บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในพระสูตรนั้น คำว่า ใน ชังกลา๑- คือ ในจังหวัดมีชื่ออย่างนั้น. ____________________________ ๑- บาลี กชฺชงฺคลา คำว่า ที่ป่าไผ่ ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อเวฬุ (คือต้นไผ่). มีชัฎป่าใหญ่ที่ต้นเวฬุเหล่านั้นปกคลุมแล้ว ประทับอยู่ในราวป่านั้น. คำว่า ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ ไม่ยินเสียงด้วยโสต ท่านกล่าวอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอย่างนี้ว่า ไม่พึงดูรูปด้วยตา ไม่พึงฟังเสียงด้วยหู. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์ที่ไม่เหมือนในศาสนาของพระองค์จึงได้ทรงทำอาลัยด้วยบทนี้ว่า ในวินัยของพระอริยเจ้าเป็นอย่างอื่น. ท่านพระอานนท์คิดว่า พระศาสดาทรงแสดงอาลัย เอาละเราจะขอให้ทรงกระทำถ้อยคำเกี่ยวกับการอบรมอินทรีย์แก่หมู่ภิกษุในบริษัทนี้แล้ว เมื่อจะทูลขอร้องพระศาสดา จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เอตสฺส ภควา. ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์แก่ท่าน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้น อานนท์. ในพระสูตรนั้น คำว่า นี้คืออุเบกขา คือ ชื่อว่าวิปัสสนูเปกขานี้ใด วิปัสสนูเปกขานี้สงบระงับ วิปัสสนูเปกขานี้ประณีต. อธิบายว่า ไม่ทำให้เดือดร้อน. ภิกษุนี้ไม่ให้จิตพอใจในอารมณ์ที่น่าปรารถนาในรูปารมณ์ ในจักขุทวาร ไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และพอใจไม่พอใจในอารมณ์กลางๆ ไม่ให้เพื่อกำหนัด เพื่อประทุษร้าย หรือเพื่อหลงใหลแก่จิตนั้น กำหนดเอาแล้ว ตั้งวิปัสสนาในความเป็นกลาง. คำว่า ผู้มีดวงตา คือ มีจักษุสมบูรณ์ มีดวงเนตรหมดจด. จริงอยู่ ผู้ที่เจ็บตาจะลืมหรือหลับตาไปข้างบนไม่ได้. เพราะฉะนั้นจึงไม่ถือเอาคนนั้น. คำว่า อีสกโปเณ คือ ชูขึ้นตั้งอยู่เหมือนงอนรถ. ในคำว่า เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งน่าเกลียดว่าไม่น่าเกลียดเป็นต้น ด้วยการแผ่เมตตาหรือด้วยการเอาธาตุมาเทียบเคียงกัน ในสิ่งที่น่าเกลียด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่าเกลียดได้. ด้วยการแผ่ความไม่งาม หรือด้วยการน้อมเข้าไปด้วยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งที่ไม่น่าเกลียด ก็จะเป็นผู้มีความสำคัญว่าน่าเกลียดได้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. เมื่อเว้นสิ่งทั้งสองส่วนนั้นได้เด็ดขาดอย่างยิ่งแล้ว เป็นผู้วางตัวเป็นกลาง ใคร่เพื่อจะอยู่ทำอะไร. เมื่อสิ่งน่าปรารถนา และสิ่งไม่น่าปรารถนามาสู่คลอง ก็จะกลายเป็นผู้ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า ภิกษุผู้มีความสำคัญในสิ่งที่น่าเกลียดว่าไม่น่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุย่อมแผ่เมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยเป็นธาตุ ในวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา ภิกษุย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียดอย่างนี้. ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดว่าน่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยอสุภ หรือน้อมนำเข้าไปโดยความไม่เที่ยง ในวัตถุที่น่าปรารถนา ภิกษุย่อมมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดว่า น่าเกลียดอย่างนี้. ภิกษุเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุย่อมแผ่เมตตาไปหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ทั้งในวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาและน่าปรารถนา อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียด. อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความมีสำคัญในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดและน่าเกลียดว่า น่าเกลียด คือ ภิกษุแผ่อสุภไปหรือน้อมนำไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในวัตถุที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งไม่น่าเกลียดและน่าเกลียดว่าน่าเกลียด. อย่างไรชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ เว้นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่น่าเกลียด