บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า กตมา จ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ โดยปริยายนั้นแล้ว ทรงเริ่มเทศนานี้ เหมือนทรงประสงค์จะจำแนกโดยปริยายอื่นอีก. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺเข ญาณํ ความว่า ญาณอันเกิดขึ้นด้วยอาการ ๔ ด้วยสามารถการฟัง ๑ การพิจารณารอบคอบ ๑ การแทงตลอด ๑ การพิจารณา ๑. แม้ในสมุทัยก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในสองบทที่เหลือ (นิโรธและมรรค) ญาณ ๓ อย่างเท่านั้นย่อมควร เพราะการพิจารณาไม่มี. กัมมัฏฐานในสัจจะ ๔ นี้ พระองค์ทรงแสดงแล้วด้วยบทว่า ทุกฺเข ญาณํ เป็นต้นด้วยอาการอย่างนี้. ในบทเหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ ๒ ข้างปลายเป็นวิวัฏฏะ. ในวัฏฏะและวิวัฏฏะเหล่านั้น ความยึดมั่นในกัมมัฏฐานของภิกษุมีในวัฏฏะ ในวิวัฏฏะความยึดมั่นไม่มี. ก็โยคาวจรเมื่อเรียนซึ่งสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักของอาจารย์ ท่องด้วยวาจาบ่อยๆ โดยสังเขปอย่างนี้ ปญฺจกฺ ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้ เธอย่อมทำกรรมด้วยการฟังอย่างนี้ว่า นิโรธสัจจะน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มรรคสัจจะน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. เธอเมื่อทำอย่างนี้ ย่อมแทงตลอดซึ่งสัจจะ ๔ ด้วยปฏิเวธอย่างหนึ่ง ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้อย่างหนึ่ง ย่อมแทงตลอดทุกข์ได้ด้วยการกำหนดรู้ซึ่งสมุทัยได้ด้วยการละ ซึ่งนิโรธได้ด้วยการทำให้แจ้ง ย่อมแทงตลอดมรรคได้ด้วยการเจริญ. ย่อมตรัสรู้ทุกข์ได้ด้วยการกำหนดรู้ ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคได้ด้วยการเจริญ. การเรียน การไต่ถาม การฟัง การทรงไว้ การพิจารณาและการแทงตลอด ย่อมมีในสัจจะ ๒ (ทุกข์ สมุทัย) ในส่วนเบื้องต้นแห่งสัจจะ ๔ ด้วยประการอย่างนี้. การฟังและการแทงตลอดเท่านั้น ย่อมมีในสัจจะ ๒ (นิโรธ มรรค) ในกาลต่อมา ว่าโดยกิจ ปฏิเวธธรรมย่อมมีในสัจจะ ๓ (ทุกข์ สมุทัย มรรค). ในนิโรธมีปฏิเวธเป็นอารมณ์. ส่วนปฏิเวธย่อมมีแก่สัจจะ ๔ ด้วยการพิจารณา. แต่การกำหนดในเบื้องต้นย่อมไม่มี. ความห่วงใย การรวบรวม การทำไว้ในใจและการพิจารณา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ผู้กำหนดอยู่ในเบื้องต้นว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ ย่อมละสมุทัย ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ เราย่อมยังมรรคให้เกิด. ความห่วงใยเป็น ในสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ชื่อว่าเป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยาก. สัจจะ ๒ ชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะเป็นธรรมลุ่มลึก. จริงอยู่ ทุกขสัจจะก็ปรากฏได้ เพราะความเกิดขึ้นย่อมถึงแม้ซึ่งอันตนพึงกล่าวว่า ทุกข์หนอ ในการกระทบด้วยตอและหนามเป็นต้น. แม้สมุทัยก็ปรากฏได้ เพราะความเกิดขึ้นด้วยสามารถมีความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะเคี้ยวกินและจะบริโภคเป็นต้น. แต่ว่า โดยการแทงตลอดถึงลักษณะทุกข์และสมุทัยสัจแม้ทั้งสอง ก็เป็นธรรมลุ่มลึก. สัจจะเหล่านั้นชื่อว่าเป็นธรรมอันลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยากด้วยประการดังนี้. ความพยายามเพื่อต้องการเห็นสัจจะทั้งสองนอกนี้ (นิโรธ มรรค) ย่อมเป็นเหมือนการเหยียดมือไปเพื่อจับภวัคคพรหม เหมือนการเหยียดเท้าไปเพื่อถูกต้องอเวจี และเหมือนการยังปลายแห่งขนหางสัตว์ซึ่งแยกแล้วโดย ๗ ส่วนให้ตกสู่ปลาย. สัจจะเหล่านั้นชื่อว่าเป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยากด้วยประการดังนี้. บทเป็นอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถการเรียนเป็นต้น ในสัจจะ ๔ ชื่อว่าเป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่าเป็นธรรมเห็นได้ยาก เพราะเป็นธรรมลุ่มลึก ด้วยประการดังนี้. ส่วนญาณนั้นย่อมมีอย่างนี้แลในลักษณะแห่งปฏิเวธ. พึงทราบในบทเนกขัมมสังกัปปะเป็นอาทิ ความดำริในการออกจากกามว่า เกิดขึ้นแล้วโดยภาวะที่ออกไปจากกาม เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกต่อกามบ้าง เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้พิจารณากามอยู่ดังนี้บ้างว่า เมื่อทำการกำจัดกาม ให้กามสงบก็เกิดขึ้นดังนี้บ้างว่า เมื่อสงัดจากกามก็เกิดขึ้นดังนี้บ้าง. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนธรรมมีเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่าต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะความหมายในการงดเว้นจากกาม จากพยาบาทและจากวิหิงสามีสภาวะต่างกัน. ส่วนในขณะแห่งมรรค ความดำริในกุศลอย่างเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่เกิดขึ้น เพราะขาดกับบทแห่งความดำริในอกุศลอันเกิดนั้นในฐานะทั้ง ๓ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ. ธรรมแม้มีเจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น ชื่อว่าต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะความหมายในการงดเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น มีภาวะต่างกัน. ส่วนในขณะแห่งมรรค เจตนาเครื่องงดเว้นเป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์อยู่ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่เกิดขึ้น เพราะขาดกับบทเจตนาเครื่องทุศีล อันเป็นอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าสัมมาวาจา. ธรรมแม้มีเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะความหมายในการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นมีภาวะต่างกัน. ส่วนในขณะแห่งมรรค เจตนาเครื่องงดเว้นอันเป็นกุศลอย่างเดียวย่อมเกิดขึ้น ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่เกิดขึ้น เพราะขาดกับบทโดยไม่ทำเจตนาเครื่องทุศีลอันเป็นอกุศลซึ่งเกิดขึ้น ในฐานะทั้ง ๓ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ. บทว่า มิจฺฉาอาชีวํ ได้แก่ ทุจริตทางกายและทางวาจาอันตนให้เป็นไปแล้ว เพื่อต้องการของควรเคี้ยวและของควรบริโภคเป็นต้น. บทว่า ปหาย คือ เว้น. บทว่า สมฺมาอาชีเวน ได้แก่ ด้วยการเลี้ยงชีพอันพระพุทธเจ้าสรรเสริญแล้ว. บทว่า ชีวิตํ กปฺเปติ ความว่า ย่อมยังความเป็นไปแห่งชีวิตให้เป็นไป. แม้สัมมาอาชีวะ ชื่อว่าต่างกันในเบื้องต้น เพราะความหมายในการงดเว้นจากการหลอกลวงเป็นต้นมีภาวะต่างกัน. ส่วนในขณะแห่งมรรค เจตนาเครื่องงดเว้นเป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่เกิดขึ้น เพราะขาดกับบทเจตนาเครื่องทุศีลอันเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๗ เหล่านี้แล นี้ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ. บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ความว่า เห็นอารมณ์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ในเรือนแห่งหนึ่ง ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปซึ่งยังไม่เกิดขึ้นแก่ตน หรือว่าเห็นอารมณ์ทั้งหลาย ที่กำลังเกิดขึ้นแก่ผู้อื่น ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อความไม่เกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาป ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า โอหนอ ธรรมอันเป็นบาปเห็นปานนี้ไม่พึงเกิดขึ้นแก่เรา ดังนี้. บทว่า ฉนฺทํ ความว่า ย่อมยังวิริยฉันทะเป็นเหตุให้สำเร็จแห่งการปฏิบัติมิให้อกุศลธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น. บทว่า วายมติ ได้แก่ ย่อมทำความพยายาม. บทว่า วิริยํ อารภติ ได้แก่ ย่อมยังความเพียรให้เป็นไป. บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ความว่า ย่อมทำจิตอันความเพียรประคองไว้แล้ว. บทว่า ปทหติ ความว่า ย่อมยังความเพียรให้เป็นไปว่า หนัง เอ็นและกระดูกจงเหือดไปก็ตามเถิด. บทว่า