![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า วิวทติ ความว่า ชาวโลกเมื่อกล่าวว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา สวยงาม ชื่อว่าย่อมกล่าวขัดแย้งกับเราตถาคตผู้กล่าวอยู่ตามสภาพเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่สวยงาม. บทว่า โลกธมฺโม ได้แก่ ขันธปัญจกะ (ขันธ์ ๕) ก็ขันธปัญจกะนั้น ด้วยบทว่า กินฺติ กโรมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราตถาคตจะทำอย่างไร? เพราะว่าเราตถาคตมีหน้าที่อยู่ เฉพาะก็แต่การบอกข้อปฏิบัติ ส่วนการบำเพ็ญข้อปฏิบัติเป็นหน้าที่ของกุลบุตรทั้งหลาย. ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ (สรุปได้ว่า) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโลกไว้ ๓ ในสูตรนี้ คือ ตรัสสัตวโลกไว้ในคำนี้ว่า นาหํ ภิกฺขเว โลเกน (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่กล่าวขัดแย้งกับโลก) ตรัสสังขารโลกไว้ในคำนี้ว่า อตฺถิ ภิกฺขเว โลเก โลกธมฺโม (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีโลกธรรมอยู่ในโลก) (และตรัส) โอกาสโลกไว้ในคำนี้ว่า ตถาคโต โลเก ชาโต โลเก สํวฑฺโฒ (พระตถาคตอุบัติแล้วในโลก ทรงเจริญเติบโตแล้วในโลก). จบอรรถกถาปุปผสูตรที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ ปุปผวรรคที่ ๕ ปุปผสูตร ว่าด้วยพระพุทธองค์ไม่ขัดแย้งกับโลก จบ. |