และสิ่งทั้งสองอย่างนั้นได้อย่างเด็ดขาดเป็นอย่างยิ่ง. คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เป็นผู้เฉยๆ มีสติสัมปชัญญะ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เป็นผู้เฉยๆ มีสติสัมปชัญญะ. อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้เว้นสิ่งน่าเกลียดไม่น่าเกลียด และสิ่งทั้งสองอย่างนั้นได้เด็ดขาดอย่างยิ่ง เป็นผู้เฉยๆ มี ____________________________ ๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๖๙๐ ก็แหละความเศร้าหมองคือความพอใจไม่พอใจ ทั้งพอใจและไม่พอใจ ย่อมใช้ได้ในนัยแรก ในบรรดานัยทั้ง ๓ เหล่านี้. ความไม่เศร้าหมองก็ย่อมใช้ได้. ในนัยที่ ๒ สังกิเลสย่อมใช้ได้. ในนัยที่ ๓ ความเศร้าหมองย่อมใช้ได้. มีคำที่ท่านกล่าวไว้อีกว่า ความเศร้าหมองที่หนึ่งย่อมใช้ได้ ความเศร้าหมองและความไม่เศร้าหมองที่สองก็ใช้ได้ ความไม่เศร้าหมองที่สาม เท่านั้นจึงใช้ได้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล. จบอรรถกถาอินทริยภาวนาสูตรที่ ๑๐ จบวรรคที่ ๕ จบอรรถกถาอุปริปัณณาสกสูตรในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี. จบทวิปัณณาสกสุตตันตสังคหัฏฐกถา อันประดับด้วย ๕ วรรค ก็แลมัชฌิมนิกายที่เรียกว่า ชื่อว่ามหาวิปัสสนานี้ มีความงามสามอย่างคือ ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น เพราะความที่ทรงเริ่มว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงบรรยายรากเหง้าของธรรมทั้งปวงแก่ท่านทั้งหลาย ในท่ามกลาง ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลาง เพราะคำว่า สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ชื่อว่างามในที่สุด เพราะคำว่า พระอริยะ ผู้มีอินทรีย์ที่อบรมแล้ว อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ใด มัชฌิมนิกายนั้น เป็นอันจบสมบูรณ์ด้วยอำนาจการขยายความแล้ว. คำลงท้าย ก็อรรถกถาชื่อว่า ปปัญจสูทนี นั่นจบลงแล้วด้วยภาณวารทั้งหลายแห่งบาลีประมาณ ๑๐๗. แม้วิสุทธิมรรคอันมีประมาณ ๕๙ อันข้าพเจ้ารจนาคัมภีร์ไว้ ก็เพื่อประโยชน์แห่งการประกาศเนื้อความ โดยภาณวารทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น อรรถกถานี้พร้อมทั้งวิสุทธิมรรคนั้น ด้วยนัยแห่งการนับคาถา พึงรู้ว่ามี ๑๖๖ คาถา ว่าโดยภาณวารมีประมาณ ๑๖๖ ภาณวาร ด้วยประการฉะนี้. ข้าพเจ้าถือเอาสาระในมูลอรรถกถา อันประกาศลัทธิแห่งพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหารรจนาอรรถกถานี้ ได้เข้าไปก่อบุญใดไว้ ด้วยบุญนั้นขอชาวโลกจงมีสุขทุกเมื่อเถิด. อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนีนี้ อันพระเถระผู้ประดับประดาด้วยความเชื่อ ความรู้และความเพียรที่หมดจดอย่างยิ่ง ผู้อันเหตุให้เกิดขึ้นพร้อมแห่งคุณมีศีล อาจาระ ความซื่อตรงและความอ่อนโยนเป็นต้น ให้เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ผู้สามารถหยั่งลงในรกชัฏ คือลัทธิของตนและลัทธิของผู้อื่น ผู้ประกอบด้วยความรู้แจ่มแจ้งและความเฉลียวฉลาด ผู้มีประภาพแห่งความรู้ที่ไม่มีอะไรหรือใครมาขัดขวางได้ ในศาสนาของพระศาสดา พร้อมทั้งอรรถกถาที่แตกต่างด้วยการเล่าเรียนปิฎกสาม เป็นนัก แม้พระนามว่า พุทธะ ของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระหฤทัยสะอาด ผู้คงที่ ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นไป ในโลกอยู่ตราบใด ขอปปัญจสูทนีนี้ แสดงนัยแห่งความหมดจด แห่งความเห็น ของพวกกุลบุตร ผู้แสวงหาคุณ เครื่องรื้อถอนไป จากโลก จงดำรงอยู่ในโลกตราบนั้น. ขออรรถกถาชื่อปปัญจสูทนีนี้ เข้าถึงสถานอันบริสุทธิ์ปราศจาก อันตราย ขอความดำริทั้งหลายอันอาศัยธรรมของเหล่าสัตว์ จงสำเร็จอย่างนั้นเทอญ. จบ อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ๒. ฉันโนวาทสูตร ๓. ปุณโณวาทสูตร ๔. นันทโกวาทสูตร ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ๖. ฉฉักกสูตร ๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. นครวินเทยยสูตร ๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ๑๐. อินทริยภาวนาสูตร ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค อินทริยภาวนาสูตร จบ. |