![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว ทรงทราบว่า เมื่อภิกษุเหล่านี้ได้ความมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานจักเจริญ ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า สมาธึ เป็นต้น บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ย่อมปรารถนา. บทว่า อภิวทติ ความว่า ภิกษุย่อมกล่าวด้วยความยินดียิ่งนั้นว่า แหมอารมณ์นี้ช่างน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ดังนี้ อนึ่ง เมื่อเธอยินดียิ่งซึ่งอารมณ์นั้นอาศัยอารมณ์นั้นทำให้เกิดความโลภขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ชื่อว่าย่อมกล่าวยกย่อง. บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺฐติ ได้แก่ กลืนเสร็จสรรพรับไว้. บทว่า ยา รูเป นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินกล่าวคือความปรารถนาในรูปอย่างแรงกล้า. บทว่า ตทุปฺปาทานํ คือ ชื่อว่าอุปาทาน เพราะอรรถว่ายึดมั่นอารมณ์นั้น. บทว่า นาภินนฺทติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา. บทว่า นาภิวทติ ความว่า เธอย่อมไม่กล่าวว่า อารมณ์น่าปรารถนา น่าใคร่ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา คือ ภิกษุผู้มีจิตใจประกอบด้วยวิปัสสนาแม้เมื่อทำการเปล่งวาจาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็ชื่อว่าย่อมไม่กล่าวยกย่องทั้งนั้น. จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๕ ------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ นกุลปิตวรรคที่ ๑ สมาธิสูตร จบ. |