิเศษทั้งหลายมีอภิญญาเป็นต้น ก็เป็นเหมือนกับคุณพิเศษอย่างหนึ่งๆ. ส่วนมรรค ท่าน ตโยธมฺมวณฺณนา หลายบทว่า นิโรโธ ตสฺส นิสฺสรณํ ความว่า อรหัตตผล ท่านประสงค์เอาว่า เป็นนิโรธ ในพระศาสนานี้. จริงอยู่ ครั้นเมื่อพระนิพพานอันพระอรหัตตผลเห็นแล้ว สังขารทั้งปวงก็ย่อมไม่มีอีกต่อไป เพราะเหตุนั้น พระอรหัตต์ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแห่งสังขตะนิโรธ. บทว่า อตีตํสญาณํ ความว่า ญาณอันมีอดีตเป็นอารมณ์. แม้ในญาณนอกนี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้ในวาระนี้ อภิญญาเป็นต้นก็เป็นเหมือนกับคุณวิเศษอย่างหนึ่งๆ. ก็ท่าน จตฺตาโรธมฺมวณฺณนา ธรรมดาว่า จักรมี ๕ อย่างคือ จักรคือไม้ ๑ จักรคือแก้ว ๑ จักรคือธรรม ๑ จักรคืออิริยาบถ ๑ จักรคือสมบัติ ๑. บรรดาจักรเหล่านั้น จักรนี้คือ แน่ะนายช่างรถผู้สหาย ก็ล้อนี้สำเร็จแล้วโดย ๖ เดือน หย่อน ๖ ราตรี ชื่อว่าจักรคือไม้.๑- จักรนี้คือ บุคคลให้เป็นไปตามจักร อันบิดาให้เป็นไปทั่วแล้ว ชื่อว่าจักรคือแก้ว.๒- จักรนี้คือ จักรอันเราให้เป็นไปทั่วแล้ว ชื่อว่าจักรคือธรรม.๓- จักรนี้คือ อวัยวะอันมีจักร ๔ มีทวาร ๙ ชื่อว่าจักรคืออิริยาบถ.๔- จักรนี้คือ ภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ย่อมเป็นไปทั่วแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยจักร ๔ เหล่าใด จักร ๔ เหล่านี้ชื่อว่าจักรคือสมบัติ.๕- จักรคือสมบัตินั้นนั่นแหละ ท่านประสงค์เอาแม้ในที่นี้. ____________________________ ๑- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๔๕๔ ๒- องฺ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๑๓๒ ๓- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๖๐๙ ๔- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๗๔ ๕- องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๓๑ บทว่า ปฏิรูปเทสวาโส ความว่า บริษัท ๔ ย่อมปรากฏในที่ใด การอยู่ในประเทศอันสมควรเห็นปานนั้น ในที่นั้น. บทว่า สปฺปุริสูปนิสฺสโย ความว่า การพึ่ง คือการเสพ การคบ ได้แก่การเข้าไปนั่งใกล้ สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ความว่า การตั้งตนไว้ชอบ. ก็ถ้าว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยโทษทั้งหลายมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ในกาลก่อน การละซึ่งโทษมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้นแล้ว ดำรงอยู่ในคุณมีศรัทธาเป็นต้น. สองบทว่า ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ความว่า ความเป็นผู้มีกุศลอันตนสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน. คุณชาตคือความเป็นผู้มีกุศลอันตนสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนนี้นั่นแหละเป็นประมาณในที่นี้. จริงอยู่ กุศลกรรมย่อมเป็นกรรมอันบุรุษกระทำด้วยญาณสัม โลกิยะที่หนึ่งเทียว ท่านกล่าวไว้ในอาหาร ๔. ส่วนที่เหลือท่านกล่าวไว้ในสังคีติสูตรว่าเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. ท่านกล่าว บัณฑิตพึงทราบธรรมทั้งหลายมีกามโยคะ และกามวิสังโยคะเป็นต้น ด้วยสามารถ ส่วนในวิสุทธิมรรค ท่านกล่าววินิจฉัยกถาเนื้อความนั้นไว้แล้ว. แม้ในวาระนี้. อภิญญาเป็นต้นก็เป็นเหมือนกับคุณวิเศษอย่างหนึ่งๆ. ก็มรรคท่าน ปญฺจธมฺมวณฺณนา ปีติ เมื่อแผ่ไปย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่าปีติแผ่ไป. สุข เมื่อแผ่ไปย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่าสุขแผ่ไป. ปัญญา เมื่อแผ่ไปสู่ใจของชนเหล่าอื่นบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาที่กำหนดรู้ใจ ชื่อว่าใจแผ่ไป. ปัญญาบังเกิดขึ้นในแสงสว่างแผ่ไป เพราะเหตุนั้น ปัญญาในทิพยจักษุ ชื่อว่าแสงสว่างแผ่ไป. ญาณเป็นเครื่องพิจารณา ชื่อว่านิมิตเป็นเครื่องพิจารณา. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปีติแผ่ไป. ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่าสุขแผ่ไป. ปัญญาในจิตของผู้อื่น (รู้ใจของผู้อื่น) ชื่อว่าใจแผ่ไป. ทิพยจักษุ ชื่อว่าแสงสว่างแผ่ไป. ญาณเป็นเครื่องพิจารณาของท่านผู้ออกจากสมาธินั้นๆ ชื่อว่านิมิตเป็นเครื่องพิจารณา.๑- ____________________________ ๑- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๘๓๓ บรรดาบทเหล่านั้น ปีติแผ่ไป สุขแผ่ไป เปรียบเหมือนเท้าทั้ง ๒. ใจแผ่ไป แสงสว่างแผ่ไป เปรียบเหมือนมือทั้ง ๒. ฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา เปรียบเหมือนกายท่อนกลาง. นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา เปรียบเหมือนศีรษะ. ท่านพระสารีบุตรเถระแสดงสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ กระทำให้เป็นเหมือนบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ด้วยประการฉะนี้. สมาธิในอรหัตตผล ท่านประสงค์เอาในคำเป็นต้นว่า สมาธินี้เป็นสุขในปัจจุบันด้วยนั่นเทียว. จริงอยู่ สมาธิในอรหัตตผลนั้น ชื่อว่าสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นสุขในขณะที่บรรลุแล้วๆ สมาธิต้นๆ เป็นวิบากแห่งสุขต่อไป เพราะเป็นปัจจัยแห่งสุขในสมาธิหลังๆ. ที่ชื่อว่าอริยะ เพราะความเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ที่ชื่อว่านิรามิส เพราะความไม่มีแห่งอามิสคือกาม อามิสคือวัฏฏะและอามิสคือโลก. ที่ชื่อว่าไม่เสพคนชั่ว เพราะความเป็นผู้เสพมหาบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ที่ชื่อว่าสัตบุรุษ เพราะอวัยวะสงบ เพราะอารมณ์สงบ และเพราะความกระวนกระวาย คือกิเลสทั้งปวงสงบ. ที่ชื่อว่าประณีต เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ที่ชื่อว่าได้ความสงบระงับ เพราะได้ความสงบระงับกิเลส หรือเพราะได้ซึ่งความเป็นคือสงบระงับกิเลส. จริงอยู่ สองบทนี้คือ ปฏิปฺปสฺสทฺธํ ปฏิปฺปสฺสทฺธิ โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าได้ความสงบระงับ เพราะความที่พระอรหันต์ผู้มีกิเลสสงบระงับได้แล้ว. ที่ชื่อว่าบรรลุความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น (การเข้าสมาธิที่มีจุดหมายเป็นหนึ่ง) เพราะบรรลุโดยเอโกทิภาวะ หรือเพราะบรรลุซึ่งเอโกทิภาวะ. ชื่อว่าบรรลุเอโกทิภาวะ เพราะอันพระโยคาวจรข่ม อนึ่ง พระโยคาวจร เมื่อเข้าสมาธินั้น หรือเมื่อออกจากสมาธินั้น ย่อมมีสติเข้าเทียว ย่อมมีสติออกเทียว เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ. อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรชื่อว่ามีสติเข้า มีสติออกด้วยสามารถแห่งกาลตามที่ตน แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. สมาธินี้ ท่านเรียกว่า สัมมาสมาธิประกอบด้วยญาณ ๕ ด้วยปัจจเวกขณญาณ ๕ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. ในวาระนี้ ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ กล่าวผลไว้ในบท ฉธมฺมวณฺณนา ก็ท่านกล่าวมรรคไว้ในที่นี้ ในบทว่า แทงตลอดได้ยาก. คำที่เหลือเหมือนกับคำต้น. สตฺตธมฺมวณฺณนา บทว่า กามา คือ วัตถุกามและกิเลสกาม. กามแม้ทั้งสองเป็นสภาพอันพระโยคา บทว่า พฺยนฺตีภูตํ ความว่า ผู้มีที่สุดอันควรนำไปไปปราศแล้ว. อธิบายว่า ผู้มีตัณหาออกแล้ว. ด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง แต่ไหน. อธิบายว่า ด้วยธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓. ในที่นี้ ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรเจริญ. คำที่เหลือเหมือนกับคำต้นนั่นแล. อฏฺฐธมฺมวณฺณนา บทว่า ติพฺพํ คือ มีกำลัง. บทว่า หิโรตฺตปฺปํ ได้แก่ หิริและโอตตัปปะ. บทว่า เปมํ ได้แก่ ความรักอาศัยเรือน. บทว่า คารโว ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิตหนัก. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเข้าไปอาศัยบุคคลผู้ควรแก่การเคารพ กิเลสทั้งหลายย่อมไม่บังเกิดขึ้น เขาผู้นั้นย่อมได้โอวาทและคำพร่ำสอน เพราะเหตุนั้น การอาศัยบุคคลผู้นั้นอยู่ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการได้ปัญญา. พึงทราบวินิจฉัยในอขณะต่อไป. เพราะเหตุที่พวกเปรตถึงอาวาหะ ถึงวิวาหะ กับพวกอสูร ฉะนั้น อสุรกาย บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วยปิตติวิสัยนั่นเอง (วิสัยแห่งเปรต). พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า อปฺปิจฺฉสฺส ต่อไป ความปรารถนาน้อย ๔ อย่าง คือ ความปรารถนาน้อยในปัจจัย ๑ ความปรารถนาน้อยในคุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุ ๑ ความปรารถนาน้อยในปริยัติ ๑ ความปรารถนาน้อยในธุดงค์ ๑. บรรดาความปรารถนาน้อยเหล่านั้น บุคคลผู้ปรารถนาน้อยด้วยปัจจัย เมื่อเขาให้มากก็รับเอาแต่น้อย เมื่อเขาให้น้อยก็รับเอาน้อยกว่า หรือว่าไม่รับเอาเลย ย่อมเป็นผู้ไม่รับเอาโดยไม่เหลือไว้. บุคคลผู้ปรารถนาน้อยในคุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุ ย่อมไม่ให้ชนเหล่าอื่นรู้คุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุของตน เหมือนพระมัชฌันติกเถระฉะนั้น. บุคคลผู้ปรารถนาน้อยในปริยัติ แม้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ปรารถนาที่จะให้คนอื่นรู้ว่าตนเป็นพหูสูตร เหมือนพระสาเกตติสสะเถระฉะนั้น. บุคคลผู้ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ย่อมไม่ให้ชนเหล่าอื่นรู้ถึงการบริหารธุดงค์ เหมือนพระเชฏฐกะเถระ ในพระเถระผู้พี่น้องชายกัน ๒ องค์ ฉะนั้น. ท่านกล่าวเรื่องไว้ในวิสุทธิมรรคแล้ว. สองบทว่า อยํ ธมฺโม ความว่า โลกุตตรธรรม ๙ นี้ย่อมสำเร็จแก่บุคคล บทว่า สนฺตุฏฺฐสฺส ความว่า ผู้สันโดษด้วยความสันโดษ ๓ อย่างในปัจจัย ๔. บทว่า ปวิวิตฺตสฺส ความว่า ผู้สงัดแล้วด้วยกายวิเวก จิตตวิเวกและอุปธิวิเวก. บรรดาวิเวกเหล่านั้น ความเป็นผู้บรรเทาการระคนด้วยหมู่เป็นอยู่ผู้เดียว ด้วยสามารถแห่งอารัพภวัตถุ ๘ ชื่อว่ากายวิเวก. ก็กรรมย่อมไม่สำเร็จด้วยเหตุสักว่าความเป็นอยู่ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรกระทำการบริกรรมกสิณแล้วยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด อันนี้ชื่อว่าจิตต ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า๑- กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายอันตั้งอยู่ในความสงัด ผู้ยินดียิ่งแล้วในเนก ____________________________ ๑- ขุ. มหา. เล่ม ๒๙/ข้อ ๒๖๐ บทว่า สงฺคณิการามสฺส ความว่า ผู้ยินดีอยู่ด้วยการระคนด้วยหมู่ และด้วยการระคนด้วยกิเลส. บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ความว่า ผู้ปรารภความเพียรด้วยสามารถแห่งความเพียร ที่เป็นไปทางกาย และเป็นไปทางจิต. บทว่า อุปฏฺฐิตสฺสติสฺส ความว่า ผู้มีสติตั้งมั่นด้วยอำนาจ บทว่า สมาหิตสฺส ความว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง. บทว่า ปญฺญวโต ความว่า ผู้มีปัญญาด้วยกัมมัสสกตาปัญญา. บทว่า นิปฺปปญฺจสฺส ความว่า ผู้มีความเนิ่นช้า คือมานะ ตัณหาและทิฏฐิไปปราศแล้ว. ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรเจริญในที่นี้. คำที่เหลือเหมือนกับคำต้นนั่นแล. นวธมฺมวณฺณนา บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ ความว่า การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย. บทว่า กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ ได้แก่ ความรู้ในปัจจยาการ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเห็นว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัจจัย แม้ในกาลทั้ง ๓ นั่นเอง ดังนี้ ย่อมข้ามความสงสัยเสียได้. บทว่า มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ความรู้ว่าทางมิใช่ทาง อย่างนี้ว่า อุปกิเลสมีแสงสว่างเป็นต้นมิใช่ทาง อุทยัพยญาณอันดำเนินไปสู่วิถีเป็นหนทาง (บรรลุ) ดังนี้. บทว่า ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี ท่าน บทว่า ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า ท่านกล่าวมรรคไว้ในรถวินีตวัตถุ กล่าววุฏ |