บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ความว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ย่อมมีแก่เราดังพรรณนามานี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ ความว่า เรารู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้อย่างนี้. บทว่า สุสมารทฺโธ ได้แก่ บริบูรณ์ดีแล้ว. ในบทว่า ติฏฺฐนฺตํ นี้ สติสัมโพชฌงค์ย่อมตั้งอยู่โดยอาการแปด. คือ พระเถระย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าตั้งอยู่ เพราะไม่ระลึกถึงความเกิด เพราะระลึกถึงความไม่เกิด คือ ความเป็นไป ความไม่เป็นไป นิมิต ไม่มีนิมิต สติ พระเถระย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ เมื่อประพฤติย่อมประพฤติด้วยอาการแปดตรงกันข้ามกับอาการที่กล่าวแล้วนั่นแหละ แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือก็มีนัยนี้นี้แล. สูตรนี้ท่านกล่าวโพชฌงค์ที่มีกำลังของพระเถระ. ก็เมื่อใดพระเถระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหลัก ย่อมเข้าผลสมาบัติ เมื่อนั้น โพชฌงค์ ๖ นอกนี้ย่อมไปตามสติสัมโพชฌงค์นั้น. เมื่อใด พระเถระทำโพชฌงค์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นหลักในบรรดาโพชฌงค์มีธรรมวิจยะเป็นต้น แม้เมื่อนั้นโพชฌงค์ที่เหลือย่อมไปตามโพชฌงค์นั้นแล. พระเถระ เมื่อแสดงความชำนาญที่ประพฤติมาของตนในผลสมาบัติอย่างนี้ จึงกล่าวสูตรนี้ ด้วยประการดังนี้. จบอรรถกถาวัตตสูตรที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ ปัพพตวรรคที่ ๑ ๔. วัตตสูตร จบ. |