อุปฺปนฺนานํ ความว่า เคยเกิดขึ้นแล้วแก่ตนด้วยสามารถความฟุ้งซ่าน ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อละอกุศลธรรมเหล่านั้นด้วยคิดว่า บัดนี้ เราจักไม่ให้อกุศลธรรมทั้งหลายเช่นนั้นเกิดขึ้น. บทว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ความว่า กุศลธรรมมีปฐมฌานเป็นต้นที่ยังไม่ได้. บทว่า อุปฺปนฺนานํ ได้แก่ กุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแลที่ตนได้แล้ว. บทว่า ฐิติยา ความว่า เพื่อความตั้งมั่นด้วยสามารถความเกิดขึ้นติดกันบ่อยๆ. บทว่า อสมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความไม่สูญหาย. บทว่า ภิยฺโย ภาวาย ได้แก่ เพื่อสูงขึ้นไป. บทว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์. บทว่า ปาริปูริยา ได้แก่ เพื่อให้ภาวนาบริบูรณ์. สัมมาวายามะ แม้นี้ชื่อว่าต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด คิดมิให้เกิดเป็นต้น มีภาวะต่างกัน. ส่วนในขณะแห่งมรรคความเพียร เป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์อยู่ด้วยสามารถให้สำเร็จกิจในฐานะ ๔ เหล่านี้แล นี้ชื่อว่าสัมมาวายามะ. แม้สัมมาสติ ชื่อว่าต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะความต่างกันแห่งจิตกำหนดกายเป็นต้น. ส่วนในขณะแห่งมรรค สติอย่างเดียวย่อมเกิดขึ้น ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ด้วยสามารถให้สำเร็จกิจในฐานะ ๔ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าสัมมาสติ. พึงทราบในฌานเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น สัมมาสมาธิต่างกันด้วยสามารถสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคด้วยสามารถมรรคที่ต่างกัน. จริงอยู่ ปฐมมรรคของฌานอย่างหนึ่งย่อมมีปฐมฌาน แม้ทุติยมรรคเป็นต้นมีปฐมฌานหรือมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในทุติยฌานเป็นต้น ปฐมมรรคของฌานอย่างหนึ่งย่อมมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรคเป็นต้นมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้นหรือมีปฐมฌาน. มรรคแม้ ๔ จะเหมือนกัน ไม่เหมือนกันหรือเหมือนกันบางอย่าง ย่อมมีด้วยสามารถแห่งฌานอย่างนี้แล. ส่วนความต่างกันแห่งมรรคนี้ ย่อมมีด้วยการกำหนดฌานที่เป็นบาท. จริงอยู่ มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ได้ปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมี มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากทุติยฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีทุติยฌาน. ส่วนในฌานนี้ องค์มรรคมี ๗. มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากตติยฌานเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีตติยฌานก็ในฌานนี้มีองค์มรรค ๗ โพชฌงค์มี ๖. ตั้งแต่จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะก็มีนัยนี้. จตุกกฌานและปัญจมกฌานในอรูปฌานย่อมเกิดขึ้น และฌานนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นโลกุตระหาเป็นโลกิยะไม่ ดังนี้. แม้ในบทว่า กถํ นี้ในบทนั้น มรรคนั้นเกิดขึ้นแล้วในอรูปฌาน เพราะออกจากปฐม ฌานที่เป็นบาท ย่อมกำหนดอย่างนี้แล. ส่วนพระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาย่อมกำหนด. บางพวกกล่าวว่า อัธยาศัยของบุคคลย่อมกำหนด. บางพวกย่อมกล่าวว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนาย่อมกำหนด. การวินิจฉัยในวาทะของพระเถระเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวไว้แล้วในอธิการว่าด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ในวิสุทธิมรรค. บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธิ ดังนี้ นี้เป็นโลกิยะในส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ ท่านเรียกว่า สมาธิ. จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ อวิชชาวรรคที่ ๑ ๘. วิภังคสูตร จบ